Close this window

เกียร์(ออโต้)กระตุก..กระชาก..เสียหายไหม
โดยธรรมชาติของเกียร์ออโตเมติคจะมีอาการกระตุกเล็กน้อยขณะเราเข้าเกียร์ หรือขณะเกียร์เปลี่ยนขึ้น-ลง (Shift Up/Down) อันเนื่องมาจากการจับ/ปล่อยตัวของชุดแผ่นคลัชภายในเกียร์ ซึ่งทำหน้าที่ยึดให้ชุดเฟืองเกียร์สามารถถ่ายทอดกำลังจากเครื่องยนต์มาสู่ล้อทำให้รถวิ่งได้
แต่หลังจากใช้รถมาระยะหนึ่ง เกียร์มักจะเริ่มมีอาการกระตุกแรงขึ้น..ๆ (หรือในทางตรงกันข้ามอาจทำงานเชื่องช้าลงเข้าเกียร์สักครู่เกียร์ถึงเริ่มจับ) [font=Verdana]สาเหตุส่วนใหญ่[/font][color=Blue][/color]มักเกิดจากความสกปรกซึ่งสะสมอยู่ในน้ำมันและจับตัวอยู่ตามไส้กรอง Orifice และบ่าวาล์วควบคุมต่างๆ (Servo valve and solenoid valve) ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมระบบน้ำมันเพื่อสั่งเปลี่ยนเกียร์ตามหน้าที่ (ช่างนิยมเรียกกันว่าสมองเกียร์)
เกียร์กระตุกกระชากนอกจากก่อความรำคาญแล้ว ยังส่งผลให้ทอคคอนเวอเตอร์ ชุดคลัช ยอยด์เพลาขับ บูชและข้อต่อต่างๆ อายุการใช้งานสั้นลงด้วยครับ
สาเหตุที่เกิดความสกปรกในน้ำมันก็มักมาจากการสึกหรอตามอายุการใช้งานของแผ่นคลัช ต่างๆดังกล่าวซึ่งมี 4-6 ชุดในเกียร์ 1 ลูก ชุดละ 3-6แผ่นทีเดียว และหากเครื่องยนต์เคยร้อนจัดมาก่อนจะทำให้น้ำมันเกียร์ร้อนจัดตามไปด้วย รวมทั้งหากมีน้ำผสมอยู่ในน้ำมันก็เช่นเดียวกัน จะส่งผลให้น้ำมันเกียร์เสื่อมคุณภาพอย่างรวดเร็ว เป็นการกระตุ้นให้คลัชสึกหรอเร็วยิ่งขึ้นกลายเป็นขยะสะสมในน้ำมันจนไปอุดตันในระบบควบคุมเกียร์ ในกรณีนี้หากคลัชสึกหรอมากจนเหลือระยะการจับตัวไม่พอ นั่นหมายถึงเกียร์ไม่ทำงานอีกต่อไปและต้องผ่าเกียร์เปลี่ยนชุดคลัชใหม่หรือไม่ก้อต้องเปลี่ยนเกียร์ทั้งลูกเสียแล้วครับ
การแก้ไขเบื้องต้นก็คือ
1. ล้างเกียร์(Flushing)ด้วยวิธีหมุนเวียนน้ำมันผ่านกรองละเอียดเป็นการกำจัดสิ่งสกปรกออกจากระบบน้ำมัน(รวมถึงน้ำมันในทอคคอนเวอเตอร์)พร้อมทั้งทยอยปล่อยน้ำมันเก่าออกและเติมน้ำมันใหม่เข้าไปแทนที่น้ำมันเก่า วิธีนี้จะช่วยให้เกียร์ทำงานราบรื่นขึ้น 50-70%
2. ถอดล้าง Valve Body (สมองเกียร์) เพื่อทำความสะอาดและตรวจสภาพวาล์วต่างๆ O-ring และไส้กรองน้ำมันเกียร์ ซึ่งหากใช้วิธีนี้ร่วมกับวิธีที่ 1. จะช่วยให้เกียร์ทำงานราบรื่นขึ้น กว่า 80%
3. ยกเกียร์และทอคคอนเวอเตอร์ออก(จากตัวรถ)มาถ่ายน้ำมันเก่าออกให้หมด (ปกติไม่สามารถถ่ายน้ำมันในทอคคอนเวอเตอร์ออกได้ด้วยการถ่ายน้ำมันปกติ) พร้อมทั้งถอดล้างสมองเกียร์ตามวิธีที่ 2. ไปด้วย วิธีนี้จะได้ผลดีที่สุดเพราะได้เปลี่ยนถ่ายน้ำมันจากสมองเกียร์และทอคคอนเวอเตอร์ออกโดยตรง
หมายเหตุ : วิธีนี้ควรทำพร้อมกับการเปลี่ยนซีลเพลาข้อเหวี่ยงท้ายเครื่อง เปลี่ยนซีลเพลาเกียร์ หรือการเปลี่ยนซีลเพลาขับหรือยางหุ้มเพลาขับ เพราะเป็นการทำงานครั้งเดียว ประหยัดค่าแรงครับ ถามว่าจะเปลี่ยนซีลดังกล่าวเมื่อไหร่ ก็เมื่อมีน้ำมันไหลเยิ้มใต้เครื่องและตรวจสอบแล้วว่ารั่วออกจากคอเพลาท้ายครับ
ดังนั้นเมื่อใช้รถเกินหนึ่งแสนกม.จึงควรใส่ใจดูแลเกียร์สักครั้ง เพื่อเป็นการยืดอายุก่อนที่เกียร์จะมีปัญหาหรือเสื่อมสภาพถาวรครับรอให้เกียร์มีอาการผิดปรกติก่อน อาจสายเกินไป ค่าบำรุงรักษาป้องกันถูกกว่าซ่อมมากครับ
ที่นี่เรามีอุปกรณ์เครื่องมือทันสมัยพร้อมให้บริการท่านอย่างตรงไปตรงมา พร้อมรับประกันงานซ่อมด้วยเอกสารครับ
โดย: HATA   วันที่: 18 Jun 2005 - 20:18