Close this window

"เฮดเดอร์"
"เฮดเดอร์" ก็คือท่อร่วมไอเสียเป็นท่อทางเดินสำหรับระบายไอเสียออกจากเครื่องยนต์ซึ่งตามปกติแล้วท่อร่วมไอเสียของรถทั่วไปนิยมทำด้วยเหล็กหล่อเกาะเป็นแผงเดียวกันมี
ขนาดสั้น ๆ ทั้งนี้เพื่อง่ายต่อการผลิตเป็นจำนวนมาก และง่ายแก่การติดตั้ง แต่มีปัญหาตรงที่ระบายไอเสียไม่คล่องตัวพอเพราะความสั้นของท่อร่วมไอเสีย ทำให้ไอเสียที่วิ่งมาแต่
ละสูบจะวิ่งเข้ามาชนกันตอนรวมเป็นท่อเดียว ก็เลยมีการทำท่อร่วมไอเสียขึ้นมาใหม่ที่เรียกกันว่า "เฮดเดอร์" โดยทำเป็นท่อแยกสูบใครสูบมัน อาจจะทำเป็นท่อเดี่ยว ๆ ของแต่ละ
สูบไปเลย อย่างเครื่อง 4 สูบก็ใช้แบบ 4-1 คือแยกออกมา 4 ท่อมีระยะความยาวตามที่กำหนด ไม่ให้ไอเสียวิ่งมาชนกันอย่างง่าย ๆ และค่อยจับมารวมเป็นท่อเดียวในภายหลัง
เฮดเดอร์ 4-1 ให้ประโยชน์สูงก็จริงแต่มีปัญหาในเรื่องความยาว การขดตัวลงไปในห้องเครื่องรถธรรมดาทำไดลำบากก็เลยมีการแยกทำมาเป็นแบบ 4-2-1 คือ จากเสื้อสูบฝั่ง
ไอเสียออกมา 4 ท่อ แล้วจับมารวมเป็น 2 ท่อ ก่อนที่จะจับมารวมเป็นท่อเดียวอีกครั้ง ในการรวมเป็น 2 ท่อ ก็ต้องดูจากจังหวะจุดระเบิดด้วย เพื่อให้โอกาสไอเสียออกมาชนกันน้อย
ที่สุด อย่างเช่น จังหวะจุดระเบิดเป็น 1-3-4-2 ตามลำดับช่วงรวม 2 ท่อ ก็จะจับเอาท่อไอเสียสูบ 1 มารวมกับสูบ 4 และเอาท่อสูบ 2 มารวมกับสูบ 3 เว้นตามจังหวะการคายไอเสีย
ของแต่ละสูบ
และผลจากการใช้ท่อเฮดเดอร์จะทำให้การปล่อยทิ้งไอเสียได้สะดวกขึ้น ไม่เกิดอาการอั้นหรือการตกค้างของไอเสียในห้องเผาไหม้ โอกาสที่เครื่องยนต์ดูดไอดีเข้าเครื่องก็ทำได้
เต็มที่ขึ้น นอกจากนี้บรรดาผู้ผลิตยังใช้การไหลของท่อไอเสียให้เป็นประโยชน์ โดยคำนวนหาขนาดความกว้างและความยาวของท่อเฮดเดอร์เพื่อให้การไหลออกของไอเสียนี้ไป
สร้างแรงดูดไอดีเข้าเครื่องยนต์ ทำให้ไอดีเดินทางเข้าไปในห้องเผาไหม้ได้มากขึ้นและเร็วขึ้นไปอีกซึ่งก็หมายความว่าเราจะได้แรงม้าและแรงบิดเพิ่มขึ้นจากเครื่องเดิมนั่นเอง แม้
จะไม่ได้เพิ่มเป็นเปอร์เซ็นสูงส่งมากมาย แต่ก็จะทำให้การเร่งเครื่องทำได้ลื่นขึ้นรู้สึกสนุกกับการขับขี่ได้มากกว่าเดิมหากเฮดเดอร์ที่รถคุณใช้อยู่นั้นเป็นเฮดเดอร์ที่เหมาะสมกับ
เครื่องยนต์ในรถคุณ
ผลดีที่ได้คือรถจะมีความคล่องตัวขึ้น ขับได้อย่างสบายใจขึ้น ผลเสียคือ เสียเงิน (อันนี้จำเป็นมาก) และเนื่องจากท่อเฮดเดอร์นี้ทำมาจากท่อเหล็กบาง ๆ ไม่หนาเท่าของเดิมเมื่อ
ไอเสียวิ่งผ่านจะมีคลื่นเสียงเกิดขึ้นตามมาสร้างความรำคาญแก่ผู้โดยสาร อีกทั้งความบางจะทำให้ท่อเฮดเดอร์ร้อนง่ายและการติดตั้งส่วนมากช่างจะถอดแผ่นกันความร้อนเดิม
ออก และความร้อนของท่อเฮดเดอร์จึงอาจไปก่อให้เกิดความเสียหายให้กับชิ้นส่วนและอุปกรณ์บางอย่าง เช่น ท่อทางเดินน้ำมัน,ท่อทางเดินน้ำมันเบรค,น้ำมันคลัช,และกระปุกพวง
มาลัยได้
และถ้าจะกล่าวหาว่าติดตั้งเฮดเดอร์แล้วกินน้ำมันเครื่องโทรมเร็วนั้นจะเพราะอะไรล่ะก็เพราะติดตั้งเฮดเดอร์เข้าไปแล้วมันเกิดอาการมันส์ขณะขับขี่ก็เลยตะบี้ตะบันเหยียบเข้าไป
กดกันไปยาว ๆ แล้วมีหรือที่เครื่องยนต์จะไม่กินน้ำมันและเครื่องจะไม่โทรมเร็วจริงไหม
โดย: HATA   วันที่: 18 Jun 2005 - 19:14