Close this window

ทำไม ต้องใช้น้ำมันเครื่องสังเคราะห์กับมาสด้า 3

หน้าที่: 1   [2]   3

 ความคิดเห็นที่: 21 / 54 : 197143
โดย: OTH999
ที่เชียงใหม่มีตาตี่สีดำๆหางมาสด้าสปีด วางบีพีโบ ใช้สังเคราะห์HKS มาจะ40000โลแล้วครับ ยังไม่เปลี่ยนเลย รถก็ไม่มีปัญหาคับ อิอิ แถมยังอัดรถเร็วเป็นพายุเลยคับ
ผมว่าของเค้าดีจิงๆ นะ HKs เนี่ย....



ปล.แต่คนนั่งข้างๆเหงเค้าเปลี่ยนทุกๆห้าพันโลคับ อิอิ
วันที่: 23 May 06 - 23:00

 ความคิดเห็นที่: 22 / 54 : 197147
โดย: นายหนึ่ง
ตั้งแต่มาตรฐาน API SJ เป็นต้นมา น้ำมันเครื่องที่จะผ่านมาตรฐานนี้ หรือสูงกว่า

คุณสมบัติบังคับข้อหนึ่ง คือ จะต้องใช้งานได้มากกว่า 10000 กิโลเมตร เนื่องจากปัญหาสภาพแวดล้อมที่เกิดจากน้ำมันเครื่องใช้แล้วที่ทำลายได้ยาก

ดังนั้น API SL/SM ยังไง ก็ 10000 กิโลเมตร สบาย สบาย นะครับ

อย่าลืมเปลี่ยนกรองคุณภาพดีดีทุกครั้งด้วยหล่ะ
วันที่: 23 May 06 - 23:16

 ความคิดเห็นที่: 23 / 54 : 197161
โดย: J!MMY
ที่ปาเลสไตน์ โดยเฉพาะในเขต เวสแบงค์ และชนวนกาซา ที่ยิงรบกันสนุกสนานมาก
ก็ยังเปลี่ยนได้ที่ 10,000 กม. ขึ้นไป
ถ้า API เป็นเกรด SJ ขึ้นไปแล้วหนะครับ

ส่วนของเมืองไทย "รถทั่วไปที่ขายในเมืองไทยจากโรงงาน ไม่มีการแต่งเติมใดๆ"
ไม่จำเป็นที่จะต้องใช้น้ำมันสังเคราะห์ หรือกึ่งสังเคราะห์
เว้นเสียแต่ ท่านจะรักรถของท่าน
หรือทนเสียงการทำงานของเครื่องยนต์ดังๆไม่ได้
ประเภท นักฟังหูทอง ก็ตามแต่อัธยาศัย และอัฐเบี้ยเสียดอกในมือของท่านนั่นเอง

ใคร/ผ้ใช้รถคนไหน/บริษัทน้ำมันรายใด/วิทยากรตอบปัญหาเรื่องรถทางวิทยุ โง่ๆ รายใด
ที่ขยันบอกว่า น้ำมันธรรมดา เปลี่ยนที่ 5,000
กึ่งสังเคราะห์ เปลี่ยน 7,000
สังเคราะห์ เปลี่ยน 10,000 โล
ฝากพามันไปสงเคราะห์เศษชิ้นเนื้อในรอยหยักสมองหน่อยเถอะครับ
ว่าไปปากมอมกำหนดโบบนั้นได้ยังไง อยากขายน้ำมันจนตัวสั่นก็แค่เหตุผลเดีวเท่านั้นเองดอก
วันที่: 24 May 06 - 00:32

 ความคิดเห็นที่: 24 / 54 : 197163
โดย: The_Poom
ตามงบประมาณและกำลังจิตศรัทธาจะดีกว่า

323 นิวซีดาน แม่ผมขับมา8ปี ไม่เคยใช้สังเคราะห์เลย ยังไม่พังเลย

แต่ปัญหานี้คือใครมันบังคับให้ใช้สังเคราะห์กับมาสด้า3เหรอ? ทั้งๆที่มานไม่ได้เป็นเรื่องจริงซะหน่อย จะมาบังคับกานทามมาย?
วันที่: 24 May 06 - 00:39

 ความคิดเห็นที่: 25 / 54 : 197184
โดย: *~B3S~*
ปกติ หากเปลี่ยนถ่ายที่ศูนย์ไม่เคยใช้น้ำมันศูนย์ครับ แบบพวกเป็นถังใหญ่ ๆ แล้วปั่น ๆ ออกมาน่ะ ไม่กล้าเสียงครับ ต้องหิ้วเข้าไป หรือไม่ก็ขอซื้อแบบที่แกะจากแกนลอน (ส่วนมากชอบหิ้ว)

ไอ้พวกถังใหญ่ ๆ อ่ะกลัวจริง ๆ ไม่รู้ว่า น้ำมันมันจะนานแค่ไหนแล้ว เวลามันเติมให้ลูกแล้วเหลือ จะมีเทกลับหรือเปล่า (น้ำมันเครื่องที่โดนอากาศภายนอกแล้ว จะเสื่อมอายุเร็วกว่าที่เก็บมิดชิดนะครับ แถมนี่ไม่ได้โดนเปล่า อยู่ในภาชะเก่า ๆ ใส่ออกมา แล้วถ้ามีเทกลับอีก เบรื่อออออออ)

ดังนั้น ปัจจุบัน ผมก็ใช้แค่ กึ่งสังเคราะห์เป็นหลักครับ มีสังเคราะห์บ้าง หากมีลดราคาหรือโปรโมชั่นช่วงนั้น ๆ พอดี ใช้ก็ใช้ไปเรื่อย ๆ ครับ แต่ไม่เคยถึงหมื่นโลสักที่ ได้สัก 7-8 พันโล ถ้าเสียงเครื่องตอนเช้า ๆ เริ่มดัง มีเสียงวาล์วมาอรุณสวัสดิ์ยางเช้า ก็เรียกว่าได้เวลาเปลี่ยนแล้วครับ

เห็นด้วยกะพี่ตามนะครับ...จะใช้หรือไม่ใช้ ลูกค้ามีสิทธิ์เลือก ควรให้ข้อมูลที่ถูกต้อง เพื่อให้ลูกค้าตัดสินใจเอง ไม่ใช้ ให้ข้อมูลที่ผิด ๆ เพื่อเบียงเบนการตัดสินใจ

แล้วก็จิมมี่ ไอ้พวกร้านบริการด่วนทั้งหลายแหล่นะ มันก็ยังบอกแบบนั้นอยู่นะ ฝากย้ำ ๆ เตือน ๆ คนฟังรายการด้วยล่ะ ว่าที่ถูกในการเลือกซื้อเลือกใช้น่ะมันเป็นยังไง
วันที่: 24 May 06 - 03:35

 ความคิดเห็นที่: 26 / 54 : 197194
โดย: แตะเองรู
อิอิ.....ถูกต้ม...เอ๊ยถูกต้อทู๊กกกกกกกข้อ

ผมไม่เคยเปลี่ยนน้ำมันเครื่องซ้ำๆยี่ห้อกันเรย

ชอบลองไปเรื่อยๆ...ที่แน่ๆอิใหนเติมลงไป

แล้วมันดำเร็วน่ะยิ่งชอบง่ะ(มานน่ะจะชะล้างได้ดีน่ะ)

สังเคราะห์มั่ง...กึ่งมั่ง...ฯลฯ (มั่วปาย)

ที่แน่ๆเมื่อหลายปีก่อนผมใช้ Caltex แน่นอน...

เพราะอย่างน้อยผมก็เคยทำงานที่โรงกลั่นของเค้ามาเกือบ 5 ปี

เครื่องไม้เครื่องมือในห้องปฎิบัติการ(Lab)ของเค้าดีมากๆ

จำได้ติดตา..เมื่อครั้งดีเซลกำมะถันต่ำ 0.05% ออกบังคับใช้ใหม่ๆ

ที่โรงกลั่นน้ำมันสตาร์ปิโตรเลี่ยมฯ

สร้างเสร็จพอดีและเริ่มกลั่นน้ำมันครั้งแรกโดยทันที

ดีเซล Sample ขวดแรก...ผล Lab ออกมา 0.03 % (เฮกันหย่าย)

จ๊าบเจงๆ....สรุปส่วนตัวผมชอบซื้อไอ้ยี่ห้อที่มันมีโรงกลั่นเอง

พัฒนาเทคโนโลยีเองน่ะครับ

กระป๋องล่าสุดนี่ลองของ Petronas สังเคราะห์กระป๋องสีทองครับ
วันที่: 24 May 06 - 07:56

 ความคิดเห็นที่: 27 / 54 : 197198
โดย: PapaRo@chมั่วไปวันๆ~*
ล่าสุดที่เข้า0 เค้าถามนะครับ
ว่าเอาน้ำมันเครื่องมาเองมั๊ย
ถ้าไม่มี จะเอาธรรมดาหรือสังเคราะห์นะครับ
วันที่: 24 May 06 - 08:09

 ความคิดเห็นที่: 28 / 54 : 197217
โดย: ManualMan
คราวที่แล้วใช้ SL คราวนี้ใช้ SM ขับช้าๆก็แล้วไป แต่ถ้าอัดกระแทกกระทั้นก็ไม่ต้องกังวลครับ
วันที่: 24 May 06 - 08:48

 ความคิดเห็นที่: 29 / 54 : 197234
โดย: surachat_pea
ชั้นเกรดคุณภาพน้ำมันเครื่อง สำหรับเครื่องยนต์เบนซิน

API ได้กำหนดชั้นและเกรดคุณภาพของน้ำมันเครื่อง มีดังนี้

SA - เป็นน้ำมันหล่อลื่นขั้นพื้นฐานล้วนๆ ไม่มีการเติมสารเพิ่มคุณภาพเลย ปัจจุบันยกเลิกแล้ว

SB - ประกาศใช้ปี 1930 เพิ่มเพียงสารเพิ่มคุณภาพบางชนิด เช่น สารป้องกันการสึกหรอ สารป้องกันการทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศ ปัจจุบันยกเลิกแล้ว

SC - ประกาศใช้ปี 1964 เพิ่มสารชะล้าง ป้องกันตะกอนและสนิม

SD - ประกาศใช้ปี 1968 เพิ่มทุกด้านของประสิทธิภาพและสารเพิ่มคุณภาพให้ดีขึ้นจาก SC ไม่ควรเลือกใช้ในปัจจุบัน

SE - ประกาศใช้ปี 1972 เพิ่มทุกด้านของประสิทธิภาพและสารเพิ่มคุณภาพให้ดีขึ้นจาก SD ไม่ควรเลือกใช้ในปัจจุบัน

SF - ประกาศใช้ปี 1980 เพิ่มทุกด้านของประสิทธิภาพและสารเพิ่มคุณภาพให้ดีขึ้นจาก SE และเน้นป้องกันการทำปฏิกิริยากับออกซิเจนมากขึ้น ไม่ควรเลือกใช้ หากไม่จำเป็น

SG - ประกาศใช้ปี 1988 เพิ่มทุกด้านของประสิทธิภาพและสารเพิ่มคุณภาพให้ดีขึ้นจาก SF เน้นป้องกันการเกิดตะกอนตม-ยางเหนียวเพิ่มขึ้น ลดการเกิดเขม่าบนหัวลูกสูบ-ห้องเผาไหม้ และลดการสึกหรอของวาล์ว ยังพอเลือกใช้ได้ถ้าจำเป็น

SH - ประกาศใช้ปี 1992 เพิ่มทุกด้านของประสิทธิภาพและสารเพิ่มคุณภาพให้ดีขึ้นจาก SG เน้นการลดมลพิษและลดการสึกหรอเพิ่มขึ้น สามารถเลือกใช้ได้

SJ - ประกาศใช้วันที่ 15 ตุลาคม 1996 เป็นน้ำมันเครื่องสำหรับเครื่องยนต์เบนซินที่มีเกรดคุณภาพสูงสุดในปัจจุบัน เพิ่มทุกด้านของประสิทธิภาพและสารเพิ่มคุณภาพให้ดีขึ้นจาก SH เน้นการระเหยต่ำ ค่าฟอสฟอรัสต่ำ ป้องกันการทำปฏิกิริยากับออกซิเจนดีขึ้น มีอายุการใช้งานนานขึ้น
ต้องผ่านการทดสอบพิเศษด้วยมาตรฐานเหนือกว่า API SH อีก 7 ประการ คือ
1. จำกัดปริมาณของฟอสฟอรัส
2. ระดับการระเหยต่ำ
3. ทดสอบการเกิดเขม่าในอุณหภูมิสูง
4. ทดสอบการเกิดโฟมในอุณหภูมิสูง
5. ทดสอบการรวมตัวกับน้ำ
6. การรวมตัวได้ของสารหล่อลื่น
7. ความสามารถในการคงสภาพการหล่อลื่นเมื่ออุณหภูมิต่ำ

น้ำมันเครื่องเกรดคุณภาพ SJ มีคุณสมบัติโดดเด่น คือ
1. ช่วยยืดอายุการใช้งานของอุปกรณ์บำบัดไอเสีย (แคตตาลิติก คอนเวอร์เตอร์) เพราะมีการควบคุมปริมาณของฟอสฟอรัสไว้ต่ำมาก
2. ช่วยประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง
3. ลดการปล่อยมลพิษ
4. คงสภาพทุกช่วงอุณหภูมิได้ดี
5. การใช้น้ำมันเครื่องต่างชนิดต่างรุ่นผสมกันใช้งานด้วยความจำเป็น มีความเสี่ยงต่อการแยกตัวหรือส่งผลลบน้อย

SL - ประกาศใช้ปี 1999 เป็นน้ำมันเครื่องสำหรับเครื่องยนต์เบนซินที่มีเกรดคุณภาพ เพิ่มทุกด้านของประสิทธิภาพและโมเลกุลในสารเพิ่มคุณภาพยืดหยุ่นตัวใด้ดีขึ้น เน้นการระเหยต่ำ ค่าฟอสฟอรัสต่ำ ป้องกันการทำปฏิกิริยากับออกซิเจนดีขึ้น มีอายุการใช้งานนานขึ้น และเน้นการลดแรงเสียดทานในเครื่องยนต์ เด่นที่สุดในการเลือกใช้

SM - ประกาศใช้ปี 2004 มีคุณสมบัติเหนือกว่า SL อยู่หลายด้าน เป็นน้ำมันเครื่องเกรดสูงสุดที่มีใช้อยู่ในปัจจุบันกับเครื่องยนต์เบนซิน
วันที่: 24 May 06 - 09:26

 ความคิดเห็นที่: 30 / 54 : 197235
โดย: surachat_pea
การเลือกความหนืดของน้ำมันเครื่องให้ดูจากคู่มือประจำรถยนต์ แล้วใช้ให้ตรงตามกำหนด โดยเน้นเฉพาะตัวเลขที่ไม่ได้ตามด้วยตัวอักษร W แต่ถ้าไม่มีคู่มือให้เลือกตามนี้ เมืองไทยมีอากาศร้อนถึงร้อนมาก และไม่มีติดลบ สามารถเลือกใช้น้ำมันเครื่องทั้งแบบเกรดความหนืดเดี่ยวและเกรดความหนืดรวมสำหรับเมืองร้อน โดยสนใจค่าความหนืดเฉพาะค่า SAE ที่ไม่ได้ลงท้ายด้วยตัวอักษร W เป็นความหนืด 40 หรือ 50

เครื่องยนต์ใหม่ สามารถใช้น้ำมันเครื่องความหนืด SAE 30,SAE 40 ใสหน่อยได้ เพราะชิ้นส่วนยังไม่มีช่องว่างห่างมากนัก ส่วนเครื่องยนต์เก่า ควรใช้ความหนืด SAE 50 หรือ หากเลือกใช้เองเป็นความหนืด SAE 40 ให้ดูด้วยว่ามีการ"กินน้ำมันเครื่องมากผิดปกติไหม" (ไม่ควรเกิน 2,000-3,000 กิโลเมตรต่อน้ำมันเครื่อง 0.5-1 ลิตร) และมีควันสีขาวอมฟ้าจากการเผาไหม้น้ำมันเครื่องที่เล็ดลอดเข้าห้องเผาไหม้ผสมออกมากับไอเสียหรือไม่ ถ้าผิดปกติให้เปลี่ยนไปใช้ความหนืด SAE 50

สำหรับ กำหนดการเปลี่ยนถ่าย น้ำมันเครื่องชั้นคุณภาพ API SJ,SLและSM เกิน 10,000 KM.ขึ้นไปครับ
เพราะผมเคยเอาน้ำมันเครื่องที่ใช้แล้วเหล่านี้ไปตรวจคุณภาพ ที่ห้องปฎิบัติการ บริษัท เมโทร แคท
(ประเทศไทย)จำกัด ผลปรากฎว่า ความยืดหยุ่นของโมเลกุลความหนืดยังเป็นปรกติ แต่จำนวนฝุ่นคาร์บอนที่น้ำมันเครื่องดูดซับมามีมีจำนวนมากแต่ก็จะไปค้างอยู่ที่กรอง บ่งบอกถึงการสันดาปที่ไม่
สมบูรณ์ ส่วนเศษโลหะที่เกิดจากการสึกหรอของเครื่องยนต์มีไม่มากอยู่ในเกรณ์ปรกติ ปริมาณฟองอากาศแทบไม่มีเลย แสดงว่าจากตัวอย่างน้ำมันที่นำไปทดสอบ ยังสามารถใช้งานได้ตามปรกติ ยังสามารถปกป้องการสึกหรอ ระบายความร้อน ต่อต้านการรวมกับออกซิเจนและยังใช้ได้โดยไม่ต้อง
เปลี่ยบถ่ายทิ้ง ช่วยประหยัดเงินตราต่างประเทศ ลดมลพิษ และรักษาสิ่งแวดล้อมครับ
วันที่: 24 May 06 - 09:27

 ความคิดเห็นที่: 31 / 54 : 197236
โดย: surachat_pea
ขอคัดลอกบทความรู้เกี่ยวกับน้ำมันเครื่องจาก"ผู้จัดการออนไลน์"ครับ

API SM คุณภาพสูงสุดน้ำมันเครื่องสำหรับเบนซิน

ผู้จัดการออนไลน์ 7 กุมภาพันธ์ 2548 12:01 น. โดย วรพล สิงห์เขียวพงษ์


ปลายปี 2004 API สถาบันใหญ่ด้านปิโตรเลียมในสหรัฐอเมริกา ประกาศรับรองคุณภาพสูงสุดน้ำมันเครื่องเบนซินเกรดใหม่ SM แค่ช่วงไม่กี่สิบวันแรก มีบริษัทน้ำมันเครื่องขอการรับรองแล้วกว่า 400 ราย ที่สำคัญ...มีบริษัทน้ำมันเครื่องของไทยรวมอยู่ด้วย

พร้อมกับลบความเข้าใจผิดเรื่องสัญลักษณ์วงกลม DONUT และตัวอักษร API บนกระป๋องน้ำมันเครื่องที่หลายคนคิดว่าต้องส่งน้ำมันเครื่องไปและผ่านการทดสอบอย่างละเอียดโดย API ทั้งที่ความจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้น!

เกรดคุณภาพน้ำมันเครื่องสำหรับเครื่องยนต์เบนซิน หากอ้างอิงตาม API ซึ่งเข้าใจได้ง่าย ก็คือ นำหน้าด้วยตัว S เสมอ ตามด้วยตัวอักษรที่ยิ่งไกลจาก A เท่าไร ก็ยิ่งมีคุณภาพดี ไล่จาก SA SB SC SD SE SF SG SH SJ SL ข้าม SI SK ไปโดยไม่บอกเหตุผล ล่าสุดเพิ่งออก SM

การเลือกใช้น้ำมันเครื่อง ควรใช้ระดับใกล้สูงสุดไว้ ในปัจจุบันแนะนำ SM SL SJ ส่วนเกรดต่ำกว่านั้น ไม่น่าสนใจแล้ว โดยไม่จำเป็นต้องสูงสุดเสมอไปใกล้ๆไว้เป็นพอ และถึงจะเป็นน้ำมันเครื่องธรรมดาก็ใช้ได้ถึง 10,000 กิโลเมตร ถ้าเป็นสังเคราะห์ก็ทนได้ถึง 15,000-20,000 กิโลเมตร API หรือ AMERICAN PETROLEUM INSTITUTE จะมีการประกาศรับรองน้ำมันเครื่องเกรดคุณภาพสูงสุดมาตรฐานใหม่ทุกประมาณ 3-5 ปี

ล่าสุดเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2004 คือ API SM สำหรับเครื่องยนต์เบนซิน โดยระบุคร่าวๆ ว่าดีขึ้นจากเกรดคุณภาพ SL คือปรับปรุงเรื่องต่อต้านการทำปฏิกิริยากับออกซิเจน, ปรับปรุงเรื่องป้องกันการเกิดตะกอน, เพิ่มการปกป้องความสึกหรอ, พัฒนาให้ทำงานได้ดีตั้งแต่อุณหภูมิต่ำ และคงประสิทธิภาพที่ดีตลอดอายุการใช้งาน

เพียงช่วงแรกที่ประกาศ API SM ก็มีบริษัทน้ำมันเครื่องได้การรับรองไปแล้วกว่า 400 ราย 1 ในนั้น คือ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) น้ำมันเครื่อง PTT PERFORMA SUPER SYNTHETIC เกรดความหนืด 0W-40 และทราบมาว่าอีกหลายยี่ห้อก็กำลังดำเนินการและเตรียมออกสู่ตลาดไทยในปีนี้

บริษัทน้ำมันเครื่องส่วนใหญ่มีเทคโนโลยีใกล้เคียงกัน ดังนั้นการผลิตน้ำมันเครื่องให้มีคุณภาพตามต้องการ
หรือให้ผ่านมาตรฐานการรับรองโดยสถาบันที่ได้รับความเชื่อถืออย่าง API จึงไม่ใช่เรื่องเกินความสามารถ ประเทศเล็กๆ อย่างไทยก็ทำได้ทัดเทียมต่างชาติ

สิ่งที่ยากกว่า คือ การสร้างความเชื่อถือให้ผู้บริโภค เพราะแม้น้ำมันเครื่องจะมีคุณภาพทุกด้านเกือบเหมือนกัน
มีต้นทุนการผลิตใกล้เคียงกัน แต่ยี่ห้อที่สร้างภาพพจน์ได้ดี จะสามารถตั้งราคาได้แพงกว่า ที่แปลกก็คือ น้ำมันเครื่องระดับคุณภาพเดียวกัน ยี่ห้อที่ไม่ดังและขายถูกกว่า (เพราะต้นทุนจริงไม่แพง และไม่ได้ปั่นราคา) มักถูกมองในแง่ลบว่าด้อยคุณภาพ หลายคนไม่กล้าซื้อใช้ เพราะกลัวใส่แล้วเครื่องโทรมหรือเครื่องพัง

ลบความเชื่อผิดๆ เรื่อง API และ DONUT

หลายคนคิดว่า น้ำมันเครื่องมีมีตราวงกลมคล้ายโดนัท นั่นคือ ได้ส่งน้ำมันตัวอย่างไปให้ API ทดสอบ และผลต้องผ่าน ในเนื้อน้ำมันเดียวกันกับที่ขาย ในความเป็นจริงกลับไม่ใช่ และไม่ได้ส่งเนื้อน้ำมันไปทดสอบ เพราะเป็นแค่การขอการรับรอง โดยกรอกรายละเอียด และเหมือนผู้ผลิตหรือจำหน่ายน้ำมันนั้น เป็นการรับรองตัวเอง พร้อมเสียค่าธรรมเนียมให้ API โดยไม่ได้ส่งเนื้อน้ำมันให้ API ทดสอบแต่อย่างไร

ส่วนน้ำมันเครื่องที่ไม่ได้มีตราโดนัทข้างกระป๋อง แต่ระบุเกรดคุณภาพเป็นตัวย่อตาม API ถึงจะไม่ได้ขอการรับรองไป แต่ก็เทียบเกรดเองได้ ไม่ว่าน้ำมันเครื่องนั้นจะได้รับตราโดนัทหรือไม่ ก็มีแค่ความเชื่อใจต่อผู้ผลิตหรือจำหน่ายเท่านั้นว่า เนื้อน้ำมันในกระป๋องที่ขายออกมา จะมีคุณภาพตรงตามที่ระบุไว้

น้ำมันเครื่องที่ขาย = น้ำมันพื้นฐาน + สารเพิ่มคุณภาพ

หลายคุณสมบัติพิเศษสำคัญๆ ของน้ำมันเครื่อง ไม่ได้มาจากน้ำมันพื้นฐานหรือ BASE OIL (MINERAL OIL, PAO-POLYALPHAOLEFIN หรือ HYDROCRACK) และขบวนการผลิตเท่านั้น แต่ต้องมีการผสมสารเพิ่มคุณภาพหรือ ADITIVE ลงไปด้วย

ในอุตสาหกรรมน้ำมันหล่อลื่น มีผู้ผลิต BASE OIL และ ADITIVE เพียงไม่กี่ราย (รายใหญ่ของการขาย ADDITIVE ไม่ถึง 10 รายเท่านั้น) โดยเฉพาะผู้ผลิต ADDITIVE รายใหญ่ๆ ล้วนต้องทดลองผสม ทดสอบเอง และส่ง API ทดสอบมาแล้วว่าถ้านำ BASE OIL ชนิดไหน มาผสมกับ ADITIVE ตัวใด (ใช้หลายตัว) แล้วจะได้น้ำมันเครื่องเกรดคุณภาพและเกรดความหนืดใด

เนื่องจากผู้ผลิต ADDITIVE รายใหญ่ๆ ล้วนมีการทดสอบด้วยตัวเอง และส่งตัวอย่างน้ำมันเครื่องให้ API และสถาบันอื่นๆ ทดสอบอย่างละเอียดแล้ว ทั้งในห้องแล็บและการใช้งานจริง ซึ่งต้องใช้น้ำมันเครื่องจำนวนมหาศาล ใช้เวลานาน และมีค่าใช้จ่ายสูงหลายแสนหรือนับล้านบาท เมื่อทดสอบครบทุกขั้นตอนแล้วจึงกำหนดว่า น้ำมันเครื่องนั้นมีเกรดคุณภาพระดับใด

ดังนั้นเมื่อจะขายสารเพิ่มคุณภาพออกมา ก็เหมือนมีสูตรสำเร็จว่า ถ้าซื้อสารตัวใดนำไปผสมตามกำหนดกับน้ำมันพื้นฐานชนิดใด แล้วจะได้เกรดคุณภาพตาม API เป็นอะไร โดยไม่ต้องทดสอบซ้ำอีกแล้ว

มาตรฐานการแบ่งเกรดคุณภาพน้ำมันเครื่อง ไม่ได้มีแต่ของ API เพียงรายเดียว และ API เองก็มีการอ้างอิงจากแหล่งอื่นด้วย จึงเหมือนเป็นข้อตกลงของหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เช่น อุตสาหกรรมน้ำมันหล่อลื่น, บริษัทผลิตยานยนต์และเครื่องยนต์ ประกอบด้วย ฟอร์ด เจนเนอรัล มอเตอร์ส และเดมเลอร์ไครสเลอร์, สมาคมผู้ผลิตรถยนต์ญี่ปุ่น JAMA, และสมาคมผู้ผลิตเครื่องยนต์

ประสิทธิภาพที่ต้องการจากน้ำมันเครื่อง, ขั้นตอนการทดสอบ และข้อจำกัด เป็นการร่วมกันจัดตั้งโดยผู้ผลิตยานยนต์และเครื่องยนต์, สมาคมเทคนิค THE SOCIETY OF AUTOMOTIVE ENGINEERS (SAE), THE AMERICAN SOCIETY FOR TESTING AND MATERIALS (ASTM), ชมรมอุตสาหกรรม THE AMERICAN CHEMISTRY COUNCIL รวมทั้ง API

ในเมื่อผู้ผลิต BASE OIL และ ADITIVE ซึ่งมีเพียงไม่กี่ราย ได้ผสมน้ำมันเครื่องหลายร้อยสูตร ทดสอบอย่างละเอียด แบ่งเป็นคุณภาพและคุณสมบัติต่างๆ ไว้แล้ว

บริษัทน้ำมันเครื่องที่จำผสมออกขาย ก็เพียงเลือกว่าจะทำตลาดด้วยน้ำมันเครื่องชนิดใดและเกรดคุณภาพใด จากนั้นก็สั่งซื้อ BASE OIL กับ ADITIVE ตามสเปค มาผสมและจำหน่ายในยี่ห้อของตนเอง ไม่ต้องทดสอบซ้ำ ก็พอจะเชื่อได้ว่าได้มาตรฐานตามที่เลือกไว้ ซึ่งต้องเชื่อใจผู้ขาย BASE OIL กับ ADITIVE ว่าจะไม่ตุกติกด้วย

หากต้องการให้ API รับรอง (มีสัญลักษณ์ DONUT STARBURST และ API) ก็เพียงกรอกแบบฟอร์มยืนยันส่วนผสมต่างๆ ของน้ำมันเครื่องนั้นส่งให้ API ไม่ต้องส่งตัวอย่างน้ำมันเครื่องให้ เพราะเหมือนทดสอบซ้ำ สิ้นเปลืองทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย รวมทั้ง API ก็ไม่มีเวลาทดสอบได้ครบทุกยี่ห้อ

แบบฟอร์มขอการรับรองจาก API เปรียบเสมือนสัญญารับรองตนเองของผู้ผลิตหรือจำหน่ายน้ำมันเครื่อง ว่าน้ำมันเครื่องมีคุณสมบัติตรงตามที่ให้ข้อมูลไว้จริง โดย API จะมีการสุ่มตรวจเป็นบางรายในภายหลัง ซึ่งก็แทบไม่พบว่ามีการสุ่มตรวจ เพราะมีกว่าร้อยประเทศและมีน้ำมันเครื่องหลายพันรุ่นในโลกที่ขอการรับรอง เทคโนโลยีของน้ำมันเครื่อง มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง มีเกรดคุณภาพใหม่ๆ กำหนดขึ้นทุก 3-5 ปี เราไล่ตามหาความรู้ได้ไม่ยาก...ถ้าสนใจ ! และไม่จำเป็นต้องรู้ลึก
วันที่: 24 May 06 - 09:29

 ความคิดเห็นที่: 32 / 54 : 197240
โดย: surachat_pea
ข้อมูลที่นำมาลงได้นำมาจาก
http://www.gasthai.com/boardgas/question.asp?page=3&id=A57

ซึ่งเป็นกระทู้ของคุณเต้ ครับ มีประโยชน์มาก
อ่านแล้วเข้าใจขึ้นมาก โดยเฉพาะเรื่องการรักษาสิ่งแวดล้อมของเรา
วันที่: 24 May 06 - 09:35

 ความคิดเห็นที่: 33 / 54 : 197242
โดย: surachat_pea
รวมความเข้าใจผิดเรื่องน้ำมันเครื่อง
โดย ผู้จัดการออนไลน์ วรพล สิงห์เขียวพงษ์

น้ำมันเครื่องมีความสำคัญต่อความทนทานและกำลังของเครื่องยนต์ จำเป็นต้องมีการเลือกและใช้อย่างมีหลักการ แต่หลายคนยังมีความเข้าใจผิด
บทความนี้รวบรวมความเข้าใจผิดเรื่องน้ำมันเครื่อง

-เน้นแค่ยี่ห้อดัง
หลายคนซื้อน้ำมันเครื่องโดยเน้นเลือกยี่ห้อเดียวกับที่มีปั๊มน้ำมัน
เพราะคิดว่าจะมีคุณภาพดี ตามความโด่งดังของยี่ห้อ ทั้งที่ในยี่ห้อเดียวก็มีให้เลือกหลายระดับคุณภาพ
ความจริงแล้วมีน้ำมันเครื่องคุณภาพดีอีกนับสิบยี่ห้อ ที่ไม่มีปั๊ม น้ำมันในไทย และจำหน่ายในราคาไม่แพง
ไม่ควรเห็นแค่ยี่ห้อแล้วเลือกใช้ ต้องดูที่เกรดคุณภาพตามมาตรฐานของ API (www.api.org) ในสหรัฐอเมริกา ที่ระบุไว้ข้างกระป๋อง จำไม่ยากเลย เครื่องยนต์เบนซิน เกรดคุณภาพสูงสุด API SL รองลงมาคือ SJ SH SG ตามลำดับ
ปัจจุบันนี้ API SL และ SJ น่าใช้ที่สุด ส่วนเครื่องยนต์ดีเซล เกรดคุณภาพสูงสุด API CI-4 รองลงมาคือ CH-4 CG CF ตามลำดับ ปัจจุบันนี้ API CI-4 และ CH-4 น่าใช้ที่สุด
น้ำมันเครื่องยิ่งมีเกรดคุณภาพต่ำ ก็ยิ่งมีราคาถูก และลดการปกป้องเครื่องยนต์ลงไป ควรเลือกเกรดคุณภาพอย่างน้อยรองจากสูงสุด
นอกจากนั้นยังต้องดูความหนืดตามมาตรฐานของ SAE (www. sae.org) สหรัฐอเมริกา ว่าเลข 2 ตัวท้าย เช่น 30 40 หรือ 50 ตรงตามการแนะนำในคู่มือประจำรถหรือไม่ โดยไม่ต้องสนใจตัวเลขหน้า W เพราะนั่นเป็นค่าที่ได้การวัดความหนืดที่18 องศาเซลเซียสไม่ใช่สภาพของไทย
ชนิดของน้ำมันเครื่องก็ต้องสนใจ ธรรมดา กึ่งสังเคราะห์ และสังเคราะห์ ดีจากน้อยมามากตามลำดับ
เลือกยี่ห้ออย่างเดียวไม่ได้ ต้องเลือกเกรดคุณภาพ ระดับความหนืด และชนิด ให้ครบครัน

-ดูแค่ข้างกระป๋องว่า เบนซิน/ดีเซล
ข้างกระป๋องน้ำมันเครื่องหลายยี่ห้อหลายรุ่น นอกจากจะระบุรายละเอียดอื่นๆ ข้างต้นไว้ครบครันแล้ว ก็อาจจะมีประโยคบอกเพิ่มว่า เหมาะสำหรับเครื่องยนต์เบนซินหรือดีเซล หรือเหมาะทั้ง 2 อย่างเลย หลายคนเห็นประโยคนั้นก็เลือกใช้ โดยไม่ได้สนใจดูว่ามีเกรดคุณภาพตาม API เป็นอย่างไร
จริงๆ แล้ว ไม่ต้องระบุเพิ่มก็ได้ เพราะเกรดคุณภาพตามท้ายตัวย่อ API ก็มีระบุไว้อยู่แล้วว่าใช้กับเครื่องยนต์ประเภทใดได้ดีเพียงไร และบางครั้งระบุว่าเหมาะสำหรับเครื่องยนต์เบนซิน แต่มีมาตรฐานแค่ API SH ห่างจากมาตรฐานสูงสุดตั้ง 2 ระดับก็ยังมี

-หมดสภาพเพราะดำ หรือนิ้วแตะ
น้ำมันเครื่องที่ดำ อาจเป็นเพราะมีสารชะล้างที่ดี หรือภายในเครื่องยนต์สกปรก และเมื่อดำแล้ว คุณสมบัติอื่นๆ เช่น การหล่อลื่น การลดความร้อน รวมถึงการชะล้างเอง อาจไม่ได้หมดลงตามสีที่เปลี่ยนไป
บางคนใช้นิ้วแตะๆ น้ำมันเครื่องจากก้านวัด แล้วตัดสินว่าหมดอายุ หรือยัง ในความเป็นจริง หากจะทราบว่าน้ำมันเครื่องหมดอายุหรือยัง จะต้องนำน้ำมันเครื่องนั้นเข้าห้องทดลองทางวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะ ไม่งั้นก็ต้องตัดสินจากระยะทางหรืออายุที่ใช้งานตามที่ปฏิบัติกัน จะเดาจากสีหรือความเหนียวหลังจากแตะกับปลายนิ้วไม่ได้

-กลัวปลอม ซื้อในปั๊ม
มีคำถามคาใจว่า ดูน้ำมันเครื่องปลอมได้อย่างไร? คำตอบก็คือ ตัวเนื้อน้ำมันเครื่องต้องส่งเข้าห้องทดลองทางวิทยาศาสตร์เท่านั้น จะชิม ดม แตะไม่ได้
นอกนั้นต้องดูที่ตัวกระป๋องว่ามีสภาพปกติ มีสีสันปกติ รวมถึงฝาปิดมีการซีลตามที่คุ้นเคยหรือไม่
แน่นอนว่ามีน้ำมันเครื่องปลอมอยู่ในตลาดอยู่ไม่น้อย จึงต้องระวัง แต่ถ้าจะซื้อตามปั๊มเท่านั้นก็จะมีราคาแพง เสียโอกาสเลือกน้ำมันเครื่องตาม ร้านทั่วไป ที่มีสารพัดยี่ห้อ และก็ไม่ได้ปลอมไปทั้งหมด

-ต้องเต็มขีดบนเสมอ
หลายคนเน้นว่าเครื่องยนต์ต้องมีน้ำมันเครื่องเต็มขีดบนเสมอ ในความเป็นจริง เครื่องยนต์จะสามารถทำงานได้ปกติ หากระดับน้ำมันเครื่อง อยู่ในช่วงขีดบนและล่าง ไม่จำเป็นต้องเต็มขีดบนเท่านั้น
ถ้าเติมครั้งใหม่ เติมให้เต็มขีดบนก็ดี แต่ถ้าผ่านการใช้งานมาแล้ว อีกไม่นานจะครบกำหนดเปลี่ยน และน้ำมันพร่องลงไปบ้าง หากยังไม่ต่ำกว่าขีดล่างสุด ก็ไม่จำเป็นต้องเติมเพิ่มให้สิ้นเปลือง
ยกเว้นกรณีขึ้นลงทางลาดชันมากบ่อยๆ น้ำมันเครื่องควรเต็มขีดบนอยู่เสมอ เพราะผิวน้ำมันจะเอียงไม่ได้ระดับขนานกับขอบอ่างน้ำมันเครื่องอยู่เสมอ

-เปลี่ยนบ่อยไว้ก่อน
น้ำมันเครื่องยุคใหม่มีคุณภาพและความทนทานขึ้น แต่หลายคนยังเปลี่ยนน้ำมันเครื่องตามกำหนดดั้งเดิม 3,000-5,000 กิโลเมตร ด้วยแนวคิดปลอดภัยไว้ก่อน ห่วงเครื่องยนต์ แต่เปลืองเงินไม่สน สบายใจเข้าว่า
ในความเป็นจริง น้ำมันเครื่องทุกชนิด ไม่เฉพาะแต่สังเคราะห์ ถ้าเป็นเกรดคุณภาพตาม API 2-3 ระดับสูงๆ สามารถใช้งานได้เป็นระยะทาง 10,000 กิโลเมตร หรือถ้าการจราจรติดขัดมาก รวมถึงมีฝุ่นในเส้นทางเยอะ ก็ค่อยลดระยะทางลงมาจากเดิมสัก 1,000-2,000 กิโลเมตร
การเปลี่ยนน้ำมันเครื่องเร็วเกินไป นอกจากสิ้นเปลืองเงินแล้วยังเป็น การเพิ่มขยะพิษให้กับโลกอีกด้วย แม้จะมีการนำน้ำมันเครื่องเก่าไปรีไซเคิล กับงานอื่น แต่สำหรับในไทย ต้องถือว่าการป้องกันน้ำมันเครื่องเก่าไม่ให้กระจายสู่ธรรมชาติเป็นไปอย่างไม่รัดกุมเลย

-น้ำมันราคาถูก เปลี่ยนเร็ว
หลายคนคิดว่า เสียเงินน้อยซื้อน้ำมันราคาถูก แล้วเปลี่ยนบ่อยๆ จะดีกว่า ในความเป็นจริง การสึกหรอจะเกิดขึ้นได้ทันทีที่เครื่องยนต์ทำงาน เมื่อน้ำมันเครื่องนั้นไหลเวียนในครั้งแรกและตลอดไปจนกว่าจะถ่ายออก ถ้าฝืดก็ฝืดไปตลอด ถ้าลื่นก็ลื่นไปตลอด
ดังนั้นเสียเงินซื้อน้ำมันเครื่องคุณภาพสูงราคาแพงสักหน่อย แต่ไม่ต้องเปลี่ยนบ่อยให้เสียเวลาจะดีกว่า

-รถไม่แพง ใช้น้ำมันเครื่องราคาถูกหรือคุณภาพต่ำ
ถ้าเครื่องยนต์ปกติดี ไม่กินน้ำมันเครื่อง จะเป็นรถราคาแพงถูก-แพง เก่า-ใหม่ ก็ควรใช้น้ำมันเครื่องคุณภาพดี และเปลี่ยนตามกำหนดที่เหมาะสม เครื่องยนต์จะได้ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพและทนทาน
ความเข้าใจผิดถูกลบล้างได้ด้วยการหาความรู้เพิ่มเติม และคิดทบทวนด้วยหลักวิทยาศาสตร์
วันที่: 24 May 06 - 09:36

 ความคิดเห็นที่: 34 / 54 : 197305
โดย: papii
ขอปรบมือให้คุณ surachat_pea ดังๆ นานๆ
เมื่อ กว่า 25 ปีมาแล้ว ผมเปลี่ยน ม.เครื่องที่ 8000 - 10000 กม.
ม.เครื่องที่เป็น mineral oil นี่แหละ ไม่ใช่ synthetic ที่ไหน ตอนนั้นแค่ SD SE SF เองมั้ง
รถผมวิ่งเกือบสองแสน กม. ไม่เห็นเครื่องมันหลวมตรงไหน
วันที่: 24 May 06 - 13:08

 ความคิดเห็นที่: 35 / 54 : 197373
โดย: mooyong*-*
แง่ะ เราเป็นคนหนึ่งล่ะ ที่ไม่ค่อยรู้เรื่องเกี่ยวกับพวกนี้เลย และส่วนใหญ่จะขับอย่างเดียว และเรื่องนี้ก็เป็นที่สงสัยตลอดมาเหมือนกัน ว่ารถมาสด้าสามของเราจิงๆแล้วต้องใช้น้ำมันอะไร เอาเข้าศูนย์เด๋วศูนย์ก้อคงจัดการให้ (คิดไว้แบบนี้ตลอดเพราะขับอย่างเดียวจิงๆ) ทีนี้ถึงคราวที่ว่าเห็นเพื่อนๆบอกว่า หิ้วน้ำมันไปเองดีกว่าประหยัดกว่า ใช้น้ำมันที่ศูนย์ ก้อเลยเดือดร้อนขึ้นมาเลยเพราะไม่มีความรู้เรื่องน้ำมันเครื่อง ก้อพยายามไปหาข้อมูลอ่านตามเวป ตามกระทู้ต่างๆ แต่ก้อไม่เข้าใจเท่าไหร่ แต่โดยสรุปก็เลยเชื่อตามที่เพื่อนแนะนำว่าใช้อันนี้สิดี ก้อเลยไปลองซื้อมาใช้ ทั้งๆที่ก้อไม่รู้เลยว่าที่บอกว่าดีมันดียังไง ง่ะ
มันช่างเป็นเรื่องที่ยากจริงๆ สำหรับผู้หญิงที่ขับรถเป็นอย่างเดียว แบบเรา เฮ้อ
วันที่: 24 May 06 - 18:15

 ความคิดเห็นที่: 36 / 54 : 197375
โดย: ton_mct
อยากรู้จริงๆ ก็เอาไว้คุยกันตอนเจอกันดีกว่ามั้ย เดี๋ยวยาว ขี้เกียจพิมพ์
วันที่: 24 May 06 - 18:24

 ความคิดเห็นที่: 37 / 54 : 197403
โดย: J!MMY
เจอบทความลุงเค้าไป มึนไหมครับ อิอิ

พี่ ภู

ผมทั้งเตือน ทั้งบอก ทั้งด่า ไปแล้วไม่รู้กี่หน
ยังมีไอ้พวกกระบือพวกนั้นอยู่ ไม่รุ้จะว่าอย่างไรแล้ว

ที่หนักสุด
มีแท็กซี่คันนึง โทรมาถามในรายการเราเมื่อวานนี้เองหมาดๆ


ทั้งที่รายการเรา ย้ำกันแทบทุกวัน พูดกันแทบทุกสัปดาห์ ว่าเปลี่ยนที่ หมื่นโล ได้แล้ว
ก็ยังจะ....

เฮ้อ...
วันที่: 24 May 06 - 20:55

 ความคิดเห็นที่: 38 / 54 : 197412
โดย: Nuay@Protege
คุยกันตอนมีทติ้ง..

มันก็จะยิ่งยาวน่ะสิพี่ต้น(ฮา)
วันที่: 24 May 06 - 21:36

 ความคิดเห็นที่: 39 / 54 : 197523
โดย: Oni
เรื่องน้ำมันเครื่องเนี่ย คุยกันไม่มีวันจบเลยคับ ทั้งหมดที่อ่านมานั้น ต้องเอามารวมกันคับ จะได้เรื่องที่ถูกต้องทั้งหมดของเรื่องน้ำมันเครื่องเลย เอางี้ ผมช่วยเพิ่มอีกนิดว่า
มีคนจำนวนหนึ่ง (เคยเล่าๆมา) ว่าการเปลี่ยนถ่านน้ำมันเครื่องช้าเร็วเนี่ย ควรจะดูที่จำนวนรอบเครื่องยนนับตั้งแต่วันเปลี่ยนถ่ายน้ำมันแล้ว (สังเกตถ้ารถเก่าๆ จะมีตัวเลขนับรอบเครื่องสะสมให้ด้วย)แต่ในทางปฎิบัติแล้วมันทำไม่ได้ แต่พออธิบายได้ว่า ถ้ารถเราติดไฟแดงนานๆ ทั้งๆที่เครื่องติดอยู่ และรอบเครื่องก็เดินไปเรื่อยๆ เราก็ควรต้องนับไปด้วย ถ้างั้นรถที่วันๆเอาแต่ติดไฟแดง ก็คงวิ่งไม่ถึง 10000 หรือ 5000 โลซักทีจริงไหม ดังนั้นรถในกลุ่มนี้ อาจจะต้องเปลี่ยนน้ำมันเครื่องเร็วขึ้น โดยไม่ต้องรอให้กิโลเมตรถึงกำหนดก็ได้ ทั้งนี้ เป็นเพียงทฤษฏี บอกสู่กันฟังเพื่อเก็บไว้พิจารณานะคับ

ส่วนที่บ้านผมนั้น คันเก่าผมใช้ ธรรมดา (จริงๆ) แกลลอนละ 380 จนวันนี้ร่วม 22 ปีแล้ว ก็ยังใช้ได้ดี ไม่หลวม ไม่ดัง และยังไม่ต้องยกเครื่อง ส่วนคันใหม่นั้น ผมใช้ กึ่งสังเคราะห์ จำราคาไม่ได้ ประมาณ 700 ก็ว่าเฉยๆนะ ตามความรู้สึกรถใหม่ เจ้าของก็ต้องห่วง ก็เลยเพิ่มให้มันนิดนึง อิอิ..
โดยส่วนตัวแล้ว ผมเป็นห่วงเรื่องน้ำมันเครื่องมันหมดอายุมากกว่า คือน้ำมันเครื่องที่ถูกเปิดใช้แล้ว หรือโดนอากาศบ่อยๆเนี่ย จะเสียเร็ว ตามมาตรฐานอู่อยู่ที่ ประมาณ 6 เดือน ปัญหาของผมมีอยู่ว่า ใช้ระยะไม่ถึง เพราะเมืองเล็ก บ้านใกล้ที่ทำงาน ทางไปไม่ต้องผ่านไฟแดง 6 เดือนเนี่ย ก็เลยขับไม่ถึงซักกะที.... (ใช้รถสองคัน ระยะทางแบ่งครึ่ง)
ผมมีความคิดว่ากำลังจะเปลี่ยนไปใช้ สังเคราะห์ เลย จะได้ไปเปลี่ยนที่ 12 เดือน แต่ผมไม่รู้ว่าคิดถูกหรือเปล่า (คิดเอาเอง) เพราะเข้าอู่เปลี่ยนทีนึง ค่าน้ำมันเครื่อง + ใส้กรอง ก็ พันกับเศษตังนิดนึง งั้นเอา Ptt สังเคาะห์ 1200 ไปเปลี่ยนเลย ถ้าอยู่ได้ ปีจริงก็ประหยัดกว่าหน่อย แต่ไม่รู้ว่าผมคิดถูกไหม ใครช่วยติติงหน่อย

สรุปคือ รถธรรมดา คนขับธรรมดา ขับแบบธรรมดา รถที่ไม่ได้แต่งอุปกรณ์พิเศษใด ก็ใช้ได้ตั้งแต่ ธรรมดาแหละครับ แต่ถ้าเป็นห่วงหรือทั่วไป ก็ใช้กึ่งก็ได้ (ท่านประธานของเรายังใช้กึ่งเลย) แต่ถ้ารักมากๆ ก็ใช้สังเคราะห์ไปเลย ถ้าพูดถึง M3 นั้น ถ้าอยากจะใช้ กึ่งก็ได้ครับ หรืออยากใช้ ธรรมดาเลยก็ไม่ห้ามคับ (แต่คงไม่มีใครเคยลอง)

ของเม้าต่ออีกหน่อย พ่อแม่ผมใช้รถยี่ห้อ H รุ่น 3ตัวอักษร คันใหญ่ๆนะ ที่ศูนย์เปลี่ยนน้ำมันเครื่องจากถังรวม คิดครั้งละ 400 บาท และบอกเราว่า ให้ใช้รถได้อีก 10000 โล ถึงจะเปลี่ยนครั้งต่อไป โห... เนี่ยนะมาตรฐานอู่
ถามอู่ก็ไม่ยอมบอกเกรด มันบอกเพียงว่า เป็นน้ำมันเครื่องมาตรฐาน ที่รถรุ่นนี้สามารถใช้ได้หมื่นโล ไม่รู้ยังไง ผมอธิบายไง พ่อแม่ก็เชื่ออู่ไว้ก่อน.... เล่าสู่กันฟัง ลองเอาไปพิจารณาดูครับ
วันที่: 25 May 06 - 10:39

 ความคิดเห็นที่: 40 / 54 : 197532
โดย: ตาม
ก็ไม่แปลกนี่ครับ ที่ศูนย์ Honda จะบอกแบบนั้น

รถ Honda รุ่นใหม่ ๆ ขอแค่เกรด SG, SJ ขึ้น ถ่ายที่หมื่นโลได้ ในคู่มือบอกชัดเจน

เค้าก็เอาที่ผ่านมาตรฐานตามคู่มือมาใส่ถังยักษ์ ๆ รอไว้เลย ถ่ายกันทั้งวันทั้งคืน

ถ้าใครใช้รถช้าหน่อย หกเดือนไม่ถึงหมื่นโล ก็ควรจะมาเปลี่ยนก่อน

ศูนย์ต้องกำหนดสเปคกลางครับ เพราะศูนย์ไม่รู้ว่าใครใช้รถอย่างไร มากน้อยแค่ไหน

บางคนหกเดือนไม่ถึงหมื่นโล เพราะจอดติดอย่างเดียว ถ้าเอาชั่วโมงที่จอดติดไปวิ่งอาจจะ

ได้สักหมื่นห้าพันโลก็ได้ คนใช้ต้องสังเกตและคาดคะเนดูเอาด้วยครับ

แต่บอกไว้ก่อนว่า น้ำมันเครื่องธรรมดานี่ไม่กระจอกนะครับ

มันเป็น mass product ที่ต้องขายทั้งโลก ทำออกมาห่วย ๆ API ไม่รับรองแน่นอน

ระดับศูนย์ Honda ยังไงเค้าก็ไม่เอาชื่อเสียงไปเสี่ยง อาจจะไม่ได้ดีมากมายอะไร

แต่ผ่านสเปคขั้นต่ำที่เครื่องต้องการแน่นอนครับ
วันที่: 25 May 06 - 10:59

หน้าที่: 1   [2]   3