Close this window

เรื่องพัดลมแอร์ที่ต้องการให้ทำงานต่อเนื่อง เมื่อรถติดไฟแดง
เนื่องจากมีผู้ตั้งกระทู้ถามในคลับหนึ่ง ที่ผู้ตั้งกระทู้ต้องการให้พัดลมระบายความร้อนที่ตัวคอยร้อนหรือตัวคอนเด็นเซอร์แอร์ ทำงานต่อเนื่องในจังหวะที่รถติดไฟแดง หรือหยุดอยู่กับที่ ในจังหวะรอบเดินเบา โดยมีเงื่อนไขว่า เมื่อรถเคลื่อนที่ออกตัวไปตามเส้นทาง ระบบการทำงานของพัดลมแอร์จะต้องทำงานในระบบเดิม คือมีการตัดต่อไฟให้พัดลมทำงานตามการตัดต่อของคอมแอร์ หรือในระบบการคอนโทรลของแอร์

ซึ่งผมได้ตอบกระทูรี้ไป และเห็นว่าพอมีประโยชน์บ้างสำหรับเพื่อนๆสมาชิก ก็ขออนุญาตท่านแอดมินหรือเว็ปมาสเตอร์ ลงเนื้อหาในห้องตอบกระทู้นี้ด้วยครับ และขอขอบคุณอย่างสูงมา ณ ที่นี้ด้วย
เนื้อหาตามข่างล่างต่อไปนี้ครับ เนื้อหาอาจจะยืดยาวไป ขออภัยด้วยครับ

เห็นมีความคิดจะทำอะไรเล่นที่เป็นประโยชน์ เรื่องให้พัดลมแอร์ทำงานในจังหวะวไปที่รถอยู่ในตำแหน่งรอบเดินเบา หรือรถจอดอยู่กับที่แล้วเครื่องยนต์ยังทำงานอยู่ แต่อยากถามว่าคำว่าพัดลมแอร์นั้นคุณหมายถึงส่วนไหน พัดลมที่คอยเย็น หรือพัดลมที่ระบายความร้อนที่ตัวคอนเด็นเซอร์แอร์ ตกลงตัวไหนครับ ผมคิดว่าน่าจะเป็นพัดลมระบายความร้อนที่ตัวคอยร้อนหรือคอนเด็นเซอร์ เพราะที่คอยเย็นพัดลมก็ทำงานตลอดอยู่แล้ว ไม่ว่าคอมเพรชเซอร์จะตัดหรือไม่ตัด

หากว่าใช่ ที่จะให้พัดลมระบายความร้อนที่ตัวคอนเด็นเซอร์แอร์ทำงานตลอด และในระบบไฟที่จ่ายให้คอมเพรชเซอร์ทำงานตามปกติ ตามอุณหภูมิความเย็นของแอร์ที่ตั้งไว้ ก็เป็นการออกแบบง่ายๆที่ไม่มีอะไรที่จะต้องพึ่งวงจรอีเลคโทรนิคส์ เข้ามาคอนโทรลให้ยุ่งยากสำหรับเจ้าของรถทั่วๆไป
เพียงแค่ใช้สวิชท์และตัวไดโอด สองตัวที่ให้มันทำงาน

หลักการก็มีว่า ให้หาสวิชท์ แบบเดียวกับสวิชท์ไฟเบรค ในตำแหน่งที่กดก็ทำให้สวิชท์ต่อสะพานไฟ หลักการเดียวการเดียวกับสวิชท์ไฟเบรค แต่เราจะไม่ใช่สวิชท์ของไฟเบรค ให้ไปซื้อสวชท์แบบกดติดปล่อยดับ ที่ตามร้านบ้านหม้อ เอาแบบทนกระแสไฟได้สัก 3-5 แอมป์ ( DC switch ) จากนั้นให้นำสวิชท์ตัวนี้ไปติดตั้งที่ วงล้อสายคันเร่งที่ตัวเรือนปีกผีเสื้อ ที่มีบ่าโลหะมายันที่สกรูปรับแกนลิ้นปีกผีเสื้อ เพื่อตั้งรอบเครื่องยนต์ ในตำแหน่งที่ลิ้นปีกผีเสื้อปิด เมื่อรถอยู่ในตำแหน่งรอบเดอนเบา หรือจะให้ช่างเชื่อมแก็สเขาเอาแผ่นเล็กดัดพับเป็นรูปตัว L พอที่จะมีแผ่นเหล็กบางเล็กๆ สำหรับกดกระเดื่องสวิชท์ ให้ดันแกนสวิชท์ลงไป เพื่อให้หน้าคอนแท็คในตัวสวิชท์ต่อกัน เมื่อวงล้อกลับมาที่ตำแหน่งลิ้นปีกผีเสื้อปิด(ตำแหน่งเดียวกันกับที่บ่าของวงล้อสายคันเร่งแตะกับหัวสกรูปรับเร่งรอบเครื่องยนต์

ดังนั้นเวลาเชื่อมแผ่นเหล็กบางๆที่ว่านี้ เราไม่จำเป็นต้องเชื่อมต่อจากแขนบ่าที่สัมผัสกับสกรูปรับคันเร่งที่วงล้อที่กล่าว สามารถเลือกเอาตรงไหนก็ได้ ที่สามารถวางตำแหน่งยึดตัวสวิชท์กับโลหะใกล้ๆที่พอจะยึดได้ เมื่อติดตั้งได้แล้ว ให้ต่อสายไฟ ที่ตัวสวิชท์ ที่มีจุดเชื่อมสายไฟออกมาสองขา ให้สายไฟเส้นหนึ่งไปต่อเข้ากับสายไฟที่ตัดออกทางไปเข้าพัดลมคอนเด็นเซอร์แอร์ (โดยตัดสายไฟที่เข้าพัดลมแอร์ออกเป็นสองท่อน ) และสายไฟที่ตัวสวิชท์ที่เหลืออีกเส้น หนึ่งให้ต่อเข้ากับไฟบวกจากสวิชท์ ON ผ่านฟิวส์สัก 5 แอมป์


ขั้นตินต่อไปก็คือเอาสายไฟพัดลมแอร์ที่ตัดออก ที่ยังไม่ได้ต่อไปเข้าที่ตัวสวิชท์ ให้หาไดโอดเร็คติไฟร์ ขนาด 10 แอมป์ 50 V มาต่อ โดยให้สายไฟ
เส้นที่เหลือต่อบัดกรีเข้ากัยขั่ว แอนโหนดหรือเพลท (ขั่ว A /P) ส่านทางขั่วแคโธด ( K ) ให้หาสายไฟบัดกรีต่อไปเข้าที่ตรงจุดต่อสายไฟที่ขาสวิชท์ด้านที่มีสายไฟต่อไปที่ตัวพัดลม อ่านแล้วอาจจะเง็ง เดี๋ยวมีวงจรประกอบให้ง่ายๆ

เมื่อต่อวงจรเส็จตามที่กล่าว การทำงานของมันจะเป็นตามนี้
ในขณะที่รถอยู่ในตำแหน่งรอบเดินเบาหรือจอดอยู่กับที่ ทำให้วงล้อสายคันเร่งมาอยู่ในตำแหน่งรอบเดินเบาลิ้นปีกผีเสื้อปิด ก็จะมีบ่าโลหะที่เชื่อมมากดสวิชท์ ให้หน้าคอนแท็คต่อไฟบวกจากสวิชท์ ON ผ่านสวิชท์ไปเข้าสายไฟที่ต่อไปที่พัดลมคอนเด็นเซอร์แอร์ทำงาน ในขณะที่มีไฟผ่านหน้าคอนแท็คไปที่พัดลม ไฟที่ผ่านสวิชท์ ON จะไม่ไหลย้อนเข้าไปเข้าที่สายไฟที่ต่อกับตัวไดโอด ไปเข้าระบบของเดิม เพราะมีขั่วแคโธด (K ) ไม่ยอมให้กระแสไหลผ่าน เนื่องจากคุณสมบัมบัติของตัวไดโอด ยอมให้กระแสไฟผ่านได้ทางเดียว คือไฟบวกที่ผ่านจากเพลทไปแคโธดเท่านั้น หากเอาไฟบวกผ่านทางด้านแคโธด จะไม่มีกระแสไหลผ่านได้ ดังนั้นมันก็จะมีกระแสไฟบวกวิ่งไปที่พัดลมโดยตรง พัดลมก็ทำงาน

ในระหว่างนั้นสายไฟจากชุดคอนโทรลจากระบบแอร์ ที่เราตัดมาต่อทางเข้าขั่วเพลทหรือแอนโหนด ก็ยังทำงานตามปกติ ที่มีการตัดต่อตามระบบแอร์ของเดิม ถามว่าเมื่อมันมีไฟมาพร้อมกันในจังหวะที่สวิช?ต่อไฟบวกจากแบ็ต ให้พัดลมทำงานเช่นกัน ก็ตอบว่าไม่มีปัญหา ประการแรกไฟบวกจากแบ็ตเตอรี่ กับไฟบวกที่มาจากระบบการคอนโทรลของชุดแอร์ มีระดับแรงเคลื่อนที่เท่ากัน ก็คือไฟ 12.5 V เท่ากัน ประการที่สองไฟที่มาจากสวิชท์ ON ผ่านสวิชท์กด มันไม่สามารถผ่านขั่วแคโธดย้อนไปเข้าสายไฟที่ต่อเข้าระบบของเดิม จึงเป็นว่าการทำงานสามารถทำงานได้ทั้งจังหวะที่จอดรถและรถวิ่งออกตัวเคลื่อนที่เมื่อเหยียบคันเร่ง ก็เป็นการออกแบบง่ายๆไม่ต้องไปออกแบบวงจรอีเลคโทรนิคส์อะไร แต่ถ้าอยากจะเอาแบบไฮเท็คหน่อย มีวงจรควบคุมการทำงาน ที่มีวงจรพวกโลจิกไอซีเข้ามาเกี่วข้องก็สนุกดี สามารถคอนโทรลได้ตามต้องการ จะเอาแบ Frequency to voltage ก็ได้
รูปการต่อวงจรพัดลมคอยร้อนแอร์
โดย: srithanon   วันที่: 24 Mar 2013 - 12:04


 ความคิดเห็นที่: 1 / 10 : 771836
โดย: srithanon
รูปของการต่อวงจรที่ใช้งาน
วันที่: 24 Mar 13 - 12:05

 ความคิดเห็นที่: 2 / 10 : 771838
โดย: SpyTT
เยี่ยมเลยครับ เดียงไปลองก่อนเลย
วันที่: 24 Mar 13 - 12:09

 ความคิดเห็นที่: 3 / 10 : 771839
โดย: srithanon
ตามรูป เมื่อเราบิดสวิชกุญแจรถมาที่ต่ำแหน่ง ON หรือบิดสวิชท์ไปต่ำแหน่งสต่าร์ทเมื่อเครื่องยนต์ติด สวิชท์จะถูกผลักด้วยแรงสปริงให้กลับมาอยู่ที่ตำแหน่ง ON ที่ตำแหน่งนี้จะมีไฟไปเลี้ยงวงจรต่างๆในขณะที่เคื่องยนต์ทำงาน ดังนั้นเท่ากับว่ามีไฟป้อนให้กับสวิชท์ ที่ติดตั้งที่ตัววงล้อลิ้นปีกผีเสื้อ เมื่อเครื่องยนต์ติด พัดลมก็จะทำงานทันที่ เพราะว่าที่วงล้อลิ้นปีกผีเสื้อจะถูกแรงกดจากสปริงดันแกนลิ้นปีกผีเสื้อ ให้กดสวิชท์ต่อไฟไปให้พัดลมทันที่เช่นกัน
เพราะที่ตัวสวิชท์จะทำงานเมื่อลิ้นปีกผีเสื้อปิด และจะไม่ต่อไฟไปให้พัดลมแอร์ เมื่อเราเหยียบคันเร่งให้รถเคลื่อนที่วิ่งไปตามถนน ลิ้นปีกผีเสื้อจะถูกแรงดึงจากสายคันเร่งรถให้เปิดลิ้นปีกผีเสื้อ ทำให้วงล้อเคลื่อนตัวไม่กดสวิชท์ ก็ไม่มีไฟผ่านสวิชท์ไปที่พัดลม ในช่วงที่หน้าคอนแท็คสวิชท์ไม่ต่อไฟนี้ จะมีไฟของสายไฟเส้นเดิมที่ผ่านระบบแอร์จ่ายให้กับพัดลมแอร์ตามปกติ พัดลมก็จะทำงานตามระบบแอร์ทำงานเช่นเดิม และเมื่อใดที่ถอนคันเร่ง(ลิ้นปีกผีเสื้อปิด)ก็จะมีไฟจ่ายตรงไปให้พัดลมทำงานทันที่

และเมื่อดับเครื่องยนต์ สวท์กุญแจมาที่ตำแหน่ง OFF ก็ไม่มีไฟต่อไปที่สวิชท์ที่วงล้อตัวเรือนปีกผีเสื้อ
พัดลมแอร์ก็ไม่ทำงาน คือเมื่อดับเครื่องยนต์

การทำงานในวัฎจักรรูปแบบนี้ ก็เป็นแบบธรรมดาง่ายๆในการเพิ่มเติมอุปกรณ์เพียงสามจุด คือ เชื่อมแผ่นเหล็กชิ้นบางเล็กๆรูปตัว L เพื่อทำบ่ากดสวิชท์ติดกับวงล้อสายคันเร่ง ตัวสวิชท์กด แบบกดติดปล่อยดับ ทนกระแสได้ 5 แอมป์(ขึ้นอยู่กับว่าพัดลมแอร์ที่ใช้กับรถรุ่นนั้นๆกินกระแสได้กี่แอมป์) และตัวไดโอด 10 A/50V ที่ป้องกันไม่ให้ไฟที่ผ่านหน้าสวิชท์ ตรงบ่ากดของวงล้อ ไหลผ่านย้อนเข้าสายไฟที่ต่อไปเข้าในระ บบแอร์ แต่ไฟในระบบแอร์ที่จ่ายออกมาที่สายไฟเดิมและเข้าตัวไดโอด สามารถไหลผ่านเข้าตัวพัดลมได้เหมือนเดิม

การทำงานของพัดลมจะมีการทำงานสองจังหวะ คือในจังหวะที่ถอนคันเร่งและหยุดรถในขณะติดไฟแดง หรือหยุดในสภาพการจราจรติดขัด พัดลมแอร์ก็จะทำงานตลอดเวลา ที่ยังไม่ได้เหยียบคันเร่ง
การทำงานในจังหวะที่สอง ก็คือเมื่อเหยียบคันเร่งรถเคลื่อนที่ไปตามเส้นทาง พัดลมจะทำงานในสภาวะปกติของระบบเดิมคือ พัดลมทำงานตามระบบแอร์ จะหมุนเมื่อคอมแอร์ทำงาน และหยุดหมุนเมื่อคอมแอร์ตัดหรือไม่ทำงาน พัดลมก็จะมีโอกาสได้พักการทำงาน แล้วแต่ระบบของแอร์ที่ถูกออกแบบให้ใช้ อาจจะไม่ทำงานตามการตัดต่อของคอมแอร์ก็ได้ ก็เป็นระบบเสริมที่ช่วยให้ระบบความเย็นของแอร์ในห้องโดยสาร มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น

สำหรับการที่จะออกแบบให้เป็นวงจรระบบอีเลคโทรนิคส์เข้ามาคอนโทรลระบบ ตามที่ท่านเจ้าของกระทู้ต้องการนั้น ก็สามารถทำได้ สามารถออกแบบวงจรที่เป็นแบบโลจิก และระบบการใช้วงจรของอ๊อฟแอมป์เข้ามาประกอบในวงจร โดยสร้างเงื่อนไขทางด้านุอินพุทของวงจร ที่เอาค่าพัลส์ของตัว speed sensor ความเร็วรถเป็นตัวกำหนด ให้วงจรทำงาน ภายใต้เงื่อนไขที่ว่า เมื่อรถหยุดนิ่งอยู่กับที่ ในขณะที่อยู่ในรอบเดินเบา หรือจอดติดไฟแดง หรือหยุดเพราะจราจรติดขัด ทำให้ speed sensor ไม่ส่งสัญญาณพัลส์ออกมา เราก็จะได้ค่าสัญญาณที่ออกมาเท่ากับ O ในทาง digital เท่ากับ OFF เราก็เอาค่าที่ได้นี้เป็นตัวป้อนอินพุทให้กับตัว โลจิก NAN GATE ที่มีอินพุนสองสถานะคอมแพผลต่างของอินพุทที่ป้อนเข้ามา
เพื่อให้เอ้าพุทออกมาเป็นค่า 1 หรือ 0 ตามที่เราต้องการออกแบบ เพื่อนำไปเป็นค่าอินพุทให้กับวงจรขับกระแสของตัว switching transistor ขับกระแสให้รัเรย์ทำงานต่อไฟไปจ่ายให้กับพัดลอม เมื่อรถหยุดนิ่งกับที่

อีกวงจรหนึ่งที่สามารถใช้วงจรของตัวไอซีออ๊ฟแอมป์ เข้ามาประกอบการทำงาน โดยสร้างเงื่อนไขทางอินพุททั้งสองของอ๊อฟแอมป์ ให้มีการเปียบเทียบสัญญาณทางบวก มาจาก speed sensor และทางด้านสัญญาณลบของอินพุทอ๊อฟแอมป์ เอามาจาก โวลเต็จของตัว TPS sensor ที่อยู่ในตำแหน่งลิ้นปีกผีเสื้อปิด(ในรอบเดินเบา) เมื่อสร้างเงื่อนไขดังนี้ เราจะได้ค่าโวลเต็จทางเอ้าพุทของอ๊อฟแอมป์ มีค่าเท่ากับ 0 นำผลค่าที่ได้นี้ไปเข้าวงจรไปเข้าวงจรอินเวิทของโลจิกให้มีค่าเท่ากับ 1 ป้อนให้กับวงจรไบอัสของ switching transistor ให้รีเรย์ทำงานต่อไฟให้กับพัดลมแอร์



หรืออาจจะใช้สัญญาณพัลส์ความเร็วรอบของเครื่องยนต์ เป็นตัวกำหนดให้วงจรอีเลคโทรนิคส์ Frequency to voltage ทำงานส่งค่าโวลเต็จ ไปเป็นค่าไบอัสของวงจรขับกระแสของทรานซิสเตอร์ ให้ตัวรีเรย์ต่อไฟไปจ่ายให้พัดลมแอร์ โดยมีการกำหนดเงื่อนไขว่า เมื่อรอบเครื่องยนต์อยู่ที่ต่ำแหน่งรอบเดินเบาที่ 750-800 รอบ ให้แปลงสัญญาณพัลส์ความถี่นี้ออกมาเป็นโวลเต็จ ซึ่งหลักการนี้ก็มีใช้กับกล่อง Auto switch ในระบบแก้ส ที่ใช้ สลับน้ำมันเป็นแก็ส ตามความเร็วรอบเครื่องยนต์ที่กำหนด ก็สามารถนำมาประยุคใช้งานได้เหมือนกัน
ซึ่งนอกจากที่กล่าวมาข้างบนแล้ว ก็ยังมีอีกหลายรูปแบบที่จะสร้างในระบบวงจรีเลคโทรนิคส์ จะเอาแบบซับซ้อนในเงื่อนไข หรือจะเอาแบบพื้นๆ ก็สร้างออกแบบได้ครับ…………..srithanon
วันที่: 24 Mar 13 - 12:09

 ความคิดเห็นที่: 4 / 10 : 771841
โดย: srithanon
คุณ SpyTT สิงห์ปืนไวจริงๆ ลองเลยครับมีปัญหาถามมา ด้วยความยินดีที่จะแนะนำให้ครับ.........srithanon
วันที่: 24 Mar 13 - 12:16

 ความคิดเห็นที่: 5 / 10 : 771917
โดย: B4LL
ยาวมากๆขอเวลาอ่านก่อนนะครับแฮะๆ

ว่าแต่รถผมเนี่ย protege 2.0 พัดลมหม้อน้ำไม่เคยหมุนเลยครับ
(หม้อน้ำอลูมิเนียม)แล้วความร้อนก็ไม่เคยเกินครึ่งสักทีครับเลยไม้รู้
ว่ามันเสียหรือเปล่าเพราะจะวิ่งไกลแค่ไหนความร้อนก็อยู่ไม่เกินครึ่ง
มีเกินครั้งเดียวตอนกินดีเซลเข้าไป....เลยอยากถามว่าพอจะมีวิธีเช็ค
พัดลมไหมครับนอกจากต่อตรง ???
วันที่: 24 Mar 13 - 22:59

 ความคิดเห็นที่: 6 / 10 : 771977
โดย: SpyTT
ว่าจะไปทำกับคันเล็กนะครับ โตโยต้า เครื่อง 4E แอร์เย็นจริงครับ
แต่เวลา รถติดๆรู็สึกได้ว่า คอลย์ร้อนระบายความร้อนออกไม่ทัน แอร์มีการตัดต่อ
จะเอาไปช่วยให้หลังจากแอร์ตัด อาจจะให้ พัดลมทำงานอีกพักหนึ่งครับ
กำลังคิดอยู่เหมื่อนกัน ตอนแรกว่าจะเอาแบบเทอร์โมมิเตอร์สวิทซ์ แบบที่อยู่ในกาน้ำร้อนเลยครับ
แต่ก็ไม่รู่จะไปหาช่วงอุณหภูมืที่ต้องการจากใหน ติดคลอย์ร้อนตรงใหนดี

เดียวขอไปประยุกต์อีกที่ครับ อาจจะเอาสองไอเดีย มารวมกัน
วันที่: 25 Mar 13 - 11:19

 ความคิดเห็นที่: 7 / 10 : 772076
โดย: srithanon
การเทสพัดลมหม้อน้ำ นอกจากการต่อตรงเพื่อตรวจสอบว่าพัดลมทำงานตามปกติหรือไม่เท่านั้น แต่การที่จะเทสระบบคอนโทรลพัดลมด้วยระบบเทอโมสวิชท์ เมื่อตรวจสอบแบบการต่อตรงแล้วว่าทำงานปกติ
ก็ต้องตรวจเทอร์ดฒสวิชท์ด้วยว่ามันทำงานต่อกระแสไฟจากพัดลมลงกราวด์ ตามอุณหภูมิที่ตัวเทอร์โมสวชท์หรือไม่ ง่ายๆก็ถอดเทอร์โมสวิชท์ มาใส่น้ำร้อนที่กำลังเดือด แล้ววัดที่สายไฟกับกราวด์ว่ามันต่อถึงกันหรือไม่ ปกติความร้อนที่น้ำเดือด จะประมาณ 85-90 องศา หากให้ละเอียด ก็ดูค่าที่ตัวเทอรโมสวิชท์ ว่ามันทำงานกี่องศา เวลาต้มน้ำก็เอาเทอร์ไมมิเตอร์วัดว่ากี่องศาที่น้ำในหม้อน้ำมีอุณหภูมิที่กำหนดที่ตัวเทอร์โมสวิชท์ เคร่าๆแค่นี้ก่อนครับ...........srithanon
วันที่: 25 Mar 13 - 17:06

 ความคิดเห็นที่: 8 / 10 : 772110
โดย: srithanon
กับคำถามคุณ B4LL อยากทราบว่าพัดลมหม้อน้ำของ Protege 2000 ต่อมาจากตรงไหน ขอตอบตรงนี้ก่อนว่าขอดูวงจร circuit diagram ก่อนว่าเขาต่อตรงส่วนไหน ปกติแล้วระบบพัดลมหม้อน้ำในเครื่องยนต์บางยี่ห้อ จะเอาไฟมาจากกล่อง ECU จ่ายให้กับตัว Relay ของพัดลม ให้ทำหน้าที่ตัดต่อไฟกระแสสูง (3-5 A) ให้กับตัวพัดลมหม้อน้ำ ดังนั้นการตรวจเช็คอาจจะต้องไล่สายไฟจากพัดลมไปที่ตัวรีเรย์ ว่าตัวรีเรย์อยู่ตรงไหน แล้วตรวจตัวรีเรย์ว่าทำงานปกติหรือไม่ โดยป้อนไฟ 12V แทนไฟที่มาจากกล่อง ECU หากตัวรีเรย์ไม่ทำงาน ก็ไม่มีไฟจ่ายให้กับพัดลม

หากตรวจที่ตัวรีเรย์แล้วทำงานต่อหน้าคอนแท็คไฟ ส่วนที่เสียก็จะต้องตรวจสัญญาณไฟที่มาจากทรานซิสเตอร์ ที่ทำหน้าที่ขยายกระแสไฟ ในแผ่นเมนบอร์ดของ ECU ว่ามันเสียหรือเปล่า หรือเสียที่ซ็นเซอร์อุณหภูมิของน้ำ หรือในชุดคอนโทรลเลอร์ของ ECU ก็เป็นงานช้าง หากไม่มีเครื่องมือระบบอีเลคโทรนิคส์เข้ามาช่วยตรวจวิเคราะห์ ก็ลำบากในการตรวจซ่อม
มันก็แปลกที่บอกว่าพัดลมหม้อน้ำไม่ทำงาน แต่ความร้อนเครื่องยนต์ปกติ อาจเป็นไปได้ว่าอาศัยพัดลมของแอร์ช่วยระบายความร้อน หากมีพัดลมแอร์อยู่ด้านหน้า ที่มีคอยร้อนแอร์วางขนานซ้อนกัน เมื่อพัดลมแอร์ทำงาน ก็มีพลพลอยไปที่ตัวหม้อน้ำเครื่องยนต์ แต่ถ้าหากแยกวางซ้ายขวาที่กระจังหน้ารถ
ก็เป็นเรื่องที่แปลก ที่ความร้อนในระบบระบายความร้อนของหม้อน้ำปกติ ทั้งๆที่พัดลมไม่ทำงาน

หากมีเวลาจะหาข้อมูลมาบอกให้ครับว่าพัดลมหม้อน้ำของ protege ต่ออย่างไร หรือมีท่านสมาชิกท่านอื่นทราบก็ช้วยเข้ามาแนะนำต่อให้ท่านเจ้าของกระทูด้วย.......srithanon
วันที่: 25 Mar 13 - 21:18

 ความคิดเห็นที่: 9 / 10 : 772125
โดย: เป็ด 1.8
เยี่ยมเลยครับ เหมาะกับหน้าร้อนมากๆ ตับจะแล่บแล้ว
วันที่: 25 Mar 13 - 22:36

 ความคิดเห็นที่: 10 / 10 : 772847
โดย: Imagination@LANTiS
วันที่: 30 Mar 13 - 01:07