Close this window

สอบถามไอเดียหน่อยครับ ไม่เกี่ยวกะรถเลย
เรื่องที่จะถามไม่เกี่ยวกับรถ แต่ เป็นการเอาไอเดียการปั่นไฟมาใช้ของระบบไฟรถยนต์มาประยุกต์แบบง่ายๆครับ

ตามหลักการคือ ไดชาร์จ รับการหมุนผ่านสายพาน มาทำให้แม่เหล็กกับขดลวด หมุนตัดกันตามหลักการจนเกิดกระแสไฟขึ้น แล้วผ่านชุดควบคุมที่มีทั้ง ไดโอด และ รีเลย์ ให้ไฟออกมาเป็น กระแสตรง 12 โวล์ท

จากหลักการนี้ ในโรงงานผม ต้องใช้แสงสว่างอยู่จำนวนมโหฬารหลายจุด ทั้ง กลางวันและกลางคืน
ถ้าเราเอาหลักการนี้ โดยใช้ต้นกำลังจาก มอเตอร์ของพัดลม ที่มีอยู่จำนวนมากในพื้นที่ที่ไม่ได้ใช้เครื่องปรับอากาศ มาเป็นจุดต้นกำลัง
เพราะยังไงก็ต้องเปิดพัดลมตลอดเวลาทำงานอยู่แล้ว
แล้วต่อหน้าแปลนโดยติดมูเล่ย์เข้าไป ให้ขับสายพานมาหมุนตัวไดชาร์จ แล้วจากไดชาร์จ ก็ต่อผ่าน ฟิวส์และเข้า แบตเตอรี่ เหมือนในรถยนต์ทุกประการ
ส่วนสายขั้วลบ ก็ลงกราวน์ที่โครง รางไฟ (ดูรูปประกอบ) และต่อเข้าขั้วลบ แบตฯ โดยติด สวิท์ช ไว้ 1 ตัว
ส่วนสายบวก เมนก็มีสวิท์ชอีกตัวไว้กรณีฉุกเฉิน แล้วเดินสายเฉพาะสาย + เข้าไปตาม จุดที่ติดตั้งโคมต่างๆ
ซึ่งโคมนี้ น่าจะใช้แบบที่เป็นหลอด ฟลูออเรสเซ่น ซึ่งเดี๋ยวนี้มีแบบใช้ ไฟ 12 V ตามร้านประดับยนต์ทั่วไปมาจำหน่าย ซึ่งผมคาดว่า
น่าจะเพียงพอสำหรับสงสว่างทางเดินทั่วไป ไม่ใช่แสงส่องสว่างที่จุดทำงาน แต่หากติดตั้งไว้สูงเราก็ใช้โคมไฟหรี่รถยนต์ กับหลอดใส้ธรรมดาก็ได้ (แต่คงจะร้อนพอดู)

ซึ่งในชุดปั่นไฟ 1 ชุด ต้องสามารถใช้งานได้ หลายจุด ถึงน่าจะคุ้ม แต่ยังไม่ได้คำนวน จริงๆจังๆว่า ใช้เวลาเท่าไหร่ จริงจะคุ้มค่ากับต้นทุนที่ไม่เกิน 5000 บาท / 1 ชุด

ข้อดี คือ ในย่านนี้ ไฟฟ้า มักมีปัญหาบ่อยๆ โดยเฉพาะเวลาเริ่มเข้าหน้าฝนใหม่ๆ ไฟดับบ่อยมาก บางที ฝนยังไม่ทันตก แค่ฟ้าร้องก็ใจเสาะ ดับ(แม่ม)ไปครึ่งโซนแล้ว
เมื่อไฟฟ้าดับ ปกติ เราก็มีไฟฉุกเฉินอยู่ตามจุดสำคัญๆหลายจุด แต่มันก็ไม่ทั่วถึงเท่าที่ควร แต่หากใช้ชุดปั่นไฟนี้ ถึงไฟจะดับ พัดลมจะหยุด แต่ แบตเตอรี่จะจ่ายไฟเข้าระบบแทน เช่นเดียวกับในรถยนต์ได้อีกนานพอควร ซึ่งกรณีที่เป็นเวลากลางคืนน่าจะเป็นผลดี

ใครพอมีความรู้เรื่องนี้บ้างครับขอความเห็นหน่อย ว่า มันจะเวิร์คไหมเนี่ย เพราะ ที่แน่ๆ รางไฟที่จะติดตั้งโคมเหล่านั้น จะต่อยึดกับรางไฟทั่วไปที่มีจุดต้อไฟ 220 หรือ 380 โวลท์ ทั่วไปไม่ดีแน่ ไฟรั่วขึ้นมาก็เจ๊งแน่นอนครับ
ต้นทุนอย่างหยาบๆ
- ไดชาร์จ ของเก่า ตัวละไม่เกิน 2500 บาท
- แบตเตอรี่ ใหม่ 75 แอมป์ (ของพานาฯ) 1100 บาท
- สายไฟสำหรับเดินไฟ+ เอาขนาด 2 mm2 เลยระยะ 10 เมตร คงไม่กี่ตังค์
- โคม+หลอด + สวิท์ช ไฟปิด-เปิด ธรรมดา คงไม่กี่ร้อย
เหมารวมว่า ในงบ 5000 บาท ต่อไฟส่องสว่าง 3-4 จุด

..ถามความเห็นว่า.....คุ้มไหมครับ...กับ Project ."Energy Saving" ที่จะช่วยประหยัดพลังงาน
เพราะถ้าเวิร์ค คาดว่ามีจำนวนชุดที่ต้องทำ ถึงเกือบ 30 จุด(เป็นอย่างน้อย)
โดย: ทวีรัฐ   วันที่: 2 May 2006 - 16:20

หน้าที่: 1   [2]

 ความคิดเห็นที่: 21 / 36 : 192635
โดย: กุ้ง01
ที่บริษัทผมเริ่มโปรเจคนี้โดยการควบคุมเวลาเปิดปิดแอร์ โดยมีผู้รับผิดชอบตายตัว
ตามมาด้วยการหาจุดแอร์ลี๊คออกไปด้านนอก เช่น ประตูต่างๆ
ตามติดมาด้วยการลดโหลดความร้อนภายในอาคาร เครื่องจักรต่างๆ ครัวก้อไม่เว้น
สุดท้ายเพิ่มอุณหภูมิฉลี่ยภายในจาก24เป็น27
ท้ายสุดอนุญาตให้น้องๆใส่สายเดี่ยวมาทำงาน(ล้อเล่นครับ)
รายละเอียดลึกๆไม่ค่อยมีเพราะไม่ได้เป็นโปรเจคลีดเดอร์ครับ
แต่ปีนี้ได้รางวัลระดับประเทศจากกระทรวงอุตเชียวนะนั่น
ยังไงจะให้ได้เท่าที่มีข้อมูลแหละครับ
โทรมาก้อได้ครับ 068143027
วันที่: 03 May 06 - 19:07

 ความคิดเห็นที่: 22 / 36 : 192660
โดย: Aneka
ฟันธงไม่เวอร์คครับ พัดลมพังก่อนแน่ๆ
การที่ในรถยนต์ใช้ไดชาร์จก็เพราะไม่มีไฟกระแสสลับเพื่อแปลงเป็นไฟตรงแล้วชาร์จเข้าแบต แต่ในโรงงานมีไฟสลับ ( ไฟบ้านนี่แหละ ) อยู่แล้วทำไมต้องแปลงไปแปลงมา ผมว่าลองแบบนี้ไหม
1. เปลี่ยนหลังคาบางส่วนเป็นแบบใสให้แสงสว่างจากภายนอกมาช่วย
2. ต้องให้พนักงานช่วยปิดไฟที่ไม่จำเป็น
3. ไฟดับใช้ EMG light มาช่วยแต่เปลี่ยนเป็นหลอดประหยัดพลังงาน
4. ไฟโคมของ Fluorescent เปลี่ยนเป็นแบบที่สะท้อนแสงที่ดีหน่อย
5. หรือซื้อ generator เลยปั่นไฟเอาเอง ไม่ต้องตัวใหญ่มากแล้วแต่โหลด แต่เปลืองน้ำมันนะ
วันที่: 03 May 06 - 22:52

 ความคิดเห็นที่: 23 / 36 : 192720
โดย: ทวีรัฐ
อ่ะคับ

โปรเจคที่บริษัท คุณกุ้ง01 น่ะที่บอกมา ที่นี่ผมทำมา2-3ปีแล้วครับ

เหลือแต่ ใส่ สายเดี่ยว กะ จีสตริง+กระโปรงสั้นยังไม่ได้ทำ..(อุ๊ฟ....คิดอะไรออกไปเนี่ย)

คุณ Aneka ครับ ในส่วนอาคารใหม่ ใช้วิธีที่ว่าแล้วครับ โดยยกให้หลังคาสูงขึ้น โปร่งแสงแล้ว
แต่อาคารเก่าทำไม่ได้ครับ เนื่องจากบุฉนวนกันความร้อน และ หุ้มด้วยฟลอยด์ อลูมิเนียม เต็ม ทั้งอาคารครับ เพื่อเก็บความเย็น

ตอนนี้มีการกำหนด การปิด-เปิด แอร์ ไฟแสงสว่าง รวมถึงเครื่องจักร ก็ติด timer switch ไว้แต่ละเครื่องโดยให้ สตาร์ท เหลื่อมเวลากัน ในแต่ละเครื่อง (ลด peak ลง) โดยเริ่มสตาร์ท ตั้งแต่ ตี 5 ครึ่ง จนถึง 7 โมง 50 เป็นเครื่องสุดท้าย

ส่วนโคมสะท้อน ของหลอด นีออน ลองใส่ดูแล้วหลายแบบ ครับ แต่วัดความเข้มของแสงแล้ว แตกต่างกันไม่ถึง 100 ลักซ์ แต่ก็ติดหมดแล้วยกเว้นในออฟฟิศครับ

ส่วน ซื้อ Generator มาปั่นไฟใช้เอง นั่นคงเจ๊งเพราะค่าน้ำมันแน่นอนครับ และ กฟภ คงงอนไปหลายตลบแน่ๆ

ว้าอยากรู้จัง ว่า รถ Hybric เอาพลังงานความร้อนจากเบรค แปลงเป็นไฟฟ้าไปชาร์จ แบตฯได้ยังไง
วันที่: 04 May 06 - 10:04

 ความคิดเห็นที่: 24 / 36 : 192731
โดย: มิตรป้อมพระจุลฯ
รถไฮบริดจ์ ใช้สนามแม่เหล็กหน่วงในการเบรก ที่ดุมล้อ จึงใช้หลักการเยเนเรเตอร์ธรรมดานั่นแหละครับในการประจุไฟแบตฯ (MG SET ในตัวเดียวกันครับ)
วันที่: 04 May 06 - 10:50

 ความคิดเห็นที่: 25 / 36 : 192734
โดย: Blue
ผมเข้ามาได้ไม่นานนี้เอง แต่ ได้รับความรู้จากคุณ มิตรป้อมพระจุลฯ ไปตั้งมากมายหลายเรื่องแล้ว
สุดยอดจริงๆ ขอบคุณมากครับ
วันที่: 04 May 06 - 11:10

 ความคิดเห็นที่: 26 / 36 : 192753
โดย: Jan.Cronos
ป๋าเคยดูโฆษณา "ดีน่า" มั้ย (ถ้าจำไม่ผิดนะ)

นั่นล่ะ พลังงานทดแทนล่ะ สุดยอด
วันที่: 04 May 06 - 12:36

 ความคิดเห็นที่: 27 / 36 : 192757
โดย: ทวีรัฐ
ปั่นจักรยาน ปั่นไฟเนี่ยนะ ใช่ป่าวหว่า

จำไม่ได้

จำได้แม่น แต่ ตบตรงไหนก็ยุบอ่ะ ....เหอ เหอ
วันที่: 04 May 06 - 12:49

 ความคิดเห็นที่: 28 / 36 : 192758
โดย: Jan.Cronos
ไม่ใช่ "ดีน่า" อ่ะ จำไม่ได้ละ
เหมือนจะเป็นโฆษณา นมถั่วเหลืองนี่ล่ะ
วันที่: 04 May 06 - 12:51

 ความคิดเห็นที่: 29 / 36 : 192797
โดย: *~B3S~*
ป๋าครับ ผมว่า โซล่าร์เซลล์ ก็แบบความคิดที่ไม่เลวหรอกนะครับ

ผมว่า ไอ้ชุดล่ะ (ไม่ใช่จุดนะ) 5000 ของป๋าอ่ะ รวม ๆ กันแล้ว น่าจะซื้อ ได้สักแผงนึงแหละ ขนาดสักประมาณเท่ากับพื้นที่จอดรถราว ๆ 1 คัน น่าจะรวบรวมพลังงานลงแบต เก็บไว้ใช้ได้สัก หนึ่งคืนสำหรับไฟทางนะป๋า
วันที่: 04 May 06 - 14:44

 ความคิดเห็นที่: 30 / 36 : 192826
โดย: ทวีรัฐ
โห..ถ้าแค่ 5000 แล้วได้ใหญ่ขนาดนั้นผมว่าไม่แพงนะนั่นน่ะ
วันที่: 04 May 06 - 17:16

 ความคิดเห็นที่: 31 / 36 : 192829
โดย: กุ้ง01
ลดความสูงของดวงโคมลงมาแล้วติดรีแฟรกซ์อย่างว่าน่าจะช่วยได้มาก ที่บอริษัทผมเมื่อก่อนโคมคู่ลดลงหนึ่งเลยครับ ตามทางเดินถอดหลอดออกบ้างตามสมควร
แยกสวิทซ์เปิดปิดเป็นจุดๆตามโซนการใช้งานโดยใช้สวิทซ์กระตุก โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีการเปลี่ยนเลย์เอ้าท์บ่อยๆ
เอาใยหินหุ้มโหลดความร้อนไว้ให้หมด
เอาน้ำรดหลังคาให้ตกมารดสนามหญ้า
ลดความสูงท่อแอร์ลงมา
ลดความสูงเพดานลงมา
ทำเครื่องแบบให้บางลง(อันนี้ไม่ต้องถึงซีทรู)
วันที่: 04 May 06 - 18:04

 ความคิดเห็นที่: 32 / 36 : 192831
โดย: ทวีรัฐ
อืมม... ซีทรู...


หง่ะ ไม่เอาดีกว่าครับ

นึกภาพ คุณป้า ฝ่ายบัญชีใส่ ซีทรู...(กรูจะบ้าตาย)
วันที่: 04 May 06 - 18:31

 ความคิดเห็นที่: 33 / 36 : 192834
โดย: H@NK
ความรู้สึกมันบอกว่าไม่คุ้มอะป๋า คำนวณไม่เป็นอะ ตกฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ ก็ 1 กะ 2
วันที่: 04 May 06 - 18:53

 ความคิดเห็นที่: 34 / 36 : 192889
โดย: เออ....กรูเอง
PM = Preventive maintennance

CM= Corrective maintennance
วันที่: 04 May 06 - 23:18

 ความคิดเห็นที่: 35 / 36 : 193071
โดย: Noi V6
Solar cell ครับ ตอนนี้คุ้มสุด

แล้วก็ กะลัง intrend ด้วย
วันที่: 05 May 06 - 23:14

 ความคิดเห็นที่: 36 / 36 : 530110
โดย: เธœเธนเน‰เธ‚เธฒเธ”เธ›เธฃเธฐเธชเธšเธเธฒเธฃเธ“เนŒ
เน€เธ”เน‡เธเนƒเธซเธกเนˆเธ„เธฃเธฑเธšเธžเธญเธ”เธตเธˆเธฐเธ—เธณเน‚เธ„เธฃเธ‡เธ‡เธฒเธ™เน€เธเธตเนˆเธขเธงเธเธฑเธšเธˆเธฑเธเธฃเธขเธฒเธ™เน„เธŸเธŸเน‰เธฒเนเธ•เนˆเธ•เธดเธ”เธ•เธฃเธ‡เธ—เธตเนˆเน€เธกเธทเนˆเธญเน€เธฃเธฒเธŠเธฒเธฃเนŒเธ—เน„เธŸเนเธฅเน‰เธงเน€เธกเธทเนˆเธญเธ™เธณเธกเธฒเนƒเธŠเน‰เธˆเธ™เน„เธŸเธซเธกเธ”เธ•เน‰เธญเธ‡เธ™เธณเธกเธฒเธŠเธฒเธฃเนŒเธ—เน„เธŸเนƒเธซเธกเนˆ เนเธ•เนˆเธœเธนเน‰เนƒเธซเน‰เธ—เธณเน‚เธ„เธฃเธ‡เธ‡เธฒเธ™เธญเธขเธฒเธเน„เธ”เน‰เนเธšเธšเธŠเธฒเธฃเนŒเธ—เน„เธŸเนƒเธ™เธ•เธฑเธงเน€เธฅเธขเธญเธขเธฒเธเธ—เธฃเธฒเธšเธงเนˆเธฒเน€เธฃเธฒเธ™เธณเน„เธ”เธŠเธฒเธฃเนŒเธ—เธฃเธ–เธขเธ™เธ•เนŒเธกเธฒเนƒเธŠเน‰เน„เธ”เน‰เธซเธฃเธทเธญเน€เธ›เธฅเนˆเธฒเธ„เธฃเธฑเธš
เธ›.เธฅ. เธžเธญเธ”เธตเน„เธกเนˆเธ„เนˆเธญเธขเธกเธตเธ„เธงเธฒเธกเธฃเธนเน‰เธเธฑเธšเน€เธฃเธทเนˆเธญเธ‡เธ™เธตเน‰
วันที่: 16 Dec 09 - 16:28

หน้าที่: 1   [2]