Close this window

มาตรวจสอบสภาพของหัวเทียนกันเถอะ
การสังเกตสภาพของหัวเทียนสามารถทราบถึงสภาพการทำงานของเครื่องยนต์ได้ดังนี้

๑. ถ้าหัวเทียนมีสภาพสีดำและแห้งและสามารถเช็ดออกได้ง่าย แสดงว่าส่วนผสมของไอดีหนา ควรทำการปรับซ่อมคาร์บูเรเตอร์ หรือเปลี่ยนกรองอากาศใหม่

๒. ถ้าหัวเทียนมีสภาพน้ำมันเครื่องเปียก แสดงว่าลูกสูบ กระบอกสูบ หรือแหวนลูกสูบหลวม ให้ทำการตรวจสอบเครื่องหรือซ่อมใหญ่

๓. ถ้าหัวเทียนมีสภาพแห้ง มีสีน้ำตาลอ่อนๆ แสดงว่าการเผาไหม้ของเครื่องยนต์สมบูรณ์เป็นปกติ

๔. ถ้าหัวเทียนมีสภาพกร่อนแสดงว่าเครื่องยนต์ทำงานที่อุณหภูมิสูงเกินไป อาจใช้หัวเทียนผิดเบอร์ คือหัวเทียนร้อนเกินไป หรืออาจเกิดจากการชิงจุดระเบิดอันเนื่องมาจากเครื่องยนต์ร้อนจัด

๕. ถ้าหัวเทียนมีสภาพสีขาวหรือสีเหลืองจับ แสดงว่าไฟอ่อน แก้ไขโดยการตั้งไฟจุดระเบิดให้แก่ขึ้นและหัวเทียนร้อนขึ้น
โดย: เต่าฟ้า   วันที่: 22 Nov 2004 - 09:37


 ความคิดเห็นที่: 1 / 2 : 018021
โดย: เต่าฟ้า
เมื่อเอ่ยถึง “หัวเทียน” ท่านคงทราบดีว่าเป็นอุปกรณ์ที่ทำให้เกิดประกายไฟและนำไปสู่การเผาไหม้ของเชื้อเพลิงในรถยนต์ ส่วนประกอบของหัวเทียน นอกจากจะมีขั้วไฟฟ้า ที่ทำจากโลหะแล้ว ยังมีอีกส่วนหนึ่งที่มีลักษณะเป็นเนื้อสีขาว ซึ่งเรียกกันว่า ฉนวนหัวเทียน (spark plug insulator) หลายท่านอาจจะเคยนึกสงสัยว่า ส่วนดังกล่าวนี้ มีหน้าที่อย่างไร และทำมาจากอะไร วันนี้เราพาท่านไปทำความรู้จักกับมันสักเล็กน้อย

ฉนวนหัวเทียนมีหน้าที่หลักคือ ป้องกันการรั่วไหลของกระแสไฟฟ้า และป้องกันขั้วไฟฟ้าจากความร้อนและไอเสียภายในห้องเครื่องยนต์ ดังนั้น สมบัติของฉนวนหัวเทียน ที่ต้องการคือ เป็นฉนวนไฟฟ้าที่ดี มีความแข็งแกร่ง ทนต่ออุณหภูมิสูงและการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิอย่างฉับพลัน รวมถึง ทนต่อการกัดกร่อนจากไอเสียในห้องเครื่องยนต์อีกด้วย และต้องเคลือบผิวให้ลื่นเพื่อไม่ให้เขม่าจับที่ผิว ซึ่งอาจทำให้เกิดการเผาไหม้ผิดจังหวะขึ้นได้

ฉนวนหัวเทียนในยุคแรกๆ ทำจากเนื้อเซรามิกจำพวกปอร์ซเลนหรือมัลไลท์ ซึ่งมีซิลิกาและอัลคาไลเป็นส่วนประกอบ ทำให้เป็นฉนวนไฟฟ้าที่ไม่ดีนัก เพราะแตกหักง่ายเมื่อได้รับอุณหภูมิสูง การเปลี่ยนแปลงสำคัญเกิดขึ้นที่ประเทศเยอรมัน ใน ปี ค.ศ. 1932 เมื่อมีการพัฒนาเครื่องยนต์สันดาปภายในแรงสูง ซึ่งต้องใช้น้ำมันที่มีสารประกอบของตะกั่วเป็นสารกันน็อค เมื่อเผาไหม้น้ำมันชนิดนี้จะเกิดไอของตะกั่วออกไซด์ ซึ่งสามารถทำปฏิกิริยากับซิลิกาในเนื้อปอร์ซเลนได้ จึงต้องคิดค้นวัสดุชนิดใหม่ขึ้นใช้แทน เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว และพบว่าอะลูมินา เป็นวัสดุที่เหมาะสมกับการใช้ทำเป็นฉนวนหัวเทียนมากที่สุด ทั้งในด้านสมบัติ ราคา และความสะดวกในการขึ้นรูป ทำให้ฉนวนหัวเทียนที่ทำจากอะลูมินา ยังคงได้รับความนิยมใช้งานอย่างแพร่หลาย มาจนถึงทุกวันนี้ แม้ว่ารถยนต์เกือบทั้งหมด จะเปลี่ยนมาใช้น้ำมันแบบไร้สารตะกั่วกันแล้วก็ตาม

วิธีการขึ้นรูปฉนวนหัวเทียน ก็มีการเปลี่ยนแปลงมาตามลำดับเช่นเดียวกัน แต่เดิมนั้น การขึ้นรูปฉนวนหัวเทียนใช้วิธีปั้นด้วยมือ ต่อมาจึงเปลี่ยนเป็นการเทแบบ (casting) และการรีด (extrusion) จนกระทั่งปี ค.ศ. 1927 บริษัทแชมเปี้ยน เป็นผู้ผลิตรายแรกที่ได้นำวิธีการขึ้นรูป โดยใช้เครื่องอัดแรงดันเท่ากันทุกทิศทาง (isostatic pressing) ก่อนจะนำมากลึงตกแต่งอีกครั้งหนึ่ง และนำไปเผา ซึ่งได้กลายเป็นวิธีการผลิตฉนวนหัวเทียน ที่ใช้กันตลอดม าและได้รับพัฒนาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบันนี้ โรงงานขนาดใหญ่บางแห่งสามารถผลิตฉนวนหัวเทียนได้มากถึง 1.2 ล้านชิ้นต่อเดือน
วันที่: 22 Nov 04 - 09:46

 ความคิดเห็นที่: 2 / 2 : 018378
โดย: เต่าฟ้า
โค้ดของหัวเทียน

BP6ES

อักษรตัวแรกจะบอกขนาดความโตของเกลียว

อักษรตัวที่ 2 จะบอกลักษณะโครงสร้าง

ตัวเลข จะบอกค่าความร้อน มากจะเย็น น้อยจะร้อน

อักษรหลังตัวเลขตัวแรก จะบอกความยาวของเกลียว

อักษรหลังตัวเลขตัวที่ 2 จะบอกลักษณะโครงสร้างพิเศษ

s: แกนกลางเป็นทองแดง
C : ใช้กับเครื่องยนต์ความเร็วสูง

N : ใช้กับรถแข่งมีเขี้ยวงอเป็นนิเกิล

M : ชนิดแกนสั้น

A : แบบ 2 เขี้ยวใช้กับเครื่องยนต์โรตารี่

R : ชนิดมีรีซิสเตอร์ที่แกนกลางของหัวเทียน

Hiachi L46PW

L = ความยาวของเกลียว

4 = ความโตของเกลียว

6 = ค่าความร้อน มากร้อน น้อยเย็น

P = ลักษณะโครงสร้าง

W = แกนกลางเป็นทองแดง

Champion N9Y

N = ความยาวของเกลียว

9 = ค่าความร้อน มากร้อน น้อยเย็น

Y = ลักษณะโครงสร้าง
วันที่: 23 Nov 04 - 16:02