Close this window

FSZE ใครแก้เรื่องสั่น รอบสวิงได้แล้ว
เล่าประสบการณ์ด้วยครับ
โดย: appleplus   วันที่: 8 Nov 2009 - 10:16

หน้าที่: [1]   2

 ความคิดเห็นที่: 1 / 37 : 520609
โดย: บอมบ์
เครื่องสั่น น่าจะยางแท่นเครื่องหรือเปล่าครับ แต่ของผมก็สั่นเหมือนกัน

รอบสวิง ตอนไหนครับ ตอนคอมแอร์ต่อหรือครับ แต่มันก็ไม่วูบมากนะครับ ว่าจะใช้สักพักแล้ว ไปล้างลิ้นปีกผีเสื้อ จูนรอบเดินเบาใหม่ น่าจะดีขึ้นน่ะครับ
วันที่: 08 Nov 09 - 10:21

 ความคิดเห็นที่: 2 / 37 : 520618
โดย: tom prote
ล้างลิ้นปีกผีเสื้อ
เช็คแอร์โฟลว์
เช็คเซ็นเซฮร์
ครับ
วันที่: 08 Nov 09 - 11:54

 ความคิดเห็นที่: 3 / 37 : 520626
โดย: ห้าดอล้อติ๋ม
]ถ้าจะล้างปีกผีเสื้อ ก็ล้างISC วาล์วไปด้วยเลยครับ
วันที่: 08 Nov 09 - 13:08

 ความคิดเห็นที่: 4 / 37 : 520642
โดย: บอมบ์
คุณ appleplus วางเครื่อง ZE รุ่นไหนมาครับ

เพราะของผมวาง ZE ตัวคอยาว ที่วางใน mazda premacy สั่นตอนคอมแอร์ต่อ ถ้าปิดแอร์ ก็เงียบดี ไม่สั่นครับ

คือ เท่่าที่เห็นรถตัวเอง และฟังมาอีกที ZE ตัวที่อยู่ใน premacy นั้น...
คอมแอร์ใช้แบบ ลูกสูบ หรือ แทนที่จะเป็นแบบ โรตารี่แบบที่เคยใช้ในเครื่องยนต์ มาสด้า บล็อค F

อันนี้คิดเอง เออเอง ==> เลยน่าจะฉุดรอบเครื่องตอนเดินเบามากกว่าแบบโรตารี่ เครื่องจึงสั่นตอนคอมแอร์ต่อ(หน้าคลัทช์แอร์จับ)
ที่คิดๆไว้ว่าจะลองทำตามลำดับ

i) ตั้งรอบเิดินเบาใหม่
ii) ล้างลิ้นปีกผีเสื้อ + ล้าง ISC valve + ตั้งรอบเดินเบาใหม่
iii) เอาตัวชดเชยรอบของโตต้า มาต่อช่วยตอนคอมแอร์ต่อ

วันที่: 08 Nov 09 - 14:46

 ความคิดเห็นที่: 5 / 37 : 520681
โดย: บอมบ์
พอคุยเรื่องรอบสวิงและการปรับตั้งรอบเดินเบาแล้ว เลยนึกได้ ว่ามีทริคส่วนตัว อยากเล่าให้ฟังกันอีกที

หมายเหตุ ทั้งหมดนี้ ไป search เจอเวบบอร์ดต่างประเทศเค้าเขียนไว้ แล้วลองทำตามได้ผลดีนะครับ ยังมิใช่ ข้อเท็จจริงทางเทคนิคนะครับ

===========================
อารัมภบท และ หลักการ
รอบเดินเบาที่เราเอาไขควงไปปรับสกรูว์ที่ ISC valve และเรียกว่าตั้งๆๆ ค่า idle กันเนี่ย จริงๆแล้ว มันคือการตั้ง idle base rpm หรือ ค่าเริ่มต้นพื้นฐานของรอบเดินเบา
ส่วนรอบเดินเบาจริงๆ ถูกกำหนดมาแต่แรกแล้วโดย โรงงานผู้ผลิตรถ set ไ้ว้เป็นค่่ามาตรฐานในกล่อง ECU

ส่วนใหญ่คิดว่าสามารถปรับรอบขึ้นลงตามใจด้วยสกรูตัวนั้น แต่ลองปรับในเวลาปกติ(ไม่ได้ shorted ขั้ว TEN กับ GND) จะไม่มีความเปลี่ยนแปลงของรอบ

ในเวลาที่มี load หรือภาระกับเครื่อง เช่น ออกวิ่ง หรือ คอมแอร์ทำงาน load จะฉุดรอบให้ตกลงไป...
แต่เพื่อไม่ให้เครื่องดับ กล่องECUจะสั่งให้เลี้ยงรอบไว้ โดยการ ส่งสัญญาณไปควบควม ISC valve
ค่ารอบที่กำหนดไว้ตอนเดินเบา มันตายตัว เพราะกำหนดมาจากโรงงานโดยอัดข้อมูลไว้ในกล่อง ECU แล้ว

ที่เราปรับสกรูกันน่ะ มันไปกำหนดจุดเริ่มต้นให้ ECU ก่อนที่มันจะสั่งให้ไปที่รอบเดินเบามาตรฐาน อันนี้สำหรับมาสด้านะ ยี่ห้ออื่นไม่รู้...

หมายความว่า การปรับสกรูว์ เข้าออก เป็นการปรับทางกล หรือ mechanical ล้วนๆ ส่วน ECU+ISC valve เป็นการปรับโดยใช้ electronic ไปควบคุม mechanic อีกที
คือ ถ้าเราตัดการทำงานของ ECU+ISC valve ออกไป ค่่า idle ที่เหลืออยู่คือค่าจากการปรับตั้งสกรูว์เข้าออกเอาไว้ (ไขสกรูเข้า ลดรอบ ไขออก เพิ่มรอบ)

ที่ทำกันส่วนใหญ่ก็ reset ECU ==> shorted ขั้ว TEN กับ GND เข้าด้วยกัน ==> ปรับค่าให้ได้ตามที่โรงงานกำหนดก็โอเค แต่ผลที่ออกมาอาจยังมีอาการรอบตกวูบอยู่ก็เป็นได้

สรุปคือ อยากให้รอบไม่วูบ ตั้งค่า idle based rpm ให้ใกล้เคียงกับ ค่ารอบเดินเบามาตรฐานที่ควบคุม ECU ไม่ใช่ตั้งให้ค่าเท่ากับ ค่าที่ระบุใน workshop manual (เพราะเราดูจากเข็มวัดรอบในรถ แต่ manual วัดจากโรงงาน)
==========================================================

วิธีปรับ

1.ถอดขั้วแบต แล้ว reset ecu โดยการเหยีบเบรคค้างสัก 30 วิ หรือ บางคนก็เปิดประตูไว้สักพักก็ได้ แต่เอาเหยียบเบรคละกัน
2.แล้วก็ ไปจั๊มสาย TEN+GND (แนะนำใช้ ลวดคลิปหนีบกระดาษสีเงินๆ มาดัด ครับ ขนาดมันกำลังดี และแข็ง )
3.ต่อขั้วแบตกลับคืน
4.สตาร์ท
ถ้าสตาร์ทไม่ติด ให้คลายสกรูทีละนิด แล้วสตาร์ทใหม่จนกว่าจะติด
5.พอติดก็ รอจนกว่าจะได้ยินพัดลมหม้อน้ำทำงานและดับลง ก็เริ่มปรับรอบ

6.ตอนปรับให้ปิดไฟ ปิดแอร์ให้หมด และก็ดูค่าที่เข็มวัดรอบน่ะแหละ
ถ้าขณะปรับ พัดลมทำงานขึ้นมาอีก ก็หยุดปรับก่อน รอให้มันดับ แล้วปรับต่อ

*** ต่อมาเป็นเทคนิคผมเอง
7.พอปรับเสร็จ ก็ดึงที่จัมพ์ออก ดูว่ารอบต่างกะตอนที่จัมพ์ขั้วมั๊ย ถ้าต่างก็เสียบใหม่แล้วปรับใหม่ แล้วก็ถอดอีกดูว่าต่างมั๊ย
**ระวัง สายวืดแล้วไปชอร์ตจุดอื่น พังได้นะครับ

พูดง่ายๆ ปรับตอนจัมพ์สายให้ใกล้กับตอนไม่ได้จัมพ์ให้มากที่สุด

8.เรียบร้อยก็ดับเครื่อง ถอดสายจัมพ์

** ถ้าใช้เทคนิคผม ก้อไม่สนใจค่ามากมาย
ปรับให้ตอนจัมพ์และไม่ได้จัมพ์เท่ากันหรือใกล้กันมากสุด

ปล. หลายๆท่าน จะปรับให้ได้รอบค้างที่ 7-800 โดยไม่สนว่า ตอนก่อนจั๊มป์ กับหลังจั๊มป์ มันได้ค่าเท่ากันรึป่าว
แต่สำหรับผม ผมจะสนใจแค่ว่า รอบตอนที่จั๊ม กับตอนถอดจั๊มป์ ควรจะต้องเท่ากัน ไม่ใช้ จั๊มป์ได้ 800 ถอดจั๊มปุ๊บตกเหลือ 700

เพราะถ้าค่าเริ่มต้น(ตั้งจากการปรับสกรูว์) ....ต่างจากค่าโรงงานมาก (ตั้งมาจากโรงงาน และ ควบคุมโดย ECU)
ECU จะใช้เวลาเยอะในการปรับ ===> รอบก็อาจกระตุกหรือวูบสักนิด
แต่ถ้ารอบตอนจัมพ์เท่ากับหรือใกล้ค่าจากโรงงานมากๆ ===> ECU ก็ไม่ต้องปรับหรือใช้เวลาปรับน้อยมาก ทำให้รอบนิ่งดี

ปรับเสร็จใหม่ๆ แล้วออกไปวิ่งอาจแปลกๆไป
เพราะเรารีเซตอีซียูใหม่ มันต้องเรียนรู้ใหม่
อาจรู้สึกรถแรงขึ้น หรือ อืดลง หรือรอบตกนิดๆหน่อยให้ลองวิ่งสัก2-3 วัน จะเริ่มเข้าที่
==========================================================

เห็นในเวบบอร์ดต่างประเทศ คุยกันว่า จริงๆเราควร reset ecu ทุกๆระยะ
เพราะสภาพต่างๆในเครื่องมันเปลี่ยนไป ก็ควรให้ ECU ปรับตัวตามใหม่ด้วย พอรีเซททีไร รู้สึกรถแรงขึ้นนิดๆ

ผมว่ารีเซตทุกเดือนหรือสองเดือนน่าจะดีเหมือนกัน
เพียงแต่ตั้งนาฬิกาบ่อยหน่อย...ห่ะๆ
วันที่: 08 Nov 09 - 18:35

 ความคิดเห็นที่: 6 / 37 : 520682
โดย: บอมบ์
ทั้งหมดที่กล่่าวมา ต้องมั่นใจว่า ลิ้นปีกผีเสื้อไม่สกปรกมาก หรือ ISC valve ไม่สกปรก/เสื่อม/เสีย นะครับ

แต่ถ้าวางเครื่องมาใหม่ ISC valve คงไม่ได้เสียหรอกครับ

ลองดูครับ
วันที่: 08 Nov 09 - 18:38

 ความคิดเห็นที่: 7 / 37 : 520714
โดย: appleplus
ขอบคุณทุกท่านครับ ขอบคุณคุณบอมบ์ เทคนิคน่าสนใจครับ แต่ล้ำลึกไป คงต้องใช้บริการช่างหมู ไม่ทราบว่าเป็นไงบ้าง บ้านอยู่บางนาครับ
วันที่: 08 Nov 09 - 20:39

 ความคิดเห็นที่: 8 / 37 : 520754
โดย: เซนท์โซเฟียร์
ของผมเครื่องร้อนๆ เครื่องเร่งเอง แอร์ต่อแล้วสวิง ว่าจะเข้าไปหาช่างอยู่เหมียนกันนะเนี่ย
วันที่: 08 Nov 09 - 23:37

 ความคิดเห็นที่: 9 / 37 : 520765
โดย: บอมบ์
ผมเองก้อกำลังจูน (ตัวเองและเครื่อง) อยู่ครับ

สรุป เราควร ปรับรอบเดินเบาพื้นฐานจากสกรูว์ (base idle)ให้มันใกล้เคียงกับ ค่าเดินเบามาตรฐานที่ ECU จะสั่งออกมา (default idle)

เพื่อให้เวลาแอร์ต่อ หรือ มีโหลดเครื่อง ECU จะได้ไม่เสียเวลาปรับจากค่า base idle ไปยังค่า default idle

เช่น ...
ถ้าตั้งสกรูว์ เดินเบาไว้ที่ 800 รอบต่อนาที แต่จริงๆ ECU สั่งออกมาที่ 720 ECUค่าต่ำกว่าอยู่ 80
พอแอร์ต่อ รอบหล่น แต่ECU จะรีบเข้ามาควบคุม เลยรีบสั่งให้ลดค่าลงจาก 800==>720 รอบจะยิ่งหล่นวูบ ไปอีก เพราะเป็นการสั่งลดค่า

แต่ ถ้าตั้งสกรูว์เดินเบาไว้ที่ 730 จะใกล้เคียงกับค่า ของ ECU ต่างกันแค่ 10
พอแอร์ต่อ ECU จะเสียเวลาปรับสั้นมากๆ รอบเลยวูบนิดเดียว จนเราไม่รู้สึก

มีอะไรโทรมาคุยกันก้อได้ครับ อุ่นใจ(ผม)ดี

บอมบ์ 089-4981052
วันที่: 09 Nov 09 - 01:18

 ความคิดเห็นที่: 10 / 37 : 520766
โดย: บอมบ์
วันที่: 09 Nov 09 - 01:24

 ความคิดเห็นที่: 11 / 37 : 520793
โดย: kingjoe
วันที่: 09 Nov 09 - 09:47

 ความคิดเห็นที่: 12 / 37 : 520797
โดย: Yut13
คำเตือน ตอนจั๊ม TEN/GND ระวัง B+ ข้าง TEN นะเผลอเสียบผิดรูนิ้วไหม้นะ
วันที่: 09 Nov 09 - 09:55

 ความคิดเห็นที่: 13 / 37 : 520817
โดย: บอมบ์
ช่ายยยๆๆ อย่างป๋ายุท ว่าครับ

ระวังตอนจั๊มท์ ...
ค่อยๆเสียบ....
ค่อยๆดึงออก...

เผลอไปแตะผิดจุด ECU พังได้นะครับ
วันที่: 09 Nov 09 - 10:34

 ความคิดเห็นที่: 14 / 37 : 520897
โดย: จะเด็ด
สำหรับเครื่องบล็อก F ของ Mazda
ผมค่อนข้างเห็นด้วยกับข้อมูลตาม คห.5 ครับ

แต่เทคนิคในการปรับของผม มองต่างมุมออกไป
ไม่รู้ว่าสุดท้ายแล้วให้ผลเหมือนกันหรือไม่

ผมมองจากแวคคัมเป็นหลัก ประมาณนี้ครับ

http://www.mazdaclub.net/module_view.php?mod=webboard&fn=view&cid=43201&sh=%E1%C7%A4%A4%D1%C1
วันที่: 09 Nov 09 - 14:51

 ความคิดเห็นที่: 15 / 37 : 520910
โดย: Yut13
คุณจะเด็จหลังจากงงมานานกับอาการคุ้มดีคุ้มร้ายตัดสินใจเปลี่ยน Generator ใหม่ใส่ของ Z5 เข้าไปตอนนี้ควันดำแบบฉีดหนาเวลาเร่งเครื่องหายไปเลยแต่น้อคนิดๆต้องเอาไฟลงหน่อยการทำงานของเครื่องเวลาโหลดดีขึ้นเยอะไม่น่าเชื่อแต่พิสูจน์ได้ว่าระดับแรงดัน 13.5 กับ 13.9 - 14.0 มีผลต่อการทำงานมากตอนนี้ดูผลมันไปก่อนของญี่ปุ่นเค้าแค่ 65 A เองแต่ของติดรถ 80 A เดี๋ยวเอาของเดิมไปเปลี่ยนลูกปืนหัวท้ายล้างขดลวดหยอดวานิชซะหน่อยอบแห้งแล้วเก็บไว้เป็นอะหลั่ย
วันที่: 09 Nov 09 - 15:40

 ความคิดเห็นที่: 16 / 37 : 520948
โดย: จะเด็ด
เหรอครับป๋า...
ยังไงตั้งไฟไม่แก่มาก ดีอยู่แล้วครับ

ไฟแก่เกินไปก็มี Power Loss สูง
เพราะแรงดันจากการเผาไหม้ ไม่ไปถีบลูกสูบเต็มที่
บางทีเห็นบางคนตั้งไฟแก่เหลือเกิน
ก้านกับข้อ แทบจะอยากหลุดออกมากองข้างนอก
โธ่ ทำไปได้...
วันที่: 09 Nov 09 - 16:34

 ความคิดเห็นที่: 17 / 37 : 521013
โดย: บอมบ์
อืม ใช่ครับ น่าจะเป็นการมองคนละมุมกัน แต่ความหมายเดียวกัน

ผมมองที่ค่า รอบเดินเบา ซึ่งแปรผันตาม ปริมาณอากาศ ที่เข้าเครื่องยนต์
ส่วนคุณจะเด็ด มองที่ค่่า vacuum (ความเป็นสุญญากาศ) ซึ่งแปรผกผันกับ ปริมาณอากาศ

แต่ที่เหมือนกันคือ ให้อากาศเข้าทางสกรูว์ปรับได้น้อยที่สุดเท่าที่จะให้เครื่องเดินเบาได้
ซึ่งผมคิดว่า เมื่อมีโหลด ECU จะสั่งให้เพิ่มค่าหรือเปิดวาล์ว ISC ให้มากขึ้น รอบจึงไม่ตก หรือตกไม่มาก

แต่ถ้าอากาศเข้าทางสกรูว์มากเกินไปหรือมากกว่า่ รอบที่ ECU ถูกเซ็ทไว้ เมื่อมีโหลด จะสั่งลดค่าหรือหรี่วาล์ว ISC ทำให้รอบตกหนักเข้าไปอีก

น่่าจะประมาณนั้น หรือเปล่าครับ ผมมั่วๆเอานะครับ แหะๆ

แต่ถ้าใครมี vacuum gauge อยู่น่าจะปรับได้เนียนขึ้นอีกแบบคุณจะเด็ดนะครับ
วันที่: 09 Nov 09 - 21:38

 ความคิดเห็นที่: 18 / 37 : 521115
โดย: จะเด็ด
แชร์ประสบการณ์อีกเรื่องครับคุณบอมบ์

หลังจากปรับเจ้าสกรูเดินเบา ตามไอเดียเรื่องแวคคัมที่ลองทำไปแล้วในลิงก์โน้น
ผมได้พบเรื่องประหลาดอีกอย่างนึง แต่ถ้านำมาปะติดปะต่อกับข้อมูลของคุณบอมบ์
ดูเหมือนจะเข้าที่เข้าทางได้ดี

นั่นคือผลของความหนาแน่นอากาศ
กับการตอบสนองของเครื่อง
และก็สกรูเดินเบาตัวนี้

เราคงเคยเจอกันประจำว่า
อากาศเย็นขึ้น มวลอากาศหนาแน่นขึ้น
สำหรับโครโนส และโปเต้ที่วางบล็อก F หรือแม้แต่ BP ก็ตาม
ท่อ Intake จูนเรโซแนนซ์มาให้เริ่ม Boost ที่ 2000 รอบ ตอน 25 เซลเซียส
ซึ่งเป็นลักษณะเดียวกับที่รถแข่งทั้งหลายเรียกว่า Ram Air Effect

แต่พออากาศร้อนขึ้น Boost จะเลื่อนออกไป
เคยมีคนที่ชำนาญเรื่องการออกแบบท่อ คำนวนให้ดูเลยว่า
มันจะเลื่อนขึ้นไป Boost ที่ 2667 รอบ
และผมเชื่อว่า หลายคนที่ขับ Mazda ก็คงจะรู้สึกตรงกัน

คือถ้าอากาศร้อน เราจะรู้สึกว่าเครื่องเริ่มพุ่งแถว 2500 ขึ้นไป

ทีนี้การปรับสกรูเดินเบา
ถ้าเรามองว่ามันคือการปรับขนาดของรูอากาศอันหนึ่ง
ผลพลอยได้คือ เราสามารถชดเชยเรโซแนนซ์ของท่อได้ด้วยครับ

ผมลองปรับสกรูเดินเบา ตามเทคนิคของแวคคัม
แต่เลือกจูนตอนเที่ยงตรง เครื่องร้อนเต็มที่
ผลคือทำให้ Boost กลับมาเริ่มที่ 2000 รอบเหมือนอากาศเย็นได้

แล้วพออากาศเย็นลง ปรากฎว่าเครื่องอืดสนิทเลยทีเดียว

ซึ่งตราบเท่าที่ผมไม่ได้ไป Reset กล่องน้ำมัน
มันก็จะเป็นอย่างนี้ไปนานเท่านาน

แต่เมื่อไรที่ Reset กล่องน้ำมัน
มันคงดูจากฐานในการปรับของมันเอง
แล้วอาการเครื่องอืด เวลาที่อากาศร้อน ก็จะกลับมาเยือนอีกครั้ง
วันที่: 10 Nov 09 - 10:19

 ความคิดเห็นที่: 19 / 37 : 521165
โดย: บอมบ์
อืมๆ น่าคิด
งั้นจะให้ดีเราก็ต้อง จูนรอบเดินและ reset ECU ตอนเที่ยง ๆ อากาศร้อนๆใช่มั๊ยครับ เพราะเป็น worst condition

พอเอาไปใช้งานตอนอากาศเย็นจะได้ดีเข้าไปอีก

ถูกป่าวหว่า...
วันที่: 10 Nov 09 - 12:19

 ความคิดเห็นที่: 20 / 37 : 521361
โดย: บอมบ์
นึกได้อีกเรื่อง อธิบายหน่อยสิครับว่า ทำไม กล่องกรองอากาศของ เครื่อง FS-ZE มันต้องสูงกว่า DE

เพราะปริมาณอากาศที่ต้องการมันมากกว่า DE ใช่มะ

งั้นที่ผมอยากให้ห้องเครื่องมันสวย โดยการไปเอากล่องเดิมมาใส่มันเป็นการจำกัดปริมาณอากาศเข้าเครื่องมากไปหรือเปล่่า (แต่ถึงไปเอากล่องกรอง ZE แท้ๆมาใ่ส่ ก็ไม่รู้จะไปหาแผ่นกรองอากาศความสูงขนาดนั้นมากจากไหนดี)

หรือว่าผมจะลองใส่กรองเปลือยดูเผื่อมันจาแรงขึ้นได้อีก
วันที่: 10 Nov 09 - 21:06

หน้าที่: [1]   2