Close this window

ขอคามรู้เรื่องการแปลงจานจ่ายใส่คลอล์ยแยกหน่อยครับ

หน้าที่: 1   2   [3]   4   5

 ความคิดเห็นที่: 41 / 83 : 825103
โดย: srithanon
ตามรูปที่เห็น คือ Switching power Transistor การที่คุณเอาแผงชุดนี้ออก แล้วทำการเทสเฉพาะตัว Ignition coil เพียวๆตามที่คุณบอกมา ก็ถูกต้องแล้ว โดยเอาไฟ + 12V ต่อเข้าที่ขั่ว L ที่ปลั๊กสามขา และนำเอาขั่ว R มาเขี่ยกับกาวด์ เพื่อสร้างสัญญาณทริก การตัดต่อของกระแสไฟที่ไหลในขดลวด Primary เพื่อให้เกิดการยุบตัวของสนามแม่เหล็ก ตัดกับขดลวดที่พันทางด้าน Secondary ( ขดไฟสูง)

แต่เนื่องจากการที่คุณนำสายไฟที่มาจากขั่ว R เขี่ยกับกราวด์ หรือขั่วลบของไฟ 12V ทำให้เกิดไฟอาร์คที่จุดสัมผัส และไม่เห็นมีไฟสูงออกที่ปลายเดือยเสายาว ความจริงแล้ว มันมีไฟออก แต่น้อยมาก ต้องเอาสายไฟไปวางใกล้ๆ ที่หัวเดือนเสายาว โดยมีปลายข้างหนึ่งหนีบกับกราวด์ตัวเรือนจานจ่าย ( เอาสายไฟอีกเส้นหนีบกับตัวเรือนจานจ่าย ไปต่อเข้ากับไฟลบ 12 V ) จากนั้นใให้เพิ่มค่าคอนเด็นเซอร์ที่ต่อลงกราวด์ที่ตัวจานจ่าย โดยหาค่า C ที่มีค่า 0.56 ไมโครฟาราด ปลายด้านหนึ่งต่อลงกราวด์ ปลายด้านหนึ่งต่อที่ปลายสายไฟที่ต่อมาจากขั่ว R ในตัวปลั๊กสามขา ที่จะนำมาเขี่ยกับกราวด์

การเขี่ยของสายไฟ นี้ ต้องเขี่ยให้มีจังหวะคาบของเวลาที่จะทำให้เกิดการยุบตัวของสนามแม่เหล็ก เร็วไปก็ไม่ได้ ชช้าไปก็ไม่ได้ ลองเขี่ยแบบลากยาวๆสลับสั้นๆดู จะพบว่ามีไฟออกที่เดือยเสาที่เสียบฝาจานจ่าย แต่ต้องเอาสายไฟที่หัวเดือยเสา มาวางไกล้ๆกับกราวด์ตัวเรือนจานข่าย ถึงจะพอมองเห็นการอาร์คของกระแสไฟโวลเต็จสูง ในกรณีที่ตัวคอยน์ในจานจ่ายมีสภาพเสื่อม หากไม่เสื่อมหรือสภาพดี จะเห็นประกายไฟอาร์คมีช่วงอาร์คห่างมาก เพราะไฟมีแรงเคลื่อนโวลเต็จสูง

โดยมากตัวคอยน์ที่มีปัญหา ไม่ค่อยมีไฟสูงออก ในการเทสตามที่กล่าว จะทำให้เครื่องยนต์ดับ เพราะไฟสูงไม่พอ การเทสแบบนี้เพียงเพื่อดูว่ามันทำงานหรือเปล่า แต่ไม่ใช่สิ่งที่เราต้องการ แต่ก็พอจะสรุปได้ว่า ตัวคอยน์เสื่อมหมดสภาพแล้ว

ก่อนอื่นอยากให้วัดค่าความต้านทานของขดลวด ของตัวคอยน์ว่ายังจะปกติหรือเปล่า โดยวัดขด Primary คือขั่ว L และ R ที่หัวปลั๊กสามขา ตัวผู้ที่ติดกับจานจ่าย ว่าวัดได้ประมาณ 2 โอมห์หรือไม่ หากวัดได้ ประมาณ 1 โอมห์ เสื่อมสสภาพไม่ดี และที่ตัวขดลวดทาง Secondary ( ขดไฟสูง ) จะวัดได้ประมาณ 18-20 K ohm หากวัดได้ต่ำกว่า 18K ก็ไม่ดี

การวัดควรวัดด้วย ดิจิตอลมิเตอร์ อย่าใช่้แบบอนาล๊อค แบบเข็ม เพราะจะอ่านค่าไม่ตรง เนื่องจาก ค่าโอมห์เปอโวลท์ ของขดลวดอิมพีแด้นซ์มูฟวิ่งคอย มันค่าอิมพีแดนซ์ต่ำ เมื่อเรานำไปวัดค่าไฟหรือค่าโอมห์จะไม่ตรง เพราะว่าการวัดค่าไฟหรือค่าโอมห์ เราจะวัดขนานกับโหฃด เหมือนค่า ความต้านทานสองตัวต่อขนานกัน

ดังนั้นกระแสไฟที่ตกคร่อมระหว่างค่าความต้านทานทั้งสอง ตัว มูฟวิ่งคอยที่มีค่าสูงมากๆ จะไม่ค่อยผิดพลาก หากมูฟวิ่งคอยมีค่าอิมพีแดนซ์ต่ำ พวก 10K หรือ 20K หากนำไปวัดค่าไฟโวลเต็จหรือค่าโมมห์ต่ำๆ จะทำให้ผิดพลาดมาก หากเป็นแบบดิจิตอล จะมีค่าอิมพีแดนนซ์สูงมาก ประมาณ 10 Meg Ohm จึงวัดได้ค่าที่ถูกต้องมากที่สุด

แล้วผมจะส่งวิธีการรตรวจสอบจานจ่ายมาให้ตรวจสอบกัน ทั้งเอาตัวจานจ่ายถอดออกมาตรวจสอบ และที่ติดอยู่กับเครื่องยนต์ว่า มันทำงานหรือเสียจริงหรือไม่ วันนี้คงไม่ทัน เพราะผมเพิ่งทดสอบจานจ่ายที่เตรียมจะดัดแปลงติดคอยน์ตัวนอก โดยตรวจสอบการทำงานของมันให้เห็นความต่าง ระหว่างการใช้ของเดิม และของที่ต่อจากภายนอก เอามาเปรียบเทียบกันให้เห็นความต่าง เมื่อเย็นนี้ทดลองตรวจสอบการทำงานของมันแล้ว และได้ทำคลิปวิดิโอเอาไว้ กำลังอัพโหลดไฟล์ขึ้นเว็ปฝากรูป หากเสร็จทันก็จะโพสมาให้ชมกันในพรุ่งนี้ วันนีไม่ทันดึกแล้ว ......srithanon
วันที่: 24 Dec 14 - 22:51

 ความคิดเห็นที่: 42 / 83 : 825109
โดย: srithanon
ทดลองส่งภาพ การทดสอบการทำงานของจานจ่ายในรถมาสด้า แลนติส V6 ก่อนทำการติดตั้งคอยตัวนอกจานจ่าย

http://youtu.be/PruZfA0KWJM
วันที่: 25 Dec 14 - 00:09

 ความคิดเห็นที่: 43 / 83 : 825111
โดย: SpyTT
พอเข้าใจแล้วครับ เดียวขแลองดูอีกที่
แต่ดูจ่าค่าโอม ที่ผมวัดได้ คแลย์น่าจะเสื่อมไปละ วัดโดยใช้ปบบดิจิตอล
ขั่ว L กับ ขั่ว R 1.1 Ohm
ที่ตัวขดลวดทาง Secondary ( ขดไฟสูง ) เดียววัดอีกที่ครับ
วันที่: 25 Dec 14 - 08:07

 ความคิดเห็นที่: 44 / 83 : 825114
โดย: srithanon
สำหรับจานจ่ายของมาสด้า แลนติส V6 ในรุ่นที่ใช้จานจ่ายแบบนี้ โดยมากจะมีปัญหาเกือบจะพูดได้ว่าเกือบทุกคัน ที่ใช้งานมานาน โดยมากคอยน์จะเสื่อม หรือมีการลีคของเส้นลวดที่ใช้พันในแกนเหล็ก ทำให้เกิดการชอร์ทถคงกันระหว่างขดลวด ทำให้วัดค่าโอมห์ได้ต่ำ และมีไฟสูงออกน้อย นอกจากจะทำให้รถไม่ค่อยมีกำลังในการใช้ความเร็วหรือเร่งแซง แล้วยัก่อให้เกิดปัญหา เรื่องรอบเดินเบา ที่หาจุดวิเคราะห์ปัญหาไม่พบ

บางครั้งเปลี่ยนตัวจานจ่ายก็หายเป็นปกติ จริงแล้วในเรื่องไฟโวลท์เต็จสูง ควจจะต้องมีเครื่องมือวัด สามารถอ่านค่าโวลเต็จออกมาได้ว่ากี่หมื่นโวลท์ ด้วยมิเตอร์วัดแบบ ดิจิตอล ที่มี โพร๊ปตัวดร๊อปโวลเต็จ มีขายที่ร้านโชคชับ บ้านหม้อ ราคาทั้งชุด ก็ประมาณ 6000 บาท

หากมีตัวนี้วัดก็จะทราบว่าไฟที่จ่ายให้กับหัวเทียน มีมากน้อยประการใด หรือต่ำเกินกว่าที่กำหนด ดีกว่าจะมองดูด้วยสายตา เพราะเรื่องกระแสไฟโวลเต็จ แค่หมื่นกว่าโวลมันก็อาร์คให้เห็นได้เช่นกัน จึงยึดถือไม่ได้

ผมกำลังทดสอบการทำงานของคอยตัวนอกจานจ่าย หากเรียบร้อยแล้วจะส่งมาให้ดูครับ.....srithanon
วันที่: 25 Dec 14 - 08:31

 ความคิดเห็นที่: 45 / 83 : 825122
โดย: diNk Un LoCk
ผมเคยทำให้ไปหลายคันแล้วครับ ไม่ยาก พอดีเพิ่งเห็นกระทู้เลยไม่ทันได้แนะนำ
วันที่: 25 Dec 14 - 11:07

 ความคิดเห็นที่: 46 / 83 : 825123
โดย: srithanon
เป็นรูปการจั้มสายไฟ ที่ปลั๊กตัวจานจ่าย เพื่อตรวจสอบการทำงานของตัวจานจ่าย ว่าทำงานหรือไม่ ในกรณีที่เอาตัวจานจ่ายออกมาจากเครื่อง หรือไปซื้อของเก่ามือสอง หากเทสจานจ่ายที่อยู่กับเครื่องยนต์แล้ว เพียงแต่ตัดสายไฟ เส่นที่เป็น Y/V ออกจากกัน แล้วนำสายที่ต่อเข้ากับปลั๊กที่จานจ่าย นำไปเขี่ยไฟบวก 12V โดยให้เปิดฝาครอบจานจ่ายออก แล้วหาสายไฟหุ้ฉนวน ต่อที่เดือนเสายาวที่เสียบเข้าจานจ่าย มาวางใกล้ๆกับกราวด์ หากนำสายไฟท่ี่ต่อที่ขา Y/V เขี่ยที่ไฟบวกแล้วมมีประกายไฟออก แสดงว่าดี แต่ไม่ได้หมายความว่าจะไฟที่เห็นจากการอาร์คของกระแส จะมีแรงเคลื่อนโวลเต็จสูงตามที่กำหนดหรือไม่ ( ขั้นตอนที่กล่าวมา ต้องบิดสวิชทกุญแจไปที่ตำแหน่ง ON ก่อนนะครับ เพราะจะต้องนำไฟไปจ่ายให้กับวงจรตัวจานจ่ายเสียก่อน)

เนื่องจากไฟที่ออกมาอาจจะต่ำ เพราะการเสื่อมสภาพของตัวคอยน์ อันมาจากการลีคชอร์ทเทินของขดลวดที่ใช้พันบนแกนคอร์ของตัวคอยน์
วันที่: 25 Dec 14 - 11:24

 ความคิดเห็นที่: 47 / 83 : 825124
โดย: srithanon
ขออภัยส่งรูปภาพไม่ได้เพราะผิดประเภทของไฟล์ เดี๋ยวส่งมาให่้ใใหม่
วันที่: 25 Dec 14 - 11:26

 ความคิดเห็นที่: 48 / 83 : 825125
โดย: srithanon
รูปภาพในเนื้อหาข้างบน
วันที่: 25 Dec 14 - 11:35

 ความคิดเห็นที่: 49 / 83 : 825127
โดย: SpyTT
สอบถามนิดหนึ่งครับ
ในรูป วงจรด้านบน
อันใหนคือ C (ตัวเก็บประจุ)อะครับ
Switching power Transistor คือ ไอ้สี่เหลี่ยมแดงเปล่าครับ มันมีสองอัน ถือเป็นตัวเดียวกันเปล่าครับ
และ ตัวต้านทาน กรอปชมพู ตัวมันอยู่ที่คอลย์หรือ ที่ชุด power Transistor ครับ
วันที่: 25 Dec 14 - 11:58

 ความคิดเห็นที่: 50 / 83 : 825137
โดย: srithanon
ตัว Switching power Transistor ก็คือ กรอบสีแดงที่อยู่ัดจาก ค่า Resister ตัวนี้ก็คือ ตัวที่ติดอยู่กับแผง ปลั๊ก 6 ขา ส่วนในรูปสี่เหลี่ยมตัวถัดมา จริงแล้มันคือตัวที่ทำหน้าที่สร้างสัญญาณ พัลส์ โดยมีจานแผ่นวงกลม ที่ติดกับแกนหมุนหัวนกกระจอก โดยที่เมื่อโลหะทรงกลมแบ่งครึ่งที่หมุนตามแกนยึดหัวนกกระจอก ตัดกับสนามแม่เหลํกาวร โดยมีค่าคาบเวลา แต่ละช่วงห่างกันที่ 180 องศา เพื่อส่งสัญญาณพัลส์นี้ไปเข้ากล่อง ECU ที่ขา 4G

คาดว่าตัวที่เป็นกรอบสี่เหลี่ยม ชุดที่สองที่คุณถามมาก็คือชุดสร้างสัญญาณที่ผมกล่าวข้างบน ฝังตัวอยุ๋ในแผ่นชุกเดียวกับ Power switching

สำหรับค่า resister ที่ถาม ผมไม่แน่ใจ แต่น่าจะแสดงถึงค่าความต้านทานที่กิดขึ้นในโครงสร้างของตัวคอยน์ในจานจ่าน เมื่อมีการใช้กระแสจำนวนมากที่ไหลผ่านคอยน์ไปทีขา C ของทรานซิสเตอร์ ลงกราวด์ อาจจะมาจากเกิดการชอร์ทของ ขา C กับขา E ของทรานซิสเตอร์ ก็จะทำให้กระแสไฟส่วนหนึ่งไหลผ่านค่าความต้านทานที่ว่านี้ ลงกราวด์ เป็นค่าโหลดกระแสของวงจร ไม่ให้เกิดการร้อนในตัวขดลวดและไหม้ได้ ผมไม่แน่ใจ เพราะยังไม่เคยเข้าไปวิเคราะห์การทำงานของมัน และชำแระดูโครงสร้าง ได้แต่พอเข้าใจในหลักการอ้างอิงกับวงจรอื่นๆ ที่ทำหน้าที่คล้ายกัน อาจะใช่หรือไม่ใช่ก็ได้ครับ

สำหรับค่า C ที่ถามมา ในวงจรไม่มีเขียนไว้ให้ ก็คือตัวที่ติดกับจานจ่าย มีค่า 0.47 ไมโครฟาราด ........srithanon
วันที่: 25 Dec 14 - 17:35

 ความคิดเห็นที่: 51 / 83 : 825143
โดย: srithanon
-ขออภัยเพื่อนๆและน้องๆ ที่คอยติดตามดูการโมดิฟลาย จานจ่ายติดคอยน์นอกจากจ่าย เดิมว่าจะโพสมาให้ดูในวันนี้ แต่เนื่องจากมีภาระกิจหน้าที่การงาน จึงไม่สามารถทำให้แล้วเสร็จได้ ขอเป็นวันพรุ่งนี้ คงจะเสร็จในช่วงบ่ายๆ .......srithanon
วันที่: 25 Dec 14 - 19:58

 ความคิดเห็นที่: 52 / 83 : 825146
โดย: SpyTT
ขอบคุณครับ
โปรเจ็คนี้ขามปีกันเลยที่เดียว
ผมก็ติดงานใหญ่ครับ (เลี้ยงลูก )
เจ้าตัวแสบหลับเท่านั้น ถึงจะได้ทำ
วันที่: 26 Dec 14 - 08:14

 ความคิดเห็นที่: 53 / 83 : 825161
โดย: srithanon
กำลังทดสอบการทำงาน ผ่านทุกขั้นตอน และกำลังรวบรวมขั้นตอนในการต่อสายไฟเข้าไปในจานจ่าย ซึ่งมีขั้นตอนเล็กน้อย ช่วงเย็นจะส่งคลิปวิดิโอ และภากขั้นตอนการตัดต่อสายไฟมาให้ชอมกันครับ......srithanon
วันที่: 26 Dec 14 - 14:08

 ความคิดเห็นที่: 54 / 83 : 825165
โดย: srithanon
ก็ใช้เวลาที่จำกัด ในการทดลอง ต้องขออภัยที่ดูไม่เรียบร้อย เพราะแข่งกับเวลาที่มีภาระกิจอีก
ก่อนจะให้ชมวิดืโอคลิบ ที่ผมรีบๆทดลอง พอให้ออกมาให้เห็นว่ามันทำงาน บังเอิญตังฟังชั่นเจนเนอเรเตอร์ที่ผมส้างมันเสีย เลยให้ดูการสปาร์คของไฟสูงแบบต่อเนื่องไม่ได้ ต้องใช้วิธีทริคสัญญาณให้ Power switching Transistor ทำงานแบบไม่ต่อเนื่อง ให้ดูก่อนว่ามันทำงานแล้ว

ก่อนจะไปถึงตรงนั้นขอใหเดูวิธีการนำสายไฟไปเข้าจานจ่าย ว่ามันต้องเจาะตรงไหนบ้าง และมีปัญหาอะไร อยากจะบอกว่าความจริงแล้วมันเป็นเรื่องไม่ยากอะไร แต่เพียงว่าตอนผมทำมันมีปัญหา ที่มีตัวเลือก กล่าวคือ ในตัวคอยน์ที่อยู่ในตัวจานจ่าน มันมีสายไฟจากภายนอกอยู่สองเส้น ที่ตัวปลั๊กสามขา คือขา L กับขา R

เมื่อไล่วงจรดูแล้วมันมีสายไฟไม่ตรงขา คือขา L เพราะมีไฟจ่าายตรงไฟที่ขา C ของ Switching power Transistor เท่ากับว่าในสสภาวะนี้ ควรจะเป็นสายสัญญาณไฟ R เมื่อเป็นดังนี้ แสดงให้ทราบว่า ขั่ว R จะต้องเป็นไฟ บวก ทีมาจากการบิดสวิชกุญแจไปตำแหน่ง ON

ทำให้ผมมีทางเลือกสองทางที่จะนำสายไฟที่มาจากคอยตัวนอก ที่ขั่ว R ที่นำไปต่อเข้ากับขา C ของทรานซิสเตอร์ ทางเลือกแรก คือยังใช้สายไฟขั่ว L ที่ตัวปลั๊กสามขา ยังคงใช้ตามเดิมอยู่หนึ่งเส้น โดยเสียบไว้ ตามเดิม แต่ให้เอาสายเส้นนี้ ไปเข้าขัวไฟลบของตัวคอยน์นอก ส่วนขั่วบวกของตัวคอยน์นอก ก็ให้ใช้สายไฟของ ตัว R ที่ปล๊กสามขา แต่ให้เอาออกมาต่อเข้าที่บวก ของคอยตัวนอกแทน โดยายไฟเส้นนี้จะไม่ต่อเข้าจานจ่าย หมายความว่า เมื่อสวิชกุญแจบิดไปที่ตำแหน่ง ON ก้จะมีไฟมาจ่ายให้คอยน์ตัวนอก แล้วผ่านมาที่ขั่วลบเข้าขา C ของทรานซิสเตอร์

หากเป็นตามนี้ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องเจาะรูสำหรับนำสายไฟไปต่อที่ขา C จะทำให้ง่ายต่อการโมดิฟลาย ไม่ต้องไปยอุงกับการต่อสายไฟเข้าไฟในจาจ่าย ถามว่ามีผลเสียอะไรหรือไม่ อยากจะบอกว่า เมื่อมีไฟผ่านเข้าไปที่ตัวคอยน์เดิมในจานจ่าย ก็จริง แต่ปลายอีกด้านหนึ่งจะถูกปล่อยลอยไว้ ไม่ต่ออะไร เพราะเราเอาสายสายไฟขั่ว R ออกมาต่อให้ขั่วลบของคอบน์ตัวนอก

คาดว่าช่างที่อื่นคงใช้วิธีนี้ในการดัดแปลง แต่มันก็มีผลเสียเกิดขึ้นบ้าง ในเรื่องการรบกวนของสัญญาณคลื่นแม่เหล็ก ที่เกิดขึ้นรอบๆเส้นลวดที่พันไว้ เพราะมันมีสัญญาณ คลื่นของความถี่ต่ำเกิดขึ้นภายในเส้นลอดที่พัน คล้าบกัยสายอากาศเครื่องสังสัญญาณวิทยุ แต่มันไม่ให้ผลทางทางที่เห็นเด่นชัด จะมีก็เพียง หากว่าเมื่อใดเกิดความชื้นขึ้นกับโครงสร้างฉนวนของตัวคอย์ จนกลายเป็นสื่อทางไฟฟ้า นั้นหมายความว่าตัวตัวคอยน์เดิมก็จะมีกระแสไหลแม้จะไม่มาก แต่ก็อาจจะทำให้คอยน์ทำงานมีไฟโวลเต็จสูงออกที่ปลายเดือนเสายาว ที่ถุกตัดทิ้งไป อะไรจะเกิดก็คิดเอาเอง นี้เป็นเพียงหลักการในวงจรไฟฟ้า หากไม่คำนึงก็ใช้งานได้
วิธีที่กล่าวนี้ ทำให้ง่านต่อการดัดแปลง เพราะใช้แค่สายไฟสองเส้นต่อไปให้คอยตัวนอก

กับวิธีการนำสายไฟเข้าในตัวจานจ่ายที่ต้องเจาะ เพื่อตัดปัญหาที่จะเกิดขึ้นตามที่กล่าวข้าสงบน ก็คือเจาะเอาสายไฟเข้าไปต่อให้กับขา C ของทรานซิสเตอร์ ในวิธีนี้ต้องตัดหัวเสียบขั้วไฟ L ที่เข้าคอยน์ตัวเดิมออกจากกัน เพื่อไม่ให้มีไฟไปเลี้ยงคอยตัวเดิม ให้จ่ายเฉพาะที่ขา C ของทรานซิสเตอร์เท่านั้น และสายไฟที่ต่อเข้าขา C เส้นนี้จะนำไปต่อเข้าขั่วลบของคอยน์ตัวนอก และขั่วบวกของคอยตัวนอก จะต่อเข้ากับไฟ บวก 12V จากสวิชตำแหน่ง ON ( เดิมคือต่ำแหน่ง L) หรือที่ขั่ว R เพื่อนๆอาจจะงง ต้องย้อนไปตอนที่ผมกล่าวในข้างบนว่า ที่ขั่ว L ทำไ *_* ต่อเข้าขา C ของทรานซอิสเตอร์ จริงแลัวที่ขา C ควรจะเป็ขั่ว R ผมไล่วงจรของเส้นทางเดินของไฟตำแหน่งนี้แล้ว มันตรงกันข้ามกับในวงจรที่เขียนเอาไว้

เพื่อความแน่ใจ อยากให้เพื่อนท่านไดก็ได้ ให้ทดลองวัดไฟ 12V จากการบิดสวิชกุญแจไปตำแหน่ง ON แล้วดึงปลั๊กสามขาที่ตัวจานจ่ายออก เอามิเตอร์วัดไฟวัดที่สายไฟเส้น R ว่ามีไฟวัดได้ 12V หรือไม่ และลองวัดที่สายไฟเส้น L มีไฟหรือไม่ หากที่สายไฟ R มีไฟ และสาย L ไม่มีไฟ ก็เป็นการสลับตำแน่งในวงจรที่ใให้มา หากวัดไฟเส้นไหนขึ้น ก็ให้เอาสายไฟเส้นนั้นไปเข้า ขั่วบวกของคอยตัวนอก แล้วเอาสายไฟที่สอดใส่เข่าไปข้างในจานจ่าย ที่ต่อกับขา C ไปต่อเข้ากับขั่วลบของคอยตัวนอก ก็เป็นการต่อสายไฟให้กับคอยตัวนอกที่ถูกต้อง

สำหระบที่ปลั็ก 6 ขา ไม่ต้องไปยุ่งกัยมัน เสียบเข้าจานจ่ายตามเดิม

ลองมาดูวิธีเจาะรูเอาสายไฟเข้าว่าเจาะตรงไหนตามภาพข้างล่างนี้
วันที่: 26 Dec 14 - 17:45

 ความคิดเห็นที่: 55 / 83 : 825166
โดย: srithanon
ในภาพสายไฟเส้นแดงที่ต่อผ่านเข้าด้านใน ตรงช่องว่างนั้นเดิืจะมีหับเสียบเข้ากับตัวชุดคอย เราจำเป็ที่จะต้องตัดออก ที่เลือเนื้อโลหะสำหรับบักรีสายไฟด้วย
วันที่: 26 Dec 14 - 17:48

 ความคิดเห็นที่: 56 / 83 : 825167
โดย: srithanon
ตรงที่ปลายปากกาชี้ คือจุดที่มีหัยเสียบ แต่ถูกตัดไป เหลือเนื้อโลหะไว้บ้างสำหรับบัดกรียึดสายไฟ
วันที่: 26 Dec 14 - 17:51

 ความคิดเห็นที่: 57 / 83 : 825168
โดย: srithanon
วิธีตามภาพข่างล่างนี้ใช้ไม่ได้ครับ เพราะหะยเสียบและจุดยุดกรี จะนูนขึ้นไปทำให้วงล้อโลหะที่แกนหมันโลเคอร์ติด ใช้ไม่ได้กับจานจ่าย ที่มีภายในต่างกัน
วันที่: 26 Dec 14 - 17:54

 ความคิดเห็นที่: 58 / 83 : 825169
โดย: srithanon
จะพบว่าภายในจานจ่ายที่มีแกนโรเตอร์ต่างกันและวงล้อ ที่มีช่องว่างสลับทึงเพ่อสร้างสัญญาณพัลส์ มีส่นที่สัมผัสติดกัยจุดบัดกรีใช้ไม่ได้ จะใช้ไดกับอีกรุ้น ที่มีแผ่นวงกลมด้สนบนไม่มีแผ่นยื่นลงมาสัมผัสจุดบัดกรี
วันที่: 26 Dec 14 - 17:59

 ความคิดเห็นที่: 59 / 83 : 825170
โดย: srithanon
ภาพการทดสอบเบื่องต้น เมื่อทดลองเอาคอยน์กระบอกสีดำรุ่นเก่ามาทดลองใช้เป็นคอยน์ตัวนอก ก็ใช้งานได้ดี
วันที่: 26 Dec 14 - 18:01

 ความคิดเห็นที่: 60 / 83 : 825171
โดย: srithanon
เป็นภาพที่กำลังทดลอง ใช้สายไฟที่ต่อจากในตัวจานจ่าย กับสายไฟ บวก 12V แทนขั่ว L ในตำแหน่ง สวิช ON (ทีไฟบวก 12V)
วันที่: 26 Dec 14 - 18:05

หน้าที่: 1   2   [3]   4   5