Close this window

วิเคราะห์การทำงานวงจรจุดระเบิดของ Lantis V6 ด้วย Digital oscilloscope
ก่อนที่จะเอาภาพการตรวจสอบการทำงานของวงจรจุดระเบิด ด้วย Digital oscilloscope ตั้งแต่สัญญาณพัลส์ ของ Crankshaft sensor ที่เป็นจุดเริ่มต้น ในการสร้างสัญญาณการจุดระเบิด ที่ ECU รับสัญญาณนี้ เพื่อสร้างสัญญาณ IGT ป้อนให้กับวงจรตัวช่วยจุดระเบิดทำงานสร้างไฟโวลท์เต็จสูง ที่ตัว Ignition coil จ่ายให้กับหัวเทียน ก็ขอนุญาตท้าวความที่มาของเรื่องนี้ ที่ทำให้มีโอกาส ตรวจสอบการทำงานของวงจรจุดระเบิดในมาสด้า Lantis V6
เนื่องจากน้องท่านหนึ่ง ที่อยู่ในชมรมมาสด้าคลับแห่งนี้ มีปัญหาเครื่องยนต์ มีระบบไฟจุดระเบิดทำงานไม่ปกติ วิ่งไปๆ เครื่องยนต์ดับ ดับแล้วก็สตาร์ทไม่ติด ต้องรอนานถึงจะสตาร์ทติด ติดแล้ววิ่งไปได้สักพักก็เป็นแบบนี้อีก เอาไปให้อู่อื่นๆซ่อมมาก็แก้ไม่หาย บางอู่ก็เปลี่ยนจานจ่ายให้ใหม่ บางอู่ก็ดัดแปลงเอาตัวจุดระเบิด CDI มาทำงานแทนวงจรเดิม ดัดแปลงแล้ว ก็เป็นแบบเดิมอีก สุดท้ายน้องเขาโทรไปขอความข่วยเหลือ ให้ช่วยซ่อม และช่วยทำให้กลับมาใช้ระบบเดิมๆ ผมฟังแล้วก็หนาว เพราะไม่เคยตรวจซ่อมครื่องยนต์ V6 มาก่อน และประการสำคัญ ผมไม่มีรายละเอียด circuit diagram ของมาสด้า รุ่นนี้อยู่เลย ตอนหลังๆก็ได้รับความอนุเคราะห์ช่วยเหลือจากเพื่อนสมาชิกที่น่ารักในมาสด้าคลับแห่งนี้ ให้คำแนะนำเรื่องตำแหน่งของกระบอกสูบ ว่าเขานับอย่างไรกับเครื่องยนต์ V6 ของมาสด้า Lantis
ก็มีน้องๆบางท่าน ชมมาว่า ขนาดต่ำแหน่งของลูกสูบเครื่องยนต์ยังไม่ทราบเลย แล้วจะซ่อมได้หรือ? ผมถือว่าเป็นส่วนที่ทำให้ผมมีความเพียรพยายามที่จะแก้ไข ไม่ได้โกรธน้องคนนั่น แต่ก็อยากจะขอบคุณ ที่ทำให้ผมเกิดแรงบันดาลใจ และประสบความสำเร็จในการแก้ปัญหา
หลังจากที่น้องได้ให้รถยก ยกรถมาจอดไว้หน้าบ้านเมื่อกลางเดือนธันวาคม ที่แล้ว ผมเพิ่งจะมีโอกาสได้ลงมือทำการตรวจซ่อมและแก้ไข เมื่อเสาร์อาทิตที่ผ่านมา ตั้งแต่ตัวจานจ่าย ระบบสายไฟ ที่ยุ่งเหยิงรวมทั้งตรวจซ่อมตัวช่วยจุดระเบิดในจานจ่าย ให้ทำงานตามปกติ เก็บและจัดสายไฟให้เข้ารูปแบบเป็นระเบียบ เสียเวลาไปสองวัน
มาวันนี้( 14 มค)ได้ตรวจสอบการทำงานของระบบ ตั้งแต่จุดเริ่มต้นในการสร้างสัญญาณมุมองศาการจุดระเบิด ของ Crankshaft sensor ที่เป็นหัวใจของเครื่องยนต์ ในการสร้างสัญญาณพัลส์มุมองศาการจุดระเบิด และป้อนสัญญาณนี้ไปให้ ECU สร้างสัญญาณ IGT ป้อนให้กับ วงจรช่วยจุดระเบิด สร้างไฟโวลท์เต็จสูงจ่ายให้กับหัวเทียน
ซึ่งในการตรวจวัดสัญญาณด้วย Digital oscilloscope นี้ ก็พบต้นเหตุที่ทำให้เกิดอาการของเครื่องยนต์ดับในขณะใช้งานตามที่กล่าวมาข้างต้น
ลองติดตามดูภาพการตรวจสอบ ข้างล่างต่อไปนี้ครับ
โดย: srithanon   วันที่: 16 Jan 2012 - 15:04

หน้าที่: [1]   2   3   4

 ความคิดเห็นที่: 1 / 68 : 687685
โดย: BIG DDT
กด like


วันที่: 16 Jan 12 - 15:06

 ความคิดเห็นที่: 2 / 68 : 687686
โดย: srithanon
ภาพนี้เป็นภาพของการวัดสัญญาณพัลส์ จาก Crankshaft sensor ที่ความเร็วรอบของเครื่องยนต์ 1000รอบ/นาที หน้าตามันเป็นแบบนี้
วันที่: 16 Jan 12 - 15:07

 ความคิดเห็นที่: 3 / 68 : 687687
โดย: srithanon
ภาพนี้เราจะทำการวัดค่าความแรงของพัลส์ที่เกิดขึ้นว่ามีความแรงของสัญญาณเท่าใด โดยวัดเป็น พีคทูพีค หรือขอบบนและร่างของสัญญาณ ในที่นี้วัดได้ Vpp= 6.24 Volt
วันที่: 16 Jan 12 - 15:10

 ความคิดเห็นที่: 4 / 68 : 687689
โดย: srithanon
ภาพนี้เป็นการวัดสัญญาณที่รอบเครื่องยนต์ 2000 รอบ/นาที ได้ความแรงของสัญญาณ Vpp = 8.32 Volt อาจจะเพี้นไปบ้างเพราะผม ปรับเส้น cursor วางบนและล่างของสัญญาณ ไม่ตรงขอบ ก็เลยทำให้ scope อ่านไม่ตรง น่าจะอยู่ราวๆ 8.5 Volt
วันที่: 16 Jan 12 - 15:13

 ความคิดเห็นที่: 5 / 68 : 687690
โดย: srithanon
ภาพนี้เป็นการวัดสัญญาณ ที่รอบเครื่องยนต์ 3000 รอบ/นาที เช่นเดียวกับรูปแรก ที่เอา cursor ไปวางไม่ตรงขอบบนล่างของสัญญาณ ค่าที่วัดได้น่าจะประมาณ Vpp = 9 Volt ขึ้นไป
วันที่: 16 Jan 12 - 15:15

 ความคิดเห็นที่: 6 / 68 : 687691
โดย: srithanon
สัญญาณ จาก Crankshaft sensor ทั้งสามช่วงความเร็วรอบของเครื่องยนต์ คือ 1000, 2000 และ 3000 รอบ/นาที จะพบว่าความแรงของสัญญาณเพิ่มขึ้น ความถี่ของแต่ละพัลส์ มีใช้เวลาน้อยลง
คือการเกิดพัลส์เร็วขึ้น สิ่งที่เห็นนี้ถือว่าเป็นการทำงานของตัว Crankshaft sensor ที่ปกติ หากมันผิดปกติ หรือดีๆเสียๆ มันก็จะทำให้เราทราบว่าการเกิดของพัลส์ที่หายไปบางพัลส์ เกิดในจังหวะไหนของเวลา
ผลที่เกิดขึ้นนี้ทำให้ระบบรอบเครื่องยนต์สะดุด กับการใช้งานในรอบเครื่องต่ำๆหรือรอบเดินเบา เพราะ wave form ที่เกิดจากการวัดด้วยออสซิลโลสโคป มันให้เราเห็น นี้คือข้อดีของการใช้เครื่องมือวัดด้วยออสซิลโลสโคป แถมยังทราบอีกว่าหากเราใช้รถขับไปทำงานหรือขับขี่ตามท้องถนน อยู่ๆเครื่องยนต์ดับกลางอากาศ พอดับแล้วสตาร์ทติดทันที่บ้าง ต้องรอสักระยะบ้างถึงสตาร์ทติด หากเรามีเครื่องมือออสซิลโลสโคปวัด ก็จะทราบได้ทันที่ว่าเกิดอะไรขึ้น หากสงสัยเรื่องระบบไฟก็ง่ายมาก สวามารถบอกได้ว่ามันเป็นที่ส่วนไหน การเทสเรื่องระบบไฟนี้ มีความแน่นอนและรวดเร็วในการวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้น และไม่หลงประเด็นในแนวทางแก็ไข ที่ทำให้เสียเงินโดยไม่สมัคใจของท่านเจ้าของรถ
ลองมาดูภาพต่อไปว่าหลังจากที่ ECU ได้รับสัญญาณจาก Crankshaft sensor แล้วมันสร้างสัญญาณ IGT ส่งไปให้วงจรช่วยจุดระเบิด หน้าตามันเป็นอย่างไร
วันที่: 16 Jan 12 - 15:16

 ความคิดเห็นที่: 7 / 68 : 687694
โดย: srithanon
ภาพนี้เป็นภาพการวัดสัญญาณพัลส์ IGT ที่ ECU Generate สร้างขึ้นที่ประกอบไปด้วย ค่าของเวลาที่สัมพันธ์กับสัญญาณองศาการเคลื่อนตัวของแคร้งชาร์ป ความกว้างของพัลส์ ที่จะทำให้การเกิดสัญญาณการจุดระเบิดมีเวลาที่เหมาะสมการเกิดประกายไฟที่หัวเทียน ที่มีการยุบตัวของสนามแม่เหล็กในขดลวดที่ Ignition coil หน้าตารูปร่างของสัญญาณดังภาพที่เห็น
วันที่: 16 Jan 12 - 15:18

 ความคิดเห็นที่: 8 / 68 : 687695
โดย: srithanon
ภาพสโคปที่ทำการวัดสัญญาณ
วันที่: 16 Jan 12 - 15:19

 ความคิดเห็นที่: 9 / 68 : 687696
โดย: srithanon
ภาพนี้เป็นการวัดความแรง ว่ามีความแรงของสัญญาณวัดได้กี่โวล์ พีคทูพีค ตามภาพเราวัดได้ Vpp = 2.84 Volt สำหรับตัว Digital Oscilloscope ตัวนี้มันมีความสามารถสูง สามารถจะวัดค่าโวลท์เต็จทั้ง Pvv, Rms และอีกหลายค่า รวมทั้งความถี่ของสัญญาณ วัดได้ทั้งคาบของเวลา หรือช่วงของเวลาใดเวลาหนึ่ง ความกว้างของพัลส์ แลอื่นๆ มีให้ครบในฟังชั่นการวัดที่เหนือกว่า Oscilloscope
แบบ Analog ทั่วๆไป ที่ไม่นิยมใช้กันแล้วในปัจจุบัน แต่ตามสถาบัน พวกมหาลัยต่างๆก็ยังมีให้ใช้ เพราะจะได้ฝึกให้นักศึกษา ฝึกหัดใช้วัดสัญญาณแล้วมาใช้สูตรคำนวณหาค่าความถี่ เวลา โวลท์เต็จ ต่างกับระบบ Digital ที่แค่เพียงเลือกฟังชั่นที่ต้องการ มันก็จะบรรเลงค่าที่ต้องการทราบออกมาให้อย่างจุใจ ไม่ต้องเสียเวลาในการพูดคุย ขออภัยนอกเรื่องไปหน่อย
วันที่: 16 Jan 12 - 15:22

 ความคิดเห็นที่: 10 / 68 : 687697
โดย: srithanon
ภาพนี้เป็นการวัดค่าช่วงเวลาของการเกิดพัลส์ของสัญญาณ จุดระเบิด IGT มีระยะเวลาเท่าใดของการเกิดพัลส์แต่ละลูก ที่รอบเครื่องยนต์ 1000 รอบ/นาที จากค่าการวัดที่ได้มา = 18.4 ms
การที่เราเห็นรูปร่างของสัญญาณจุดระเบิด IGT ที่ ECU generate ออกมาและส่งไปให้วงจรช่วยจุดระเบิด ทำงานสร้างไฟโวลเต็จสูงจ่ายให้กับหัวเทียน ทำให้เราสามารถที่จะวิเคราะห์ระบบไฟจุดระเบิดว่า มีส่วนไหนที่ไม่ทำงาน ในข้างบนผมได้กล่าวแล้วว่า ระบบการจุดระเบิดเริ่มที่ Crankshaft sensor สร้างสัญญาณ ต่ำแหน่งองศาการเคลื่อนที่ของเพลาข้อเหวี่ยงหรือแคร้งชาร์ป เพื่อให้ ECU สร้างสัญญาณ IGT
ดังนั้นเมื่อเราว่า ECU ต้องจ่ายสัญญาณ IGT วงจรช่วยจุดระเบิดถึงจะทำงาน เราจึงสามารถตรวจสอบสัญญาณนี้ ว่าหากไม่มีสัญญาณนี้ สิ่งที่จะวิเคราะห์ปัญหาจุดแรกก็คือ Crankshaft sensor ไม่ส่งพัลส์ให้ ECU จึงไม่มีสัญญาณ IGT ออกมา หากวัดสัญญาณที่แคร้งชาร์ปเซ็นเซอร์มีออกมา ก็แสดงว่า
กล่อง ECU เสีย ไม่ส่สัญญาณ IGT ออกมา นี้เป็นการวิเคราะห์จุดแรก หากมีสัญญาณ IGT ออกมาแล้ว วงจรช่วยจุดระเบิดยังไม่ทำงาน ก็จะได้มุ่งประเด็นไปที่วงจรช่วยจุดระเบิดว่าทำงานหรือไม่
Oscilloscope มันสามารถที่จะเข้าไปวัดสัญญาณ IGT ที่ส่งไปให้ขา BASE ของ switching power transistor เป็น Bias ที่ทำให้มีกระแสไฟไหลจาก ขดลวดไพรมารี่ผ่านขา C ไปขา E ลงกราวด์ ตรงจุดนี้ก็ใช้สโคปวัดสัญญาณได้ เราก็สามารถที่จะวิเคราห์ว่าทรานซิซเตอร์นั้นทำงานปกติหรือเปล่า นี้ก็เป็นการวราะห์ในตัวจานจ่าย หลังจากนั้นก็ยังสามารถวัดสัญญาณที่เกิดการอินดิวส์หรือชักนำของสัญญาณ ที่เกิดจากการยุบตัวของสนามแม่เหล็กไปยังขด secondary ที่สร้างไฟสูงที่ตัว Ignition coil ว่าทำงานปกติหรือไม่ หากเกิดการชอร์ทเทินของขดลวดที่พันบนแกนเหล็ก จะมีสภาพอย่างไร ทุกอย่างที่เกิดขึ้น มันสามารถวัดสัญญาณให้เห็นได้ หากใช้สโคปเป็น
เครื่องมือ Digital Oscilloscope ช่วยให้การตรวจซ่อมแก้ปัญหาได้ตรงประเด็นง่ายต่อการซ่อม และใช้เวลาน้อยในการแก้ปัญหา และไม่หลงประเด็นเสียเวลาหาจุดเสียของระบบไฟจุดระเบิยวิธีแบบเก่าๆ
วันที่: 16 Jan 12 - 15:24

 ความคิดเห็นที่: 11 / 68 : 687698
โดย: srithanon
เป็นภาพการใช้ Digital Oscilloscope วัดสัญญาณ จากกล่อง ECU ของรถยนต์ Lantis V6
วันที่: 16 Jan 12 - 15:26

 ความคิดเห็นที่: 12 / 68 : 687699
โดย: srithanon
ภาพต่อไปนี้ เป็นการวัดสัญญาณพัลส์ ที่ ECU จ่ายไปให้หัวฉีดน้ำมัน จะเห็นรูปร่างของมันเป็นอย่างไร
วันที่: 16 Jan 12 - 15:29

 ความคิดเห็นที่: 13 / 68 : 687700
โดย: srithanon
ภาพนี้ เป็นการวัดความแรงของสัญญาณที่จ่ายไปยังหัวฉีด ว่ามีความแรงของสัญญาณวัดได้กี่โวลท์ โดยเลือการวัดเป็นแบบ วลท์พีคทูพีค ((Pvv)
วันที่: 16 Jan 12 - 15:30

 ความคิดเห็นที่: 14 / 68 : 687702
โดย: srithanon
ภาพหลังจากกด Enter อ่านออกมาได้ = 48.0 Volt
วันที่: 16 Jan 12 - 15:32

 ความคิดเห็นที่: 15 / 68 : 687703
โดย: srithanon
ภาพที่วัดค่าความแรงของสัญญาณได้ Vpp = 48.0 Volt
วันที่: 16 Jan 12 - 15:34

 ความคิดเห็นที่: 16 / 68 : 687704
โดย: srithanon
ภาพนี้เป็นการวัดหาความถี่ ที่หัวฉีดทำงานแต่ละครั้ง หรือค่า period time ว่ามันมีความถี่ในการฉีดแต่ละครั้งเท่าใด ขณะที่ทำการวัดนี้ใช้ความเร็วรอบของเครื่องยนต์ที่ 1000 รอบ/นาที ได้เวลา = 114 ms(มิลลิเซ็ค)
วันที่: 16 Jan 12 - 15:35

 ความคิดเห็นที่: 17 / 68 : 687705
โดย: srithanon
ภาพนี้เป็นการวัดหาระยะเวลาที่หัวฉีดทำการฉีดแต่ละครั้ง ที่ความเร็วรอบเครื่องยนต์ = 2000 รอบ/นาที ได้เท่ากับ = 56 ms
วันที่: 16 Jan 12 - 15:37

 ความคิดเห็นที่: 18 / 68 : 687706
โดย: srithanon
ภาพนี้เป็นการวัดหาระยะเวลาที่หัวฉีด ทำการฉีดแต่ละครั้ง ที่ความร็วรอบเครื่องยนต์ 3000 รอบ/นาที
ได้เท่ากับ =40 ms
วันที่: 16 Jan 12 - 15:39

 ความคิดเห็นที่: 19 / 68 : 687707
โดย: srithanon
เป็นภาพที่นำสโคปมาทำการวัดที่กล่อง ECU
วันที่: 16 Jan 12 - 15:43

 ความคิดเห็นที่: 20 / 68 : 687708
โดย: srithanon
ภายในรถ ที่กล่อง ECU
วันที่: 16 Jan 12 - 15:45

หน้าที่: [1]   2   3   4