Close this window

เครื่องเดินไม่เต็มสูบเวลาเครื่องร้อน
เวลาเครื่องร้อน จะมีลักษณะเครื่องเดินไม่เต็มสูบ มีการสั่น แต่เวลาเครื่องเย็นไม่เป็นเครื่องมีกำลังดี เวลาเครื่องร้อน เครื่องจะมีลักษณะไม่ค่อยมีกำลัง เปลี่ยนสายหัวเทียนแล้วไม่หาย เปลี่ยนหัวเทียนแล้วไม่หาย
โดย: ปอนด์   วันที่: 11 Mar 2009 - 22:33

หน้าที่: [1]   2

 ความคิดเห็นที่: 1 / 24 : 437085
โดย: โจ้_มาสด้า@นิวซีดานเชียงใหม่
คอยล์, หัวโรเตอร์, ฝาครอบจานจ่ายตัวนอก - ตัวใน

ลองตรวจสอบสภาพมันดูอีกทีครับ
วันที่: 12 Mar 09 - 07:25

 ความคิดเห็นที่: 2 / 24 : 437105
โดย: Yut13
ของผมเป็นที่ฝาครอบตัวในยางหุ้มฉีกแต่ป่านนี้ยังไม่ได้เปลี่ยน
วันที่: 12 Mar 09 - 09:23

 ความคิดเห็นที่: 3 / 24 : 437151
โดย: srithanon
อาการของเครื่องยนต์ที่คุณบอกมาว่าเวลาเครื่องร้อน ทำให้เครื่องยนต์ดูเหมือนว่าเดินไม่เต็มสูบ ประเภทรอบตก เครื่องสั่น ะไรทำนองนั้น ความจริงอาการอย่างนี้ มีปัจจัยที่เกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ
จะให้ชี้แนะแก้ไข ให้ตรงจุดตรงประเด็น คงไม่ถูกต้องนัก
องค์ประกอบมีหลายส่วนของระบบเครื่องยนต์ที่มีส่วนของการทำงานร่วมกัน จึงจำเป็นต้องแบ่งแยกออกมาตรวจเช็คทีละภาคส่วน ให้ครบองค์ประอบในการที่จะให้เครื่องยนต์ ทำงานได้ถูกต้องและสมบูรณ์ ในหลายๆส่วนที่เกี่ยวข้อง ผมจะขอกล่าวสักส่วนหนึ่งที่เกี่ยวข้อง และดูเหมือนว่าจะใกล้เคียงกับปัญหาที่เกิดขึ้นกับรถของคุณ
ปกติรถที่มีอาการที่เครื่องร้อนจัด ทำให้เครื่องยนต์เดินไม่เรียบ สั่น รอบเครื่องตก ก็มาจากการเกิดความร้อนของตัวเครื่องยนต์และอุณหภูมิในห้องเครื่อง อันมาจากสาเหตุระบบระบาบความร้อนของเครื่องยนต์ เช่นที่หม้อน้ำ พัดลม มีความผิดปกติ ทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพ ระบบระบายความร้อนของเครื่องยนต์ เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดการเหตุการณ์ดังกล่าว
ถามว่าทำไมถึงเป็นเช่นนั้น ก็ต้องขอย้อนไปในเรื่องของการสันดาป หรือการจุดระเบิด ที่เกิดขึ้นในห้องกระบอกสูบของเครื่องยนต์ ที่มีส่วนผสมระหว่างอากาศและน้ำมัน ในอัตราส่วน อากาศ(ออกซิเจน) 14.7 ต่อ น้ำมันเชื้อเพลิง 1ส่วน ภายใต้สภาวะของอุณหภูมิปกติของการสันดาป การจุดระเบิดที่เกิดขึ้นก็จะสมบูรณ์ ทำให้เครื่องยนต์มีกำลังตามที่กำหนดของเครื่องแต่ละรุ่นที่ได้รับการออกแบบ
ในสภาวะของอุณหภูมิปกติ อากาศ(ออกซิเจน) มีปริมาณความหนาแน่นสูง แต่ที่เมื่อใดที่สภาวะของอุณหภูมิ ภายในห้องเครื่องยนต์ตัวเครื่องยนต์ มีอุณหภูมิสูงขึ้น ทำให้ปริมาณกาศ(ออกซิเจน) มีปริมาณความหนาแน่นต่ำลง ด้วยสาเหตุนี้ทำให้อัตราส่วนผสมที่เกิดขึ้นภายในห้องสูบ มีอัตราส่วนที่ผิดไป มีอากาศ(ออกซิเจนน้อย) น้ำมันมาก สมมุติว่าเหลือ เป็น 12/1 เราเรียกว่ามีส่วนผสมหนา
การที่เครื่องยนต์มีอัตราส่วนผสมที่หนา มีน้ำมันมากกว่าอากาศ ทำให้การจุดระเบิด หรือการเกิดสันดาปในห้องสูบ มีกำลังแรงดันที่กระทำต่อลูกสูบน้อยลง ทำให้กำลังของเครื่องยนต์ตกลง รอบเดินเบาก็ตกลง เครื่องสั่น บางครั้งถึงกับเครื่องยนต์ดับ และเวลาสตาร์ทเครื่องยนต์ ทำให้สตาร์ทติดยาก และเกิดอาการสำลักของเครื่องยนต์ เพราะการจุดระเบิดทำได้ยาก หากมีองประกอบที่น้ำมันเชื้อเพลิง มีอัตราส่วนที่หนาหรือมากกว่าอากาศ
สภาวะที่สอง ตัวเครื่องยนต์ที่มีการระบายความร้อนไม่สมบูรณ์ และมีอุณหภูมิเพิ่มขึ้น ไปจากอุณหภูมิที่ทำให้เกิดการสันดาปที่สมบูรณ์ ทำให้มีความร้อนเพิ่มขึ้นในห้องสูบด้วย เมื่อมีการสันดาปเกิดขึ้น จะยิ่งทำให้ความร้อนที่เกิดจากการบีบอัด ของลูกสูป มีความร้อนเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดการชิงจุดระเบิดได้ง่าย เครื่องยนต์ก็จะไม่มีกำลัง นี้เป็นสาเหตุว่าทำไมเวลาที่เครื่องยนต์ร้อนมากๆ ทำให้ดูเหมือนว่า เดินไม่เต็มสูบ เครื่องสั่น รอบตก
การแก้ไข ก็ควรที่จะต้องตรวจสอบระบบน้ำหล่อเย็น หม้อน้ำ พัดลมหม้อน้ำ มีอัตราความเร็วของรอบลดลง หม้อน้ำอุดตัน ท่อยางต่างๆ รวมถึงตัวเทอร์โมวาวล์ของน้ำ เปลี่ยได้ก็ควรเปลี่ยน อย่ารอให้เกิดอาการ ส่วนมากรถที่ใช้งานมาหลายปีมักจะเกิดอาการอย่างนี้ครับ ส่วนสาเหตุอื่นๆที่เป็รส่วนประกอบ ที่จะทำให้เกิดอาการที่ว่านี้ก็ยังมีครับ ก็ขอกล่าวไว้แค่นี้ก่อน
วันที่: 12 Mar 09 - 12:46

 ความคิดเห็นที่: 4 / 24 : 437196
โดย: โจ้_มาสด้า@นิวซีดานเชียงใหม่




เป็นเรื่องลึก ที่ไม่ลับ และส่วนใหญ่จะมองข้าม
วันที่: 12 Mar 09 - 15:43

 ความคิดเห็นที่: 5 / 24 : 437205
โดย: PhaT jA
สุฃโค่ยมากพี่ศรีทนนชัย
วันที่: 12 Mar 09 - 15:53

 ความคิดเห็นที่: 6 / 24 : 437258
โดย: Dang_p
สุดยอดครับ รถผมก็เป็นเหมือนกัน หาสาเหตุตั้งนานว่า
ทำไมเวลาเครื่องร้อนแล้วรถเราถึงไม่มีแรงหว่า...ตอนนี้สว่างแล้วครับ จะลองเช็คดู ขอถาม
อีกนิดครับ แล้วพวกสายยางต่าง ๆ ที่เป็นสายลม สายน้ำหล่อเย็นที่อยู่ใต้ปีกผีเสื้อมีส่วนที่ทำ
ให้เกินอาการดังกล่าวหรือเปล่าครับ ผมใช้ Pop Up ครับ
วันที่: 12 Mar 09 - 18:14

 ความคิดเห็นที่: 7 / 24 : 437323
โดย: บุ๊ง_323
ของผมอาการเป็นอย่างนี้เช่นกันครับ แต่ของผมเปลี่ยนเซ็นเซอร์จับความร้อนที่ส่งไปกล่องครับ

พอมันไม่ทำงานหรือเสื่อมสภาพมันก็ส่งสัญญานไปที่กล่องเพี้ยนและทำให้การสั่งจ่ายน้ำมันผิด

เพี้ยนเพราะเมื่อความร้อนสูงขึ้นกล่องก็จะสั่งงานในการจ่ายน้ำมันให้เหมาะสมแต่เมื่อเซ็นเซอร์ทำ

งานไม่ปกติมันจึงเกิดอาการของผมเนี่ยพอร้อนเครื่องสั่นเร่งแล้วเหมือนรถหัวเทียนบอดเลยครับ

พอเปลี่ยนแล้วดีขึ้นครับ
วันที่: 12 Mar 09 - 23:54

 ความคิดเห็นที่: 8 / 24 : 437325
โดย: srithanon
ขอบคุณครับ สายท่อน้ำที่อยูใต้ลิ้นปีกผีเสื้อ ปกติแล้วเป็นการนำน้ำจากระบบหล่อเย็นของเครื่องยนต์ ที่ได้จากหม้อน้ำ ที่จ่ายไปตามผนังเสื้อสูบ แล้วแยกไปที่ตัวลิ้อากาศ หรือที่ โรตารี่โซลินอยวาวล์ เพื่อต้องการอุณหภูมิของน้ำ ไปเลี้ยงชุดควบคุมกลไกการปิดเปิดให้เพิ่มปริมาณอากาศเข้าสู่ห้องไอดี ในระบบการคอนโทรลรอบเดินเบาของเครื่องยนต์ ถามว่าควรตรวจเช็คหรือไม่ ก็ตอบว่าควรครับ หากท่อยางที่เก่า อาจจะมีการปริแตก รั่วซึม หรือตัวท่อยางหมดสภาพ ทำให้มีผลต่อระบบระบายความร้อนของเครื่องยนต์ได้ครับ
ผมว่าเราอย่าขี้เหนียวในเรื่องอย่างนี้เลย ได้เวลาอันควร ก็เปลี่ยนทั้งชุดเลยครับ สำหรับการล้างหม้อน้ำ แนะนำว่าให้เราทำการถอดท่อยางทุกเส้น ที่เป็นท่อส่งน้ำเข้าส่วนต่างๆของเครื่องยนต์ ออกมาเปลี่ยนหรือทำความสะอาดภายใน(แนะนำให้เปลี่ยนใหม่เลยครับ) สำหรับช่องน้ำที่ผนังเสื้อสูบ พยายามหาปั้มน้ำฉีดอัดน้ำเข้าไป พวกตะกรันสนิม จะได้ไหลออกมา จนกว่าน้ำที่ไหลผ่านผนังเสื้อสูบดูใสขึ้น สำหรับตัวเทอโมวาวล์ถึงจะยังใช้ได้ ผมคิดว่าควรเปลี่ยน อย่ารอให้เกิดเหตุการณ์ ผลเสียจะตามมาให้เสียเงินมาก
สำหรับเรื่องหม้อน้ำ แนะนำให้เปลี่ยนใหม่ ทำไมให้เปลี่ยนอยู่เรื่อย หม้อน้ำเป็นหัวใจของการระบายความร้อนของตัวเครื่องยนต์ หลายๆท่านเอาไปให้ช่างหม้อน้ำเปิดล้างตะกรันสนิม ที่ติดภายในช่องของรังผึ้ง ก็คิดว่าคงจะทำให้มีการระบายความร้อนได้เหมือนเดิม ลืมนึกไปว่าผิวของโลหะทองแดง ที่สร้างเป็นครีบระบายความร้อน มันเกิดทองแดงอ๊อกไซด์ ขึ้นที่ผิวของมัน ทำให้การระบายความร้อนมีประสิทธิภาพต่ำลง ภายนอกยังพอขัดถูได้ แต่ที่ผิวภายในเราไม่สามารถทำให้ผิวสะอาดได้ ทำให้การถ่ายเทความร้อนจากน้ำไปยังผิวโลหะทองแดงทำได้ยาก ถึงแม้วาจะมีแรงดูดของพัดลมหม้อน้ำที่แรงช่วยก็ตาม ปัญหาเล็กๆน้อยๆที่หลายท่านมองข้ามไป ทำให้ปัญหาเรื่องการระบายความร้อนของเครื่องยนต์
ฝาหม้อน้ำใช้มานานแล้วพวกยางที่ขอบฝาปิดอาจจะหมดสภาพ ทำให้ปิดไม่สนิท ทำให้ระบบน้ำของหม้อน้ำหดหายไป สำหรับเรื่องการระบายความร้อนของหม้อน้ำ สิ่งที่ขาดไม่ได้อีกอย่างหนึ่งก็คือ พัดลมหม้อน้ำ เมื่อมีการใช้งานมานาน ทำให้ชิ้นส่วนภายในสึกหรอ พวกบูช และแปลงถ่านมีผิวหน้าสัมผัสกับสล๊อตของคอมมิวเตเตอร์ ไม่สนิท เนื่องมาจากการอาร์คของกระแสไฟที่เกิดขึ้น บริเวณผิวที่สัมผัส เพราะผิวของช่องสล๊อตสึกไม่เรียบ เพราะใช้งานมามาก ผลที่เกิดขึ้นทำให้กระแสไฟที่ไปเลี้ยงฟีลคอยของพัดลม จ่ายไม่สดวก ทำให้การสล้างสนามแม่เหล็กลดน้อยลงไป ผลก็คือความเร็วรอบของพัดลม ลดลง ไม่สมดูลย์กับการถ่ายเทระบายความร้อนที่เกิดขึ้น ทำให้เกิดความร้อนสะสมในห้องเครื่องยนต์และตัวเครื่องยนต์ ก็ลองไปพิจารณาดูครับ ว่ามีส่วนเป็นไปได้หรือไม่ที่ผมกล่าวมา ขอตอบแค่นี้ก่อนนะครับ
วันที่: 12 Mar 09 - 23:56

 ความคิดเห็นที่: 9 / 24 : 437330
โดย: srithanon
คุณบุ้งครับ ที่คุณบอกมาน่ะใช่ครับ แต่ตัวเซ็นเซอร์ที่ทำหน้าที่ควบคุมความร้อน คงไม่ใช่ แต่พอจะเข้าใจความหมายที่คุณกล่าวถึง จะขอยกตัวอย่างสักสองกรณี ที่ตัวเซ็นเซอร์ที่ทำหน้าที่ควบคุมระบบการฉีดจ่ายน้ำมัน ความจริงมันมีหลายตัว ที่เป็นตัวอินพุทป้อนข้อมูลให้ ECU เอาที่เป็นหลักๆ ก็แล้วกัน ตัวเซ็นเซอร์ที่มาจากตัวแอร์โฟว์ ตัวอ๊อกซิเจนเซ็นเซอร์ และตัวแว็คคัมเซ็นเซอร์ สามตัวนี้เป็นหัวใจในการควบคุมการฉีดน้ำมัน ผมขอพูดแบบสรุปก็แล้วกัน เดี๋ยวอธิบายกันยาว
เอาที่ตัวอ๊อกซิเจนเซ็นเซอร์ก่อนก็แล้วกัน ในกรณีที่เครื่องยนต์มีการจุดระเบิดแล้วทำให้มีอ็อกซิเจนหลงเหลือที่ท่อไอเสีย แสดงว่าอัตราส่วนผสมระหว่างอากกับน้ำมัน มีการจ่ายน้ำมันที่หนาไป ทำให้การจุดระเบิดไม่สมบูรณ์ อ็อกซิเจนที่หลงเหลือที่ท่อไอเสีย จะถูกตรวจจับโดยอ๊อกซิเจนเซ็นเซอร์ แล้วเปลี่ยเป็นโวลเต็จ(ขอพูดแบบรวบรัดก็แล้วกัน) ป้อนให้กับ ECU ประมวลผล แล้วมันจะสั่งให้หัวฉีด ฉีดน้ำมันให้มีอัตราส่วนผสมที่ถูกต้อง ทำให้เครื่องยนต์ มีกำลังแรงดันที่กระทำต่อลูกสูปและมีอัตราเร่ง เอาชนะโหลดของเครื่องได้สูงสุด
แต่ถ้าหากเจ้าตัวอ๊อกซิเจนเซ็นเซอร์นี้เสีย จะทำให้ ECU ไม่ได้รับข้อมูลในการสั่งดฉีดน้ำมัน มันก็จะใช้โปรแกรมที่ถูกสำรองในระบบของมัน สั่งฉีดน้ำมัน แต่มันไม่สามารถที่จะจ่ายน้ำมันได้ตามการแปรผันของรอบเครื่องยนต์ได้ ทำให้การฉีดน้ำมันที่หัวฉีด น้อยกว่าความเป็นจริง ผลที่เกิดขึ้นในอัตราส่วนผสมในห้องสันดาป ก็จะมีอัตราส่วนผสมที่บาง ทำให้มีอากาศ(อ๊อกซิเจน)มีปริมาณมากกว่าน้ำมัน
อ๊อกซิเจนคุณสมบัติของมัน ช่วยให้เกิดการสันดาปติดไฟง่าย ดังนั้นในจังหวะที่ลูกสูปดันอากาศที่มีส่วนผสมนี้ ให้มีปริมาตรที่เล็กลง(การบีบอัด) เกิดแรงอัด(ขออภัยแรงที่เกิดขึ้นจากการบีบอัดของลูกสูป ไม่นิยมเรียกว่าแรงอัด เพราะในนิยามทางฟิสิคส์เรียกว่าแรงดัน)ทำให้เกิดแรงดันต่อพื้นที่ผิวของหัวลูกสูป และเมื่อมีการจุดระเบิดด้วยประกายไฟจากหัวเทียน ก็จะทำให้เกิดปริมาณของกาซที่เพิ่มขึ้น ทำให้เกิดแรงดันภายในปริมาตรที่ถูกอัดที่มีอยู่เดิมเพิ่มแรงดันอย่างสูง ดันให้ลูกสูปเคลื่อนตัวลงมาด้วยความเร่ง แต่เนื่องจากอัตราส่วนผสมที่บางนี้ ปริมาณอ๊อกซิเจนมีมาก ทำให้เกิดการสันดาบได้อย่างรวดเร็วและมีความร้อนที่เกิดขึ้นสูงมาก ทำให้เกิดความร้อนในห้องเครื่องสูง และยังทำให้เกิดการชิงจุดระเบิดก่อนที่จะถูกจุดด้วยประกายไฟจากหัวเทียน นี้เป็นสาเหตุที่ทำให้เครื่องยนต์มีความร้อนสูงขึ้น ในกรณีที่มีอัตราส่วนผสมบาง มีหลายท่านถามว่าเวลาปรับให้มีอัตราส่วนผสมบางแล้วทำไมเครื่องถึงความร้อนขึ้น ยิ่งขับด้วยความเร็วสูงจะเห็นได้ง่าย และยังมีผลต่อการเกิดแบ๊คไฟร์ในเครื่องที่ใช้ระบบแก็ส เพราะว่าอ็อกซิเจนที่หนาช่วยให้ติดไฟง่าย หากมีการปรับอัตราส่วนผสมแก็สน้อยกว่าอากาศ
ตัวต่อมาก็เห็นจะเป็นที่ตัวแว็คคั่มเซ็นเซอร์ หลายท่านไม่เข้าใจว่ามันสำคัญอย่างไร ตอบว่ามีมากครับสำหรับเรื่องการคอนโทรลรอบเดินเบา หลายๆที่แก้ปัญาหาไม่ตกปรับโน้นล้างนี้ จนสับสนไปหมด ลืมไปว่า เจ้าตัวแว็คคั่มเซ็นเซอร์นี้ หากตัวมันเองทำงานผิดพลาด หรือเสีย จะไม่สามารถคอนโทรลระบบรอบเดินเบาได้เลย
แว็คคั่มเซ็นเซอร์นี้ ทำหน้าที่คอยตรวจสอบแรงดูด(แว๊คคั่ม)ของเครื่องยนต์ ที่วัดจากท่อไอดี แล้วเปลี่ยนค่าแรงดูดที่ท่อร่วมไอดีเป็นโวลเต็จ ส่งไปให้ ECU สั่งฉีดน้ำมันในจังหวะรอบเดินเบา หากตัวมันเองเสียแน่นอน เราไม่สามารถคอนโทรลรอบเดินเบาของเครื่องยนต์ได้เลย ในเรื่องของแรงดูดนี้(แว๊คคั่ม)จะมีผลต่อเครื่องยนต์ที่ติดตั้งระบบแกสอย่างมาก ทุกครั้งที่ทำการติดตั้งระบบแก็สควรจะทำการปรับตั้งวาวล์เสียใหม่ เพื่อให้เกิดแรงดูด(แว็คคั่ม) ที่สม่ำเสมอ ทำให้เกิดแรงดูดแกสจากห้องมิ๊กเซอร์ ไปห้องไอดี มีความต่อเนื่อง ทำให้รอบเดินเบาของแก็ส มีเสถียรภาพ ขอจบแค่ไว้แค่นี้ก่อนครับกัน
วันที่: 13 Mar 09 - 01:05

 ความคิดเห็นที่: 10 / 24 : 437362
โดย: หนุ่ม Cronos 5D V6 + LPG
วันที่: 13 Mar 09 - 08:21

 ความคิดเห็นที่: 11 / 24 : 437387
โดย: tanawat 626
วันที่: 13 Mar 09 - 09:28

 ความคิดเห็นที่: 12 / 24 : 437389
โดย: Dang_p
ขอถามอีกหน่อยแล้วกันนะครับคุณ srithanon ที่คุณอธิบายมาผมก็พอเข้าใจว่า
เวลาอุณภูมิห้องเครื่องสูงขึ้นแล้วทำให้เครืองมีกำลังน้อยลง รอบต่ำลง ลองวิเคราะห์รถผม
ให้หน่อยนะครับ รถผมถ้าจอดตากแดดเป็นเวลานาน ๆ หรืออากาศร้อน ๆ ถึงจะพึ่งสตาร์ทเครื่อง
รอบก็จะต่ำกว่าปกติ เมื่อเทียบกับถ้าจอดในร่มครับ ผมวิเคราะห์สาเหตุไม่ออกเลย ช่วยหน่อยนะครับ
ว่ามันน่าจะเกิดจากอะไร ขอบคุณครับ
วันที่: 13 Mar 09 - 09:40

 ความคิดเห็นที่: 13 / 24 : 437437
โดย: srithanon
ต้องขอโทษด้วยครับ เมื่อกี้นี้ผมพิมพ์ตอบกระทู้ของคุณมีเนื้อหาที่น่าสนใจ มีเนื้อหายาวหนึ่งหน้ากระดาษ แต่ผมพลาดไปโดนคีย์ ปุ่มอะไรไม่ทราบ ถูกลบออกไปหมดก่อนที่จะส่งข้อความ และขณะนี้ผมต้องเดินทางไปสุโขทัย กลับเย็นวันอาทิตย์ แล้วผมจะส่งเนื้อหามาให้ในวันจันทร์ใหม่นะครับ หากสนใจติดตาม ขอบคุณครับ
วันที่: 13 Mar 09 - 12:44

 ความคิดเห็นที่: 14 / 24 : 438026
โดย: Dang_p
รออ่านอยู่นะครับ ขอบคุณล่วงหน้า
วันที่: 16 Mar 09 - 09:11

 ความคิดเห็นที่: 15 / 24 : 438033
โดย: srithanon
ขอบคุณครับ เพิ่งกลับมาถึงกรุงเทพ ตีหนึ่ง ช่วงเช้าต้องไปทำงาน ขอเป็นช่วงคืนนี้แล้วผมจะส่งให้นะครับ ขอถาม ว่ารถคุณใช้ระบบคาร์บิวหรือ ควบคุมด้วยระบบ ECU จะได้เล่าสู่กันฟังได้ตรงระบบครับ
วันที่: 16 Mar 09 - 09:36

 ความคิดเห็นที่: 16 / 24 : 438044
โดย: Dang_p
ขอบคุณครับ รถผม astina Pop Up ครับ เป็นระบบหัวฉีด EGI ครับ
วันที่: 16 Mar 09 - 10:00

 ความคิดเห็นที่: 17 / 24 : 438045
โดย: รถตุ๊ดตู่ GTX
รถผมเป็นเหมือนเจ้าของกระทู้นะครับ และก็มีเพื่อนๆหลายคนในคลับเคยเป็น เช่นเดียวกัน อาการทที่ว่าคือร้อนแล้วเป็น อยากแนะนำลองเช็คที่สายหัวเทียนก่อนเลยอะครับ ว่า มีรั่วมีรอยแหว่งหรืออะไรไหม เพราะล่าสุด เป็นแบบที่ท่านเจ้าของกระทู้โพสไว้นะคับ ผมเปลี่ยน สายหัวเทียน หายสนิทเลยครับ ลองดูนะครับ
วันที่: 16 Mar 09 - 10:01

 ความคิดเห็นที่: 18 / 24 : 438279
โดย: srithanon
ขอตอบกระทู้ของคุณ ตาม ที่คุณบอกว่าในกรณีที่รถตากแดดนานๆ เวลาสตาร์ทเครื่องยนต์แล้ว รอบเครื่องยนต์ต่ำ แต่เวลาจอดในที่ร่มหรือไม่ตากแดดแล้ว รอบปกติ เป็นเพราะเหตุใด
ก่อนที่จะพูดถึงสาเหตุ อยากจะขอกล่าวไปถึงระบบที่ทำหน้าที่การคอนโทรลรอบเดินเบา รอบสูง
ในช่วงที่เราทำการสตาร์ทเครื่องยนต์ ในเวลาเช้าๆ หรือเวลาใดๆ ที่เมื่อเครื่องยนต์มีอุณหภูมิต่ำ(เย็น) มีส่วนอะไรเข้ามาทำหน้าที่ช่วยให้เครื่องยนต์ทำงานได้โดยไม่มีปัญหากับรอบเดินเบา ในขณะที่เครื่องยนต์เริ่มต้นทำงาน
เครื่องยนต์ในระบบหัวฉีดที่คอนโทรลด้วย ECU จะมีส่วนประกอบของลิ้นอากาศเป็นตัวช่วย มีหลายชนิด หลายแบบ ขึ้นอยู่กับว่าควบคุมการฉีดเชื้อเพลิงด้วยอีเลคโทรนิคส์แบบใด เช่น EFI, MPI, TCCS, ECCS มีหลายค่าย เอาที่ๆใช้กันในปัจจุบัน เช่นลิ้นอากาศแบบ ไขขี้ผึ้ง แบบโลหะไบเมทัล โรตารี่โซลินอย ลิ้นควบคุมอากาศ สเต็ปมอเตอร์ และอีกหลายแบบ รวมถึงหัวฉีดสตาร์ทเย็น
สำหรับแบบไขขี้พึ่งเป็นระบบเก่า ของยุคเครื่องหัวฉีดรุ่นแรกๆ เดี๋ยวนี้ไม่ค่อยเห็น แต่จะขอกล่าวถึงเพื่อเป็นข้ออ้างอิงที่เห็นได้ง่าย ลิ้นอากาศที่พูดถึงนี้อาศัยการคอนโทรลปิดเปิดช่องระบายอากาศ จากอุณหภูมิของระบบน้ำหล่อเย็นของเครื่องยนต์ ตั้งแต่ 21-80 องศาเซ็นติเกรด
เมื่ออุณหภูมิของเครื่องยนต์ยังต่ำ ทำให้ไขขี้ผึ้งไม่ขยายตัว ทำให้ลิ้นระบายอากาศเปิดสุด หากร้อนมันจะขยายตัว ดันให้ลิ้นระบายอากาศเปิดช่องทางผ่านอากาศให้แคบลง อากาศไหลได้น้อย ในทำนองเดียวกัน ที่ลิ้นระบายอากาศแบบโรตารี่โซลินอย ก็อาศัยอุณหภูมิของน้ำหล่อเย็น มาเป็นตัวคอนโทรลให้โลหะไบเมทัล ขยายตัวและหดตัว เพื่อกำหนดระยะการเปิดช่องอากาศ โดยมี ECU เป็นตัวจ่ายกระแสไฟให้กับคอยของแท่งแม่เหล็ก สร้างสนามแม่เหล็ก บังคับให้ปิดเปิดช่องให้อากาศผ่าน
สำหรับแบบสเต็ปมอเตอร์ เป็นผลการพัฒนาลิ้นอากาศ ที่เปิดอากาศให้ไหลผ่านได้มากกว่าระบบที่กล่าวมาทั้งสองแบบ รวมถึงแบบ VSV, ACV ตัวสเต็ปมอเตอร์จะถูกควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ECU โดยได้รับข้อมูลจากเซ็นเซอร์อุณหภูมิหล่อเย็นของน้ำ และเซ็นเซอร์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง จากนั้นคอมพิวเตอร์ จะกำหนดตำแหน่งการเปิดปิดของวาวล์ ให้เหมาะสมกับการจ่ายสัญญาณพัลส์ ให้สเต็ปมอเตอร์ทำงานเปิดช่องให้อากาศผ่าน ในระบบเดินเบารอบสูง
ที่กล่าวมาอย่างย่อๆ ก็ต้องการให้ทราบว่าเรากำลังท้าวความไปในเรื่องของอุณหภูมิของเครื่องยนต์ ที่มีความเกี่ยวข้องกับระบบเดินเบารอบสูงของเครื่องยนต์ ในช่วงแรกของเครื่องยนต์เริ่มทำงานหลังจากสตาร์ทเครื่อง ดังนั้นเราจะพบว่าเมื่อมีการสตาร์ทเครื่องยนต์ ให้เครื่องยนต์ติด ครั้งแรกจะมีรอบของเครื่องยนต์สูงประมาณ 1500 รอบ ทันที เพราะระบบลิ้นอากาศจะเปิดให้อากาศไหลเข้าสู่ห้องไอดีมาก ในขณะเครื่องเย็น เมื่อเครื่องเริ่มร้อนมีอุณหภูมิเพิ่มขึ้น ลิ้นอากาศก็จะค่อยๆปิดช่องบายพาสให้อากาศผ่านจนเหลือช่องอากาศ ที่กำหนดให้เครื่องยนต์ทำงานในรอบเดินเบาแบบปกติ
นี้คือที่มาของการทำงานเครื่องยนต์ช่วงอุณหภูมิต่ำ
ย้อนมาคำถามของคุณว่าหากรถยนต์ที่ตากแดดนานๆทำมัยรอบจึงตกลงมา ก็เพราะความร้อนของเครื่องยนต์และภายในห้องเครื่องมีอุณหภูมิสูงกว่า 40 ํC ( ระบบอุณหภูมิของลิ้นอากาศจะเริ่มมีผลการเปลี่ยนแปลง ที่ 21-80 ํC)
ทำให้เป็นไปได้ว่า อุณหภูมิของรถที่จอดกลางแดด มีผลต่อระบบรอบเดินเบารอบสูง อย่า งง นะครับ ถ้าหากกรณีนี้เป็นจริง เป็นว่าการสตาร์ทเครื่องยนต์ในครั้งแรกเมื่อเครื่องร้อน ทำให้อากาศไหลผ่านช่องอากาศได้น้อย แทนที่จะมากเหมือนเครื่องเย็น ก็เลยทำให้รอบเครื่องยนต์ต่ำ
บางท่านอาจจะมีคำถามว่าแล้วรถบางคันที่เป็นรุ่นเดียวกันทำไมไม่เป็นล่ะครับ อยากจะบอกว่านี้เป็นแนวทางที่นำมาพิจารณา ว่าตามหลักการแล้วมันเป็นไปได้ไหม หากกรณีนี้เป็นจริงเพียงส่วนน้อยกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ก็ต้องมาหาข้อยุติ โดยการทดสอบกับเจ้าตัวลิ้นอากาศ ว่าอุณหภูมิของน้ำในหม้อน้ำ ที่อยู่กลางแดดนานๆ จะทำให้ลิ้นที่ปิดเปิดอากาศให้ผ่าน มีช่องอากาศผ่านน้อยลง
จริงหรือไม่ หากผ่านน้อยลงก็แสดงว่าถูกต้อง หากไม่เกิดผลใดๆ ก็หมายความว่าไม่ใช่เหตุผลที่ทำให้รอบเครื่องยนต์ตก
สิ่งที่จะต้องกล่าวถึงในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความร้อน ที่ทำให้เครื่องยนต์มีรอบเดินเบาต่ำ ก็คงจะกล่าวถึงเรื่องของทางฟิสิคส์ ดังที่ผมกล่าวมาแล้วข้างต้นกระทู้ ในเรื่องปริมาณความหนาแน่นของ
ออกซิเจน ในพื้นที่ ที่มีอุณหภูมิสูง และประการสุดท้ายก็จะต้องวัดค่าแว็คคั่มที่ท่อไอดี ว่ามีแรงดูดกี่ปอนด์ ระหว่างที่ติดเครื่องยนต์เมื่อรถจอดกลางแดดนานๆ กับรถที่จอดในที่ร่ม ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร เรื่องของแรงดูด (แว็คคั่ม) หากกลางแดดมีแรงดูดต่ำกว่า ก็แปลว่าใช่ เพราะปริมาณอากาศอ๊อกซิเจน มีปริมาณหนาแน่นน้อย กับพื้นที่ ที่มีอุณหภูมิสูง ทำให้อัตราส่วนผสมระหว่างอากาศและน้ำมัน มีส่วนผสมหนา (ตามมาตรฐาน การสันดาปที่สมบูรณ์ ต้องมีส่วนผสม 14.7/1)
หากอากาศน้อยกว่า(อ๊อกซิเจน) 14.7 ถือว่าน้ำมันมากกว่า ทำให้การจุดระเบิดมีกำลังไม่สมบูรณ์
ต่ำลง ทำให้แรงดูดแว็คคั่มต่ำลงด้วย หากผลออกมาตามนี้จริง ก็แสดงว่ารถที่จอดกลางแดดทำให้ปริมาณออกซิเจนลดลง เป็นผลให้เกิดรอบเครื่องยนต์มีรอบเดินเบาต่ำ
สิ่งที่ผมกล่าวมาทั้งหมด มันเป็นเพียงข้อสันนิฐานไปตามหลักการ ว่าเป็นจริงได้เพียงใด หากยังไม่มีการพิสูจน์ ก็ยังให้ผลสรุปไม่ได้ครับ.
วันที่: 17 Mar 09 - 00:00

 ความคิดเห็นที่: 19 / 24 : 438427
โดย: Dang_p
ขอบคุณมากครับที่ตอบคำถาม มีตัวอื่น ๆ อีกหรือเปล่าครับที่มีผลต่ออุณหภูมิภายนอก ซึ่งไม่เกี่ยวกับความร้อนในหม้อน้ำเนื่องจากผมคิดว่าอุณภูมิในหม้อน้ำไม่น่าจะมีผลแต่ก็จะลอง Test ดูอีกทีครับ
วันที่: 17 Mar 09 - 11:24

 ความคิดเห็นที่: 20 / 24 : 438469
โดย: srithanon
มีครับ ผมยังกล่าวไม่ถึง ก็อย่างที่คุณเข้าใจ ปกติแล้วรถทีมีสภาพเครื่องยนต์ที่ไม่เก่าจนเกินไป ในสภาวะที่พูดมาทั้งหมด ไม่ควรจะมีผล ลองเปรียบเทียบกับรถเพื่อนๆคุณ ที่ใช้รุ่นเดียวกัน เขาจะไม่มีอาการที่คุณบอกมา แต่เมื่อถามผมก็ต้องอ้างอิงเหตุที่ควรจะเป็นไปได้ แต่ก็ไมได้หมายความว่าจะต้องเป็นที่จุดนั้นอย่างเดียว
ก่อนที่จะกล่าวในช่วงต่อไป ขอถามคุณว่า รถของคุณใช้ระบบน้ำมันหรือระบบแก็ส (มิกเซอร์) ผมจะได้ช่วยวิเคราะห์ได้ตรงประเด็น ถ้าหากคุณติดตั้งแก๊สมา ก็คงจะจบได้ง่ายครับ
วันที่: 17 Mar 09 - 13:00

หน้าที่: [1]   2