Close this window

วิธีต่อสายไฟพัดลมหม้อน้ำ 2 จังหวะ
พัดลมหม้อน้ำตาตี่เดิมทำงานจังหวะเดียว มีสายไฟเดินมา 2 เส้น ถ้าเปลี่ยนเอาของ v6 ให้ทำงานสองจังหวะ มีสายไฟ4เส้น สองเส้นต่อของเดิม อีก 2 เส้นที่เหลือต่อกับอะไรครับ เอาง่ายๆ แบบพ่วงมาจากพัดลมแอร์เลยได้รึป่าวครับ คิดง่่ยๆแค่ว่าพอพัดลมแอร์ทำงานก็มีไฟไปที่อิ2 เส้นนี้ด้วยได้ป่าวครับ หรือที่ถูกควรต่อจากจึดไหนครับ
โดย: เอก   วันที่: 22 Feb 2012 - 23:00

หน้าที่: [1]   2

 ความคิดเห็นที่: 1 / 23 : 694512
โดย: puri99
ของผมก็ 4 เส้นครับ แต่ช่างต่อมาสองอยากรู้วิธีต่อเหมือนกันครับ
วันที่: 22 Feb 12 - 23:29

 ความคิดเห็นที่: 2 / 23 : 694528
โดย: maz/chiangmai
ผมก็อยากเปรียนเป็นเหมือนกันครับ ทุกวันนี้ก็ปวดหัวกับความร้อนหมือนกันครับ จะเอาของใหม่ลงครับ ยังไม่รู้เลยว่าตัวไหนแอร์ ตัวไหนพัดลม หาความรู้หน่อยครับ
วันที่: 23 Feb 12 - 08:05

 ความคิดเห็นที่: 3 / 23 : 694542
โดย: Yut13
สองจังหวะถ้าเอาแบบโครโนสมีสองวงจรสองรีเลย์
วันที่: 23 Feb 12 - 09:42

 ความคิดเห็นที่: 4 / 23 : 694544
โดย: เอก
ก่อนนี้เคยเล่นรวมสายไปเลยแหละ ล่อหมุนแรงจังหวะเดียวไปเลย ซึ่งคิดว่าคงไม่ดีนัก เลยเปลี่ยนกลับมาใช้ของเดิม ตอนนี้เสียงมอเตอร์เริ่มแปลกๆ เหมือนมันอยากจะพักซะแล้ว

เห็นหลายๆ คนเปลี่ยนมาใช้สองจังหวะของ V6 เลยอยากได้คำแนะนำว่าต้องเดินสายอะไรใหม่ยังไงบ้างครับผม
วันที่: 23 Feb 12 - 10:06

 ความคิดเห็นที่: 5 / 23 : 694546
โดย: teespeed
เข้ไปที่ร้านไดนาโมเลยครับช่างทำได้
วันที่: 23 Feb 12 - 10:35

 ความคิดเห็นที่: 6 / 23 : 694550
โดย: bangpakod
พอถอดแยกปลั๊กออก ของเดิม มัน มีสองเส้น ที่มาจากรถ ทีนี้ ไอ้ตัวที่เอามาใหม่มันเป็นสี่สาย คล้ายๆว่า จะมีกราร์วอยู่สองสาย บวกอยู่สองสาย(ลองเทสดูครับบวกกับลบมันจะอยู่คู่กันจะมีจังหวะแรงกับเบาลลองเทสดู) ผมตัดไอ้ปลั๊กที่มากับรถออกแล้วปลอกสายไฟใหม่ แล้วเอาแจ๊คตัวผู้มาใส่ปลายสาย

พอได้คู่ปล๊กที่เป็นจังหวะแรงแล้ว ก็จับไอ้แจ๊คตัวสายที่ติดมากับรถสองเส้นนั่นแหละมาจั๊มใส่ เสร็จแล้วประกอบเข้ากับหม้อน้ำ

เสร็จแล้วเทสว่าใช้งานได้หรือไม่โดยการ สตาร์ทรถแล้วถอดปล๊ก เทอร์สตัทออกดูว่า พัดลมทำงานหรือไม่(สวิทช์เทอร์โมสตัท อยู่ตรงฝาครอบวาล์วน้ำถอดปลั๊กสวิทช์ออกพัดลมหม้อน้ำจะทำงานทันที)

หรือสตาร์ทเครื่องแล้วรอจนกว่าวาล์วน้ำจะเปิด และพัดลมที่เราไปใส่จะทำงาน

ไม่แน่ใจว่าถ้าเปิดแอร์เลยตอนสาร์ทพัดลมทำงานทั้งสองตัว จะเทสได้เหมือนกันรึเปล่า

ผมต่อแบบลูกทุ่งครับ ใช้มาแล้ว ตั้งแต่เปลี่ยนมอเตอร์95000โล ก็ยังไม่มีปัญหาอะไร
วันที่: 23 Feb 12 - 11:05

 ความคิดเห็นที่: 7 / 23 : 694564
โดย: เอก
อย่างของคุณ bangpakod นี่ก็คือให้มันทำที่จังหวะแรงอย่างเดียวเลยถูกมั๊ยครับ ถ้าคุณ bangpakod ลูกทุ่ง ผมก็ต่อแบบบ้านนอกอะดิ คือรวมสาย 4-->2 เพื่อเข้าปลั๊กเดิมของรถ แล้วพัดลมก็ทำงานจังหวะแรงอย่างเดียวเลย ... พอกันนิ
วันที่: 23 Feb 12 - 13:00

 ความคิดเห็นที่: 8 / 23 : 694609
โดย: bangpakod
ตัวแรงมันจะเป็นสายสีเขียว กับเส้นสายสีเหลือง
วันที่: 23 Feb 12 - 20:26

 ความคิดเห็นที่: 9 / 23 : 694640
โดย: เอก
ขอบคุณครับ ยังไงเสาร์นี้ว่างจะลองดู

ว่าจะลองต่อจังหวะ 1 กับสายเดิม ส่วนจังหวะ 2 พ่วงจจากพัดลมแอร์ ฟิวส์พัดลมแอร์จะขาดมั๊ขาดมั๊ยเนี่ย ควรใส่รีเลย์ให้มันซักตัวดีกว่ามั๊ย
วันที่: 23 Feb 12 - 22:44

 ความคิดเห็นที่: 10 / 23 : 694643
โดย: ทวีรัฐ
สมควรอย่างยิ่งครับ ที่ควรมีฟิวส์ไว้
แต่ถ้าพ่วงจากพัดลมแอร์ ผมกังวลลึกๆว่า สายไฟของพัดลมแอร์เดิมเส้นมันเล็กไปหรือเปล่า
นอกจากจะร้อน แล้ว ยังจะทำให้รอบพัดลมแอร์ตกเอาด้วยนะครับ

ถ้าจะพ่วงแบบนั้น ความเห็นส่วนตัวผม ควรเปลี่ยนสายไฟของพัดลมแอร์ และเส้นที่จะต่อพ่วงให้มีขนาดทองแดงข้างใน ใหญ่ขึ้นครับ
วันที่: 23 Feb 12 - 23:07

 ความคิดเห็นที่: 11 / 23 : 694657
โดย: เอก
ขอบคุณครับป๋าวี เดี๋ยวค่อยๆหาข้อมูลก่อนดีก่า แทนที่จะดีเดี๋ยวงานจะเข้าซะ

ตอนนี้อ่่นไปอ่านมาเริ่มงงกับหลักการทำงานของมัน ไม่แน่ใจว่ามันจะทำงานแรง หรือเบาตอนไหนกันแน่ ...
วันที่: 24 Feb 12 - 07:38

 ความคิดเห็นที่: 12 / 23 : 694709
โดย: เอก
สรุปผมเข้าใจผิดมาตลอดเลยรึป่าวครับ
ตามที่สายไฟพัดลมมี 4 เส้น ดิน 2 ไฟ 2 ผมคิดว่าถ้ามีไฟมาเส้นเดียว ไม่ว่าจะมาจากเส้นไหนมันก็จะทำงานในจังหวะแรก ถ้ามีไฟมาครบสองเส้นพัดลมถึงจะทำงานจังหวะสอง
คือพัดลมจะทำงานจังหวะแรกตอนเครื่องร้อนอุณภูมิถึงตามที่ Temp. สั่ง หรือตอนที่เปิดแอร์ แต่อุณภูมิยังไม่ถึง เพราะมีไฟส่งมาแค่เส้นเดียว และจะทำจังหวะสอง (แรง) ก็ต่อเมื่อเครื่องร้อน พร้อมกับตอนที่แอร์ทำงาน ทำให้มีไฟส่งไปพัดลมพร้อมกันทั้งสองเส้น เมื่อแอร์ตัด อุณภมิยังไม่ลง มันก็ทำงานต่อในจังหวะแรก หรืออุณภูมิลงแล้ว แต่แอร์ยังไม่ตัดมันก็จะทำต่อในจังหวะแรก ถ้าอุณภูมิลง พร้อมกับแอร์ตัด มันก็จะหยุดการทำงาน

พอหาๆ อ่านดู พัดลมหม้อน้ำจะทำงานจังหวะเบา เมื่อมันทำงานพร้อมกับพัดลมแอร์ และจะทำงานจังหวะแรง เมื่อแอร์ไม่ทำงาน

... อู้ย ยิ่งอ่านยิ่งงง แฮะ จะต่อไงดีเนี่ยเรา????
วันที่: 24 Feb 12 - 12:48

 ความคิดเห็นที่: 13 / 23 : 694721
โดย: เอก
ไปเจอของคุณ ตั้ง ดนตรีมา Lantis V6 ที่ถูกต้องทำงานตามนี้ใช่ป่าวครับ

http://www.mazdaclub.net/module_view.php?mod=webboard&fn=view&cid=85790&sh=Lantis

... คงไม่มีปัญหาต่อให้ทำงานตามนี้แน่ๆ เลยเรา
วันที่: 24 Feb 12 - 13:40

 ความคิดเห็นที่: 14 / 23 : 694722
โดย: เอก
ก่อนอื่น คงต้องไปเทสก่อนว่าพัดลมมันทำงานแต่ละจังหวะ ยังไง

เมื่อไฟมาพร้อมกันครบทั้งสองคู่ หรือ มันแยกเส้นกันระหว่างจังหวะแรกคู่นึง จังหวะสองคู่นึง
วันที่: 24 Feb 12 - 13:43

 ความคิดเห็นที่: 15 / 23 : 694753
โดย: Yut13
ตอนที่ลงไปซ่อมโครโนสคันแดงถึงได้รู้ว่าเขาแยกวงจรรีเลย์สองตัว
วันที่: 24 Feb 12 - 16:03

 ความคิดเห็นที่: 16 / 23 : 694755
โดย: srithanon
เรื่อง cooling Fan Motor สองสเต็ป
วันที่: 24 Feb 12 - 16:09

 ความคิดเห็นที่: 17 / 23 : 694762
โดย: srithanon
Cooling Fan Motor สองสเตจ็ป

ตามรูปวงจรที่ส่งมา ที่ตัว cooling Fan motor จะมีสายอยู่ 4 เส้น และมีรีเรย์ 3 ตัว
เส้นแรกคือ น้ำเงินเหลือง เป็นสเต็ปแรก การหมุนของพัดลม
เส้นที่สอง น้ำเงินดำ เป้นสเต็ปที่สอง การหมุนของพัดลม
เส้นที่สาม สีน้ำเงินแดง เป็นสายกราวด์ของสเต็ปสองของพัดลม
เส้นที่สี่ สีดำ เป็นสายกราวด์ ที่ต่อยึดติดกับกราวด์แชชซิสตัวถังรถ
ข้อสังเกตุ สายเส้นที่สาม คือสีแดงน้ำเงิน เป็นสายกราวด์ ของขดลวด ที่พันในตัวมอเตอร์ ในสเต็ปที่สอง เหตุที่ไม่ต่อกับกราวด์ตัวถังรถเหมือนกับสเต็ปแรก เพราะตัว cooling fan motor เป็น DC motor แบบ Shunt Motor ที่ตัว Pole (แกนเหล็กอ่อน ) จะมีขดลวดพันรอบๆแกน เพื่อสร้างสนามแม่เหล็ก สองชุด คือ ขั่วเหนือและใต้ ดังนั้น(ตามความเข้าใจของผม) ขดลวดที่พันบนแกน core จึงพันกันแบบสองชุดทับกันหรือขนานกัน โดยชุดแรกกำหนดการสร้างสนามแม่เหล็ก ให้พอเหมาะกับความเร็วระดับหนึ่ง และชุดที่สร้าง เป็นการสร้างสนามแม่เหล็กเสริมเพิ่มให้กับแกน core แม่เหล็ก มีอำนาจผลักดันตัวแท่งอเมเจอร์ ให้มีความเร็วเพิ่มขึ้น
เนื่องจากขดลวดในสเต็ปที่สองหากไม่ใช้งานปล่อยกระแสไฟเข้าไปในขดลวด และหากปล่อยทิ้งไว้เฉยๆ โดยไม่มีการต่อสายกราวด์แบบสเต็ปแรกกับตัวถัวรถ ก็จะไม่มีกระแสไฟหรือแรงเคลื่อนโวลเต้จเกิดขึ้นในขดลวดชุดที่สอง แต่เมื่อใดที่ปลายด้านหนึ่งของขดลวดที่สองต่อลงกราวด์ตัวถังรถ จะทำให้เกิดแรงเคลื่อนโวลเต็จขึ้นในชุดขดลวดนั้น โดยอาศัยหลักการที่ว่า เมื่อขดลวดที่พันบนแกนเหล็ก เมื่อถูกสนามแม่เหล็กตัดผ่านขดลวดนั้น มันก็จะเกิ ดแรงเคลื่อนโวลเต็จในสายนั้น
ถามว่าแล้วเอาสนามแม่เหล็กที่ไหนตัดผ่าน ก็สนามแม่เหล็กที่พันบนแกนทุ่นเอมเจอร์ ที่ปล่อยกระแสไฟผ่านแปลงถ่านเข้าไปในขดลวดอเมเจอร์ เพื่อให้เกิดสนามแม่เหล็กในทุ่นอเมเจอร์ ผลักดันและเสริมกับทิศทางเดียวกับสนามแม่เหล็กที่ขั่วแม่เหล็กเหนือและใต้ ที่แกน core
ดังนั้นในวงจรพัดลมหม้อน้ำสองสเต็ป จึงมีสี่สายตามในรูปที่ผมแนบมา และประเด็นที่สำคัญที่สายเส้นที่สามที่เป็นสายกราว ทำไมเขาจึงลู๊ปกราวด์หรือต่อกราวด์ โดยให้ตัวรีเรย์ทำหน้าที่ตัดต่อกราวด์ในจังหวะพัดลมทำงานในสเต็ปที่สอง ก็ตามที่ผมกล่าวมาข้างบน
ดังนั้นในวงจร cooling Fan Motor จึงประกอบไปด้วยตัวรีเรย์ สามชุด
กล่าวคือในจังหวะสเต็ปพัดลมแรก จะมีสายไฟเส้นที่หนึ่ง คือสีน้ำเงินเหลือง จะต่อไฟจากไปบวกผ่าน เทอร์โมสวิชท์มาเข้ามอเตอร์(ตามรูปวงจรที่ส่งมา) ในทางตรงกันข้ามหากเป็นมอเตอร์สเต็ปเดียว โดยมากที่ตัวเทอรฺโมสวิชท์ จะต่อไฟบวกลงกราวด์
ในจังหวะที่สอง หรือสเต็ปที่สอง ไฟที่จะป้อนให้ขดลวดชุดที่สองทำงาน จะได้มาจากเทอร์โมสวิชท์ในระบบหล่อเย็นหรือระบายความร้อนของเครื่องยนต์ ที่มีค่าการทำงานต่อสวิชท์ ที่อุณหภูมิสูงกว่าตามที่กำหนด หรือรถบางรุ่นอาจจะนำเอาไฟบวก ที่ป้อนให้ขดลวดชุดที่สองจาก เทอร์โมสวิชท์ที่ตัวหม้อน้ำระบายความร้อน หรืออื่นๆที่เขาออกแบบ โดยการป้อนไฟให้ขดลวดชุดที่สองนี้ จะมีรีเรย์สองตัว ตัวหนึ่งต่อไฟบวก อีกตัวต่อระบบกราวด์ของขดลวดชุดที่สอง ทำงานพร้อมกัน คือมีไฟเข้า ก็มีการต่อกราวด์ ไม่มีไฟเข้า ก็ไม่ต่อกราวด์ ตามวงจรที่ผมแนบมา
หากมีท่านใดที่ศึกษามาทางไฟฟ้าโดยตรง หากมีส่วนใดที่ผมกล่าวมาไม่ตรงก็ขอช่วยแก้ไขให้ด้วย เพื่อให้เพื่อนๆสมาชิกได้เข้าใจในเนื้อหาที่ถูกต้อง
สำหรับเพื่อนๆสมาชิกท่านใด อยากนำไปดัดแปลงในสเต็ปพัดลมที่สอง ก็ไม่ยากอะไร อาจจะเอาไฟมาจากวงจรที่ควบคุมอุณหภูมิในห้องเครื่องยนต์ หรือจะมีไอเดียของความคิดที่ว่า หากเวลาที่รถติดไฟแดงแล้วทำให้เกจวัดความร้อนเพิ่มขึ้น ก็ให้สเต็ปที่สองของมอเตอร์ทำงาน โดยหาวงจรที่อินเตอริเฟส แปลงค่าความต้านทานที่ตัวเทอร์โมสวิชเปลี่ยนแปลง( อาจจะทางเน็คกะทีฝหรือโพสซิทีฝ) แล้วสั่งให้รีเรย์ต่อไฟไปให้ชุดสายไฟเส้นสองที่ผมกล่าวตามรูปวงจร แต่อย่าลืมติดตั้งรีเรย์สองตัวตามที่ผมกล่าวมาข้างบน ก็แล้วแต่ใครจะสะดวกครับ…..srithanon
วันที่: 24 Feb 12 - 16:33

 ความคิดเห็นที่: 18 / 23 : 694769
โดย: เอก
อุ้ย... ยาวเลย พี่ srithanon
ขอบคุณมากครับ ..ถึงจะยังงงก็ตาม เพราะไม่ได้มีความรู้เชิงเทคนิคอะไรเอาซะเลยเรา
แค่อยากลองทำเอง คิดว่ามันไม่ยาก ...

เอ ... แต่ตามที่ พี่ srithanon บอกมาเนี่ย เท่ากับว่าพัดลมจังหวะสอง (แรง) จะทำเมื่อมีไฟเข้าครบทั้ง 2 คู่ถูกป่าวครับ ถ้าไฟมาเฉพาะ คู่ใดคู่หนึ่งก็ทำงานเท่ากับแรงของขดลวดแต่ละคู่ไป ถ้าไฟมาครบ 2 คู่ ก็ทำงานเรงเท่ากับขดลวดของสองคู่รวมกัน

เอาแบบบ้านๆ อย่างงี้เข้าใจถูกป่าวครับ
วันที่: 24 Feb 12 - 18:06

 ความคิดเห็นที่: 19 / 23 : 694786
โดย: srithanon
ก็ตามที่น้องเข้าใจถูกแล้ว หากจับมันมาป้อนไฟเข้าที่สายไฟบวกทั้งสองเส้น และกราวด์สองเส้นรวมกัน
เท่ากับมันทำงานเต็มฟิกัดของความเร็วรอบ ก็ใช้ได้ครับ แต่ควรจะเดินสายไฟให้เส้นใหญ่เพิ่มขึ้น และมีฟิวส์ป้องกันการชอร์ทเซอร์กิต หรือลัดลงกราวด์ ทำให้กินกระแสไฟและไหลผ่านสายไฟมาก สายอาจจะร้อน ควรมีฟิวส์ ประมาณ 15 Amp ในวงจรที่ผมมีก็บอกไว้ 15 Amp
การต่อระบบไฟ ควรใช้หน้าสัมผัสรีเรย์ เป็นตัวจ่ายไฟให้กับมอเตอร์ โดยใช้เทอร์โมสวิชท์ เป็นตัวจ่ายไฟให้กับรีเรย์ทำงานดูดหน้าคอนแท็คเอาไฟที่ผ่านฟิวส์ 15 Amp มาจ่ายให้กับตัวมอเตอร์พัดลม ก็ลองทำตามที่น้องอยากจะทำได้เลย
บางครั้งความแรงและเร็วของพัดลม ที่มีเกินความจำเป็นในการดูดระบายความร้อนจากรังผึ้งหม้อน้ำ ทำให้มอเตอร์พัดลมเสียเร็ว จริงแล้วเขาออกแบบมาเพื่อเสริมระบายความร้อนออกในสภาวะที่ไม่ปกติ เช่นรถติดนานๆ ระบายความร้อนไม่ทัน หากรถยนต์เคลื่อนที่เร็ว ลมที่ผ่านหน้ากระจังรถมายังหม้อน้ำ มันก็ช่วยระบายให้อยู่แล้ว ทำให้พัดลมในจังหวะสองไม่ทำงาน ผลก็คืออายุการใช้งานยืดออกไป
จะทำอะไรก็ยึดถือความเหมาะสมและเหตผลที่ใช้ มันถึงจะได้ประโยชน์เต็มที่ครับ...srithanon
วันที่: 24 Feb 12 - 20:51

 ความคิดเห็นที่: 20 / 23 : 694834
โดย: บอมบ์
วันที่: 25 Feb 12 - 07:47

หน้าที่: [1]   2