Close this window

ถามเรื่องวงจรไฟ LED หน่อยครับ
ขอรบกวน ท่านที่รู้เรื่อง อิเลคโทรนิคหรือไฟฟ้าหน่อยครับ

คือผมกำลังปิ๊งไอเดีย บางไอเดีย ที่จะปรับปรุง Productivity ของน้องๆในแผนกน่ะครับ เพราะว่าตรวจสอบข้อมูลย้อนหลังมา 2-3 ปีที่ผ่านมา ประสิทธิภาพ ของน้องๆแผนกนี้ ไม่กระเตื้องขึ้น อย่างที่ควรเป็น

ก็พยายามเข้าใจพวกเขาครับ ว่า " คุณเธอ" ทั้งหลายคงไม่มีทักษะในเรื่องเทคนิคหรือวิธีการทางช่างแน่ๆ (ธรรมชาติของผู้หญิงส่วนใหญ่ครับ) แต่ด้วยความจำเป็นต้องใช้ความละเอียดกับงานที่ทำ จึงต้องใช้ "เธอๆ" ไม่ใช่"เขาๆ"

วันนี้ก็เดินหาจุด improveทั้งวันก็ได้ไอเดีย ที่จะลด lost time ในการปฎิบัติงานลง แทนที่จะนำงานทีละชิ้นๆ มาตรวจ ก็ได้ความคิดว่า นำมาใส่ อุปกรณ์ ที่เราน่าจะเรียกว่า HANGER ทีละ 13 ตัว
แล้วตรวจสอบครั้งเดียวได้ 13 ตัวเลย

วิธีเดิม นำงานมาใส่แช่ ใน อุณหภูมิ -20 ~ -30 (แล้วแต่รุ่นสินค้า) รอ 3นาที ให้แกส๊ที่บรรจุภายใน หดตัวจนถึงจุดคงที่ จากนั้นก็จะใช้ Buzzer จี้ที่ขั้วต่อทีละตัว จนครบ 13 ตัว ถึงเสร็จ 1 ขั้นตอน

โดยระหว่างจี้ที่ขั้ว ต้องคอยฟังเสียงครับว่าถ้าสะพานไฟต่อ เสียงต้องดัง แต่ถ้าสะพานไฟ ตัด ต้องไม่ดัง พร้อม ใช้ปากกา มาร์ค ตัวที่ผ่าน ส่วนตัวที่เสีย ไม่ต้องมาร์คและแยกออก

เวลารวม คือ 3 นาที = 180 วินาที + (เวลาเช็คแต่ละตัว @2.5 วินาที = 2.5x13 => 32.5)

รวมกระบวนการนี้ คือ 180+32.5 = 212.5 วินาที / 13 ตัว ตกตัวละ 16.35 วินาที(เวลารวมตั้งแต่ต้น)
ดังนั้น ใน 1 นาที จะได้ 3.67 ชิ้น x 480 นาที( 8ชม) = 1761.5 ชิ้น ต่อวัน เท่านั้น

วิธีที่จะเปลี่ยน
ใส่ HANGER เช่นเดิม แต่ ยกเลิก แทนที่จะใช้ BUZZER คอยฟังเสียง ก็เปลี่ยนมาใช้ เป็น Pilot lamp แต่ ขนาดพื้นที่ๆจำกัด ผมเลยจะใช้ หลอด LED แทน โดย ต่อเข้ากับงานตั้งแต่ใส่ Hanger เลย คือติดมัน 13 หลอดเลย ของใครของมัน
ทีนี้พอใส่เข้าไปในที่อุณหภูมิดังกล่าวแล้ว เมื่อครบ 3 นาที สถานะของชิ้นงานก็จะโชว์ ที่หลอดไฟทันที ตัวไหนเสียสามารถหยิบออกได้ทันที ดังนั้น เวลาอีก 32.5 วินาที นั้นตัดทิ้งไป นั่นคือเวลาที่ลดได้ = ลดไปประมาณ 15 % เลยครับ

ทีนี้ ปัญหา มันอยู่ตรงที่พอลองทำตัว Demo แล้ว ครั้งแรกไฟติดครบ ครับ ก็ Happyดี แต่ พอ เริ่ม หยิบชิ้นงานบางตัวออก โดยสมมติว่ามีของเสียเกิดขึ้น.......!!!!

ทำไมหลอดที่เหลือ ที่มันติดโชว์อยู่มันหรี่ลงเรื่อยๆ จนกระทั่งดับ และ พอเริ่มใหม่ครั้งต่อไปก็ไม่ติดอีกเลยครับ.....หลอดเสียไปเลย..อ่ะ

ดูจากวงจรคร่าวๆ(ทำเอง) ผมว่ามันน่าจะมีอุปกรณ์ อะไรสักอย่างไป ต่อ ไว้ในวงจรสักที่นึงนะครับ เพื่อป้องกันอาการอย่างนี้

นี่คือปัญหา ที่ใคร่เรียนถามครับ ว่าผมควรจะหาอะไรมาใส่ เช่น Resister หรือ diode หรือ อื่นๆหรือเปล่าครับ

ไม่ได้เรียนไฟฟ้าอิเลคโทรนิคมาแม้แต่น้อยครับ เลยขอขอแนะนำบ้างครับ
โดย: ทวีรัฐ   วันที่: 27 Jun 2005 - 16:38

หน้าที่: [1]   2   3

 ความคิดเห็นที่: 1 / 52 : 090935
โดย: ทวีรัฐ
ถ้า แก้ปัญหาได้ คราวนี้ จากเช็คทีละ 13 ชิ้น ( 1 Hanger)

ก็จะเปลี่ยนให้ขึ้นตรวจทีละ 39 ตัวเลยครับ ( 3 Hangers)

ลดเวลาได้ ตรึม ฮึ ฮึ....

รบกวนหน่อยครับ
วันที่: 27 Jun 05 - 16:45

 ความคิดเห็นที่: 2 / 52 : 090946
โดย: oxoxox
ถ้าจะทำทีละตัวเปาว่ามันต้องแยก + เป็นตัวๆไปนะคับไม่ใช่รวมกัน แต่ - รวมกันได้ (ตอบแบบคนไม่ได้เรียนไฟฟ้ามาแม้แต่น้อยเช่นกัน)
วันที่: 27 Jun 05 - 17:06

 ความคิดเห็นที่: 3 / 52 : 090959
โดย: ทวีรัฐ
เปาหมายถึงให้เอา หลอด มาต่อฝั่งขา - น่ะเหรอ แล้วหาอุปกรณ์บางอย่าง มาต่อด้าน - ใช่ป่ะ
วันที่: 27 Jun 05 - 17:20

 ความคิดเห็นที่: 4 / 52 : 090967
โดย: oxoxox
หมายถึงของที่พี่จะเทสอะ เอามาต่อเข้าไฟทีละตัวเลย

ปล.พี่จะเทสไรอะ
วันที่: 27 Jun 05 - 17:36

 ความคิดเห็นที่: 5 / 52 : 091006
โดย: Nuay@Protege
พี่วีครับ..

จะต่อ LED ต้องมี Resistance คร่อมด้วยครับ ไม่งั้นหลอดไปครับ บางที Volt มันเกิน Amp มันเกินคร้าบ
วันที่: 27 Jun 05 - 19:43

 ความคิดเห็นที่: 6 / 52 : 091040
โดย: OFFY
ต่ "อนุกรม" นะครับ
คร่อม = ขนาน

1. ไฟใช้ 5V DC นะครับ ย้ำ 5 V
2. จากไฟ + 5 VDC ต่อ Resistor ค่าประมาณ 1K โอห์ม (ถ้าค่ามาก จะสว่างน้อย) ต่ออนุกรมผ่าน resistor แล้วค่อยไปเข้า LED ครับ
3. มีแค่นี้ครับ

คอนเฟิมครับ ตามนี้
วันที่: 27 Jun 05 - 22:20

 ความคิดเห็นที่: 7 / 52 : 091077
โดย: Jan-Cronos
จำเป็นต้องใช้ไฟ 24 โวลท์รึเปล่าครับ
ถ้าจำเป็นก็ต้องใช้ R ที่วัตต์สูงๆ ครับ

หรือไม่ก็ต้องใช้รีเลย์มาช่วยครับ
แต่ถ้าใช้รีเลย์แล้วเกิดเจ้าตัวรีเลย์เสีย ก็จะทำให้เราเข้าใจผิดว่า product ที่เช็คมันเสียไปด้วยครับ
คือรีเลย์มันไม่เสถียรพอครับ

ถ้าใช้ R วัตต์สูงๆ ก็น่าจะ 3 วัตต์ขึ้นไปครับ ไม่รู้จะมีรึเปล่า ผมไม่เคยใช้
ส่วนใหญ่ที่ขายกันจะมี 1/4 วัตต์ ไปจนถึง 1 วัตต์
แต่ถ้ามากกว่า 1 วัตต์ มักจะเป็นตัวใหญ่ๆ สีขาวล้วนครับ
จะไม่มีแถบสีบอกค่าความต้านทาน แต่จะพิมพ์เป็นตัวอักษรบอกเลย

แล้วค่าความต้านทาน ใช้ที่ 330 โอห์ม ไปจนถึง 1K ได้ครับ ไม่ค่อยซีเรียสมาก

ปล. ถ้าจะให้ง่ายที่สุด ผมว่าใช้หลอดไฟดีกว่าครับ หลอดที่ทนไฟได้ 24V หลอดเล็กๆ ก็มีขายครับ
เวลาต่อหลอดไฟ ก็ต่อตามวงจรที่ป๋าวาดมาได้เลยครับ ใช้ได้สบาย
เพราะว่าการใช้ LED แล้วจะให้วงจรมันเสถียรเนี่ย ต้องมีการออกแบบวงจรมาช่วยครับ
จะต้องใช้อุปกรณ์หลายตัวเข้ามาร่วมอีก เช่นพวกทรานซิสเตอร์กับตัวเก็บประจุอ่ะครับ
วันที่: 27 Jun 05 - 23:50

 ความคิดเห็นที่: 8 / 52 : 091084
โดย: OFFY
LED ทั่วๆไป ถูกออกแบบมาให้ใช้กับแรงดันต่ำ

การใช้ R วัตต์สูงๆ จะทนกระแสไฟฟ้าที่ใหลมากๆในวงจร (ที่บอกมา เป็น 0.1 amp ซึ่ง R 1/4 W รับได้สบายมากครับ) แต่แรงดันที่ไปตกคร่อม LED ก็จะยังสูงอยู่ครับ ซึ่งยังไม่ปลอดภัยสำหรับ LED นะครับ เดี๋ยวจะแก้ปัญหาไม่ตรงจุด

ค่าของ R ที่นำไปต่อ จะต้องนำไปคำนวนในวงจรแบ่งแรงดันอีกที ว่าจะเหลือตกคร่อมที่ R และ LED อย่างละเท่าไร ในกรณีที่เป็นวงจรอนุกรม (อันนี้ว่ากันอีกพอสมควร)

ลองหา Adaptor 220 VAC / out 3-9 VDC ก็ได้ครับ ไม่เกิน 300 บาท (ถ้าไม่จำเป็นต้องใช้ 24V)

ใช้ LED ไม่ยากอย่างที่คิดครับ ถ้าอยากให้กระแสไฟเสถียร เอา คาปาซิเตอร์ มาต่อคร่อมตรงแหล่งจ่ายก็ได้แล้วครับ ซึ่งถ้าเป็นแหล่งจ่ายที่เป็น DC แล้วแทบไม่จำเป็นเลยครับ มัน Over design

ใหนๆก็ทำมาแล้วครับ แก้อีกนิดเดียว แถม LED ยังช่วยประหยัดพลังงานได้เยอะเลยครับ โชคดีครับ

ปล. ผมก็ Cronos อย่าโกรธกันน๊า
วันที่: 28 Jun 05 - 00:19

 ความคิดเห็นที่: 9 / 52 : 091086
โดย: ด.
ปรับปรุง productivity ของน้องน้องในแผนกนี่

จะผลิตอะไรร่วมกันเหรอครับ
วันที่: 28 Jun 05 - 00:26

 ความคิดเห็นที่: 10 / 52 : 091113
โดย: Nuay@Protege
ออ..โทษคร้าบบบ ต้องต่ออนุกรม Serialๆ
วันที่: 28 Jun 05 - 08:15

 ความคิดเห็นที่: 11 / 52 : 091152
โดย: ทวีรัฐ
นี่ๆ ท่าน ด. ครับ..... ผลิตสินค้าครับท่าน ไม่ใช่ผลิต...อย่างอื่นร่วมกันครับ ..... ถ้าผลิตอย่างอื่นร่วมกัน...

ฟ้าเหลือง สิครับ 22คน/กะ รวม 44 คน รับไม่ไหวหรอกครับ......รับเรื่อง เสนอ ไอเดียนะครับ อย่าคิดลึก เป็นอื่นครับ ลูกน้องในสายงาน แตะต้องไม่ได้เด็ดขาดครับ

งั้นเดี๋ยว อธิบายเพิ่มเติมครับ
วันที่: 28 Jun 05 - 10:33

 ความคิดเห็นที่: 12 / 52 : 091155
โดย: ทวีรัฐ
ในส่วนที่จะช่วย นะครับ เป็นส่วนของ โรงงานที่ผลิต ตัว Thermostat ครับ ซึ่งเป็นตัวที่ใช้ควบคุมความเย็นในตู้เย็นทั่วไปนั่นแหละครับ

ในรูปคือหน้าตาของ Thermostat ที่เป็นแบบ machanic ทำงานโดยใช้ การขยายตัวและหดตัว ของ FREON ครับ

หลังประกอบแล้ว จะถูกนำมาปรับอุณหภูมิตามที่ลูกค้าต้องการ โดยระบุ อุณหภูมิตัด-ต่อ ณ บริเวณ evaporator หรือ คอยล์เย็น นั่นแหละครับ ตู้เย็นแต่ละรุ่น แต่ละยี่ห้อ จะไม่เหมือนกันครับ
วันที่: 28 Jun 05 - 10:38

 ความคิดเห็นที่: 13 / 52 : 091156
โดย: ด.
แล้วถ้านอกสายงานล่ะครับ ป๋าวี
วันที่: 28 Jun 05 - 10:42

 ความคิดเห็นที่: 14 / 52 : 091159
โดย: ทวีรัฐ
คราวนี้เมื่อ ปรับ อุณหภูมิ ตัด-ต่อแล้ว ก็ต้องผ่านขั้นตอนการตรวจสอบคุณภาพ เพื่อยืนยันว่า อุณหภูมิที่เราปรับไป ถูกต้องและอยู่ในค่า telerance (ค่าเบี่ยงเบน)หรือไม่

ตัวอย่างเช่น เราต้องการให้ ตัด ที่ -7.5 +/+ 1.0 C และต่อที่ 8.0 +/- 1.0 C

นั่นแปลว่า Thermostat ตัวนี้ ต้อง" ตัด"ในช่วงอุณหภูมิ ตั้งแต่ -6.5 ถึง -8.5 องศา ครับ มากหรือน้อยกว่านี้ไม่ได้เด็ดขาด และต้อง "ต่อ" ที่ 7.0 ถึง 9.0 เท่านั้น หมายถึง ณ ตำแหน่งเลข 3 คือ กึ่งกลาง นะครับ ปุ่มที่หมุน เลข 1-2-3-4-5 เนี่ย จะเป็นปุ่มที่ใช้ปรับความเย็นในตู้เย็นน่ะครับ

ตู้ 2 ประตูจะอยู่ในช่องแช่แข็ง แต่ตู้ประตูเดียวเปิดประตูมาก็เจอเลยครับ จากกราฟครับ
วันที่: 28 Jun 05 - 11:01

 ความคิดเห็นที่: 15 / 52 : 091162
โดย: ทวีรัฐ
เดี๋ยวสิท่าน ด. เอา สาระ ก่อนอย่าเพิ่งแกล้งแซวให้แขวดิ.

นอกสายงานก็..........ฝัง.......สิครับ ฮึ รู้นะ ตอกย้ำๆๆ
วันที่: 28 Jun 05 - 11:04

 ความคิดเห็นที่: 16 / 52 : 091165
โดย: ทวีรัฐ
อ่ะ ต่อๆ คราวนี้ในขั้นตรวจตรวจสอบนี่ละครับจุดที่จะปรับปรุง

คือตำแหน่ง "ตัด" ก็จะตั้งอุณหภูมิอ่างไว้ที่ -8.5 องศา thermostat ต้อง"ตัด" การทำงาน และที่ -6.5 องศา ต้อง"ยังไม่ตัด" ครับ

นี่คือรูปอ่างอุณหภูมิที่ใช้ตัวthermostat จุ่มท่อ tube ลงไปครับ
วันที่: 28 Jun 05 - 11:13

 ความคิดเห็นที่: 17 / 52 : 091166
โดย: ทวีรัฐ
แต่ก่อนที่จะตรวจสอบหรือปรับอุณภูมิ จะต้องนำ thermostat มาใส่ใน Hanger ก่อนครับ เพื่อที่จะได้ จุ่มที่ละ 13 ตัว
วันที่: 28 Jun 05 - 11:16

 ความคิดเห็นที่: 18 / 52 : 091167
โดย: ด.
ใครคือ สาระ ครับ
แล้ว ป๋าวี เอาเค้าได้เหรอครับ
แต่ฟังดู ชื่อผู้ชายมากมาก
วันที่: 28 Jun 05 - 11:17

 ความคิดเห็นที่: 19 / 52 : 091168
โดย: ทวีรัฐ
แล้วก็จุ่มลงไปในอ่างที่มีขาตั้งวาง Hanger อยู่แล้วครับ คราวนี้หลังปรับ อุณหภูมิเสร็จแล้ว ก็ถึงขั้นตอนตรวจสอบ ตาม คห 16 ครับ

การตรวจว่า Thermostat จะ"ตัด"หรือ "ต่อ" นั้น หลังจากจุ่มไปในอ่างแล้ว ทิ้งไว้ตามเวลาที่กำหนด คือ 3 นาที ก็จะใช้ Buzzer เช็ค ตามหัวข้อที่ผมอธิบายครับ โดยใช้ เสียง เป็นตัวบอก

ถ้าจี้ที่ขา terminal แล้ว "ดัง" ก็แสดงว่า "ต่อ"อยู่ แต่ถ้าเงียบ ก็แสดงว่า "ตัด"อยู่ครับ
วันที่: 28 Jun 05 - 11:21

 ความคิดเห็นที่: 20 / 52 : 091171
โดย: ทวีรัฐ
แหงะ... พลาดจนได้นะเรา โดนท่าน ด. แซว จนได้

แก้ไขใหม่ ....... เน้นสาระ ก่อน
แหม....ใช้คำไม่ถอก นิดเดียวเองนะเนี่ย


อ้าว ลืมเลยถึงไหนแล้วเนี่ย..!??
วันที่: 28 Jun 05 - 11:26

หน้าที่: [1]   2   3