Close this window

นานา สาระ
การสตาร์ทเครื่องยนต์ (เครื่องยนต์เบนซิน)

อย่าติดเครื่องยนต์ในบริเวณที่อับ เพราะจะเกิดก๊าซคาร์บอนมอนน็อกไซด์ ซึ่งเป็นพิษ และถ้ารู้สึกว่าไอเสียรถยนต์รั่วเข้าในตัวรถ ให้ทำการแก้ไขทันที

ก่อนสตาร์ทเครื่องยนต์

ต้องแน่ใจว่าดึงเบรคมืออยู่
คันเกียร์อยู่ในตำแหน่งเกียร์ว่าง และกดคลัทซ์ให้สุด
คำแนะนำในการสตาร์ทเครื่องยนต์

หลังจากสตาร์ทเครื่องยนต์แล้วให้ปล่อยกุญแจ
อย่าสตาร์ทเครื่องยนต์ติดต่อกันนานเกิน 10 วินาที ก่อนสตาร์ทใหม่
เมื่อเครื่องยนต์เย็น

1. ดึงโช้คออกจนสุด (ในกรณีที่อากาศเย็นจัดให้ปั๊มคันเร่งน้ำมัน 2-3 ครั้ง)
2. เมื่อเครื่องยนต์ติดแล้ว ให้ค่อยๆ ดันปุ่มโช้คเข้าพอที่จะให้เครื่องยนต์เดินเรียบ
3. ดันปุ่มโช้คเข้าจนสุดเมื่อเครื่องยนต์อุ่นขึ้นแล้ว

เมื่อเครื่องยนต์อุ่น

1. กดคันเร่งค้างไว้ที่ระยะประมาณ 1/4 ถึง 1/2 ของระยะกดทั้งหมด ห้ามปั๊มคันเร่ง
2. สตาร์ทเครื่องยนต์

เมื่อน้ำมันท่วม

1. กดโช้คเข้าจนสุด
2. กดคันเร่งจนสุดถึงพื้น ค้างไว้และสตาร์ทเครื่องยนต์

การสตาร์ทเครื่องยนต์ดีเซล
การสตาร์ทเครื่องตามปกติ (เย็น)

1. ปลดเกียร์ว่าง และเหยียบคลัทซ์
2. บิดสวิทซ์กุญแจไปที่ตำแหน่ง ON ไฟสัญญาณ "GLOW" ที่หน้าปัดจะปรากฎขึ้น
3. เหยียบคันเร่งลงไปจนสุด
4. ประมาณ 7-10 วินาที สัญญาณไฟ "GLOW" จะดับ บิดกุญแจไปที่ตำแหน่ง START
5. เมื่อเครื่องยนต์ติดแล้วปล่อยกุญแจสวิทซ์กุญแจจะคืนมาที่ตำแหน่ง ON และปล่อยคันเร่ง
6. เมื่อแน่ใจว่าเกียร์อยู่ในตำแหน่งว่างแล้วผ่อนคันเร่งและคลัทซ์
7. หลังจากเครื่องยนต์ติดดีแล้ว จึงทำการอุ่นเครื่องโดยหมุนปุ่มปรับเดินเบา (ตามรูป) ตามเข็มนาฬิกา จนเครื่องยนต์เดินเรียบ อย่างเร่งเครื่องขณะเครื่องเย็น
8. หลังจากอุ่นเครื่องแล้ว จึงหมุนปุ่มปรับเดินเบากลับ (ทวนเข็มนาฬิกา) จนสุด พร้อมจะขับเคลื่อนได้

การสตาร์ขณะที่เครื่องยนต์ยังร้อน สามารถสตาร์ทเครื่องได้ทันทีโดยไม่ต้องรอสัญญาณ GLOW ดับ

ถ้าเครื่องเย็น

1. บิดสวิทซ์กุญแจไปที่ "ON" แล้วรอจนกระทั่งไฟสัญญาณบนแผงหน้าปัดดับ
2. หลังจากไฟบนหน้าปัดดับแล้ว เหยียบคันเร่งลงประมาณครึ่งหนึ่งของระยะทั้งหมด
3. สตาร์ทเครื่อง เมื่อเครื่องติดแล้วให้ปล่อยมือจากกุญแจ แล้วผ่อนคันเร่งขึ้นมา
4. ถ้าเครื่องสั่น ให้ดึงปุ่มเร่งรอบเครื่องยนต์ขึ้นมาเล็กน้อย จนกระทั่งเครื่องเดินเรียบ
5. ปล่อยให้เครื่องยนต์หมุนสักครู่ จนเครื่องยนต์อุ่นขึ้น จึงดันปุ่มเร่งรอบลงไป

ห้ามขับรถออกไป ถ้าปุ่มเร่งรอบยังถูกดึงอยู่

ถ้าเครื่องอุ่น

1. บิดสวิทซ์กุญแจไปที่ "ON" แล้วรอจนกระทั่งไฟที่หน้าปัดดับ
2. หลังจากไฟที่หน้าปัดดับแล้ว บิดสวิทซ์กุญแจไปที่ "START" โดยไม่ต้องเหยียบคันเร่ง หลังจากเครื่องติดแล้วปล่อยมือจากกุญแจ

การไล่ลมในระบบเชื้อเพลิง (เครื่องยนต์ดีเซล)

เครื่องยนต์ดีเซล เมื่อน้ำมันหมดถังแล้ว หลังจากเติมน้ำมันใหม่ จะต้องไล่ลม

1. ถอดผาครอบพลาสติคที่ครอบปั๊มความดันต่ำออก
2. คลายสกรูไล่ลมหมายเลข 1
3. คลายปั๊มความดันต่ำ 2 ออก โดยหมุนทวนเข็มนาฬิกา
4. กดปั๊มความดันต่ำ 2 ขึ้นและลง จนกระทั่งไม่มีลม (น้ำมันออกมาไม่มีฟอง) ออกจากสกรูไล่ลมเบอร์ 1
5. ขันสกรูไล่ลมเบอร์ 1 เข้าให้แน่น
6. กดแป้นปั๊มความดันต่ำ 2 ลงแล้วหมุนตามเข็มนาฬิกาให้แน่น
7. ใส่ฝาครอบพลาสติค

ไส้กรองน้ำมันเชื้อเพลิง

การถ่ายน้ำทิ้ง


ถ้าไฟเตือนมีน้ำในน้ำมันเชื้อเพลิงสว่างขึ้น พร้อมทั้งเสียงเตือนดังขณะที่เครื่องยนต์ติดอยู่ ให้เปิดก๊อกถ่ายน้ำมันที่กรองน้ำมันเชื้อเพลิงทิ้ง ตามวธีการต่อไปนี้

1. ถอดขั้วสายไฟซึ่งต่อที่กรองเชื้อเพลิงออก
2. เอาผ้ารองใต้กรอง
3. เปิดก๊อกถ่ายน้ำ แต่อย่าเปิดมาก ถ้าน้ำไหลออกช้า ให้กดปั๊มช่วย
4. หลังจากน้ำไหลออกหมดแล้ว ปิดก๊อก
5. หากมีอากาศในระบบน้ำมันเชื้อเพลิงให้ไล่ลมออก (ดูวิธีการไล่ลมตามหัวข้อต่อไป)

ควรทำความสะอาดหม้อกรองดักน้ำ (ตัวที่มีก๊อกถ่ายน้ำ) ทุก 5,000 กม.และเปลี่ยนใหม่ทุก 20,000 กม. ส่วนกรองโซล่าให้เปลี่ยนใหม่ทุก 50,000 กม.

การไล่ลมจากระบบน้ำมันเชื้อเพลิง

เมื่อน้ำมันเชื้อเพลิงหมดถัง หรือหลังจากการถ่ายน้ำออกจากกรองน้ำมันเชื้อเพลิง ถ้ามีฟองอากาศเกิดขึ้น ให้ไล่ลมออกโดย

1. คลายสกรูเปิดให้ฟองอากาศออก และคลายล็อคปั๊มออก โดยการกดลงบนปั๊มแล้วหมุนทวนเข็มนาฬิกา จนกระทั่งสปริงดันปั๊มขึ้นสูงสุด
2. กดปั๊มขึ้นลง จนกระทั่งอากาศออกจากระบบเชื้อเพลิงหมด
3. ขันสกรูปิดให้แน่นดังเดิม
4. ล็อคปั๊มโดยการกดลงบนปั๊ม แล้วขันตามเข็มนาฬิกาจนกว่าจะสุดเกลียว

การเปลี่ยนเกียร์

ในการเปลี่ยนเกียร์ ให้ใช้เท้ากดคันเหยียบคลัทซ์จนสุด แล้วเปลี่ยนเกียร์ ในกรณีที่เปลี่ยนเกียร์เดินหน้าเป็นถอยหลัง หรือจากถอยหลังเป็นเดินหน้า ต้องรอให้รถหยุดนิ่งเสียก่อน

ในรถ 5 เกียร์ ท่านจะไม่สามารถเปลี่ยนจากเกียร์ 5 เป็นถอยหลังได้โดยตรง แต่จะต้องกลับเข้าที่เกียร์ว่างเสียก่อน

ความเร็วที่ถูกต้องในแต่ละเกียร์

การปฏิบัติตามคำแนะนำต่อไปนี้ และการเปลี่ยนเป็นเกียร์สูงในทันทีที่จะทำได้ โดยไม่ทำให้เกิดอาการกระตุกหรือน็อค จะช่วยให้ท่านประหยัดเชื้อเพลิง ยืดอายุและเพิ่มประสิทธิภาพให้กับเครื่องยนต์

หน่วย : ก.ม./ ช.ม.
เปลี่ยนเกียร์ 4เกียร์ 5 เกียร์
1 --> 2 25 25
2 --> 3 40 40
3 --> 4 65 65
4 --> 5 - 75


อย่าใช้แป้นคลัทซ์เป็นที่พักเท้า
อย่าเลี้ยงคลัทซ์เพื่อให้รถจอดอยู่บนที่ชัน
ใช้เกียรต์ต่ำเมื่อลงเนิน เพื่อตความปลอดภัยและประหยัด
การใช้เบรค

1. อย่าเหยียบเบรคเล่นขณะที่รถจอดอยู่ เนื่องจากรถใช้หม้อลมเบรค ทุกครั้งที่ขาเบรคถูกเหยียบลงไป สูญญากาศเก็บไว้ในหม้อลมจะถูกใช้ไป
2. ในกรณีที่เบรคเปียกน้ำ ระยะทางที่ใช้ในการห้ามล้อจะยาวขึ้น หรืออาจจะปัดข้างใดข้างหนึ่ง กรณีเช่นนี้เกิดขึ้น พยายามขับรถด้วยความเร็วประมาณ 40 ก.ม./ช.ม. แล้วค่อยๆ แตะเบรค 2-3 ครั้ง ถ้ายุงเป็นอย่างเดิมให้จอดรถไว้ก่อน
3. การขับลงจากทางลาดชันหรือจากเชิงเขา ให้ใช้เกียร์ต่ำ อย่าแตะเบรคเกินความจำเป็นเป็นเวลานาน เนื่องจากแผ่นผ้าเบรคจะร้อนจัดและเสื่อมสมรรถภาพ
4. อย่าพักเท้าลงบนขาเบรค เพราะผ้าเบรคอาจร้อนจัด สึกหรอ และเปลืองเชื้อเพลิงโดยไม่จำเป็น
5. อย่าเหยียบเบรคอย่างกระทันหัน ถ้ายางแตกขณะขับขี่ ให้ลดลงใช้เกียร์ต่ำ แตะเบรคเบาๆ นำรถจอดข้างทาง
6. ขณะจอดรถบนทางลาดชัน ให้หมุนพวงมาลัยไปทางใดทางหนึ่งจนสุด ดึงเบรคมือเลื่อนตำแหน่งเกียร์ไปที่เกียร์ 1 หรือเกียร์ถอยเพื่อความมั่นใจ ใช้ขอนไม้หรืออย่างอื่นหนุนล้อ
7. ก่อนขับเคลื่อนรถทุกครั้งต้องมั่นใจว่าปลดเบรคมือเรียบร้อยแล้ว และสัญญาณไฟเบรคดับแล้วเช่นกัน

หม้อลมช่วยเบรค

ตรวจสอบการทำงานของหม้อลมช่วยเบรคโดย

1. ดับเครื่องยนต์ ย้ำแป้นเบรคหลายๆ ครั้ง จนกระทั่งแน่ใจว่าความสูงแป้นเบรคไม่เปลี่ยนแปลง
2. ขณะที่เหยียบเรคค้างไว้ สตาร์ทเครื่องยนต์แป้นเบรคจะจมลึกลงไปอีกเล็กน้อย
3. เหยียบเบรคคาไว้แล้วดับเครื่อง รอ 30 วินาที ความสูงแป้นเบรคจะต้องไม่เปลี่ยนแปลง
4. ติดเครื่องอีก 1 นาที โดยไม่ต้องเหยียบเบรค แล้วดับเครื่อง เหยียบเบรคหลายๆ ครั้ง การเหยียบแต่ละครั้งจะรู้สึกว่าแป้นเบรคหนักและสูงขึ้นมาเรื่อยๆ ทั้งนี้เพราะว่าสูญญากาศในหม้อลมลดลงเรื่อยๆ นั่นเอง

ถ้าการตรวจสอบพบว่าเบรคไม่ทำงานเช่นนี้ ควรนำรถไปให้ช่างตรวจแก้ไข

การขับขี่อย่างประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง และยืดอายุการทำงานของรถยนต์

เพื่อสภาพรถของท่านจะยังคงใหม่อยู่เสมอ ตลอดจนเป็นการประหยัดค่าน้ำมันเชื้อเพลิง และหลีกเลี่ยงค่าใช้จ่ายอันไม่จำเป็นในการซ่อมแซมรถของท่าน โดยการปฏิบัติดังต่อไปนี้

1. หลีกเลี่ยงการติดเครื่องไว้เป็นเวลานานๆ เมื่อเครื่องเดินเรียบดีแล้วให้ออกรถได้และขับช้าๆ จนเครื่องได้อุณหภูมิทำงาน
2. เมื่อจอดอยู่กับที่นานๆ ให้ดับเครื่องยนต์
3. ในกรณีที่ต้องเร่งควมเร็ว ให้ค่อยๆ เหยียบคันเร่ง
4. ขับรถด้วยความเร็วคงที่และหลีกเลี่ยงการหยุดรถอย่างกระทันหัน
5. ระวังการชนฟุตบาทขณะจอด และขับช้าๆ บนถนนขรุขระ เพื่อรักษาศูนย์ล้อให้ปกติเสมอ
6. อย่าใช้ความเร็วมากเกินไป การลดความเร็วจาก 110 เป็น 80 ก.ม./ช.ม. จะช่วยประหยัดน้ำมันถึง 15-20%
7. หลีกเลี่ยงการบรรทุกสัมภาระที่ไม่จำเป็นเพื่อลดน้ำหนัก
8. รักษาลมยางให้ได้ตามกำหนดเสมอ
9. ใช้เครื่องทำความเย็นในภาวะที่จำเป็นเท่านั้น
10. ขณะขับรถไม่ควรพักเท้าไว้บนคลัทซ์ หรือขาเบรค
11. อย่าลากเกียร์หรือเร่งเครื่อง เกินช่วงความเร็วสูงสุดแต่ละเกียร์

รถสตาร์ทไม่ติด

กรณีสตาร์ทไม่หมุนหรือหมุนช้า

1. เช็คสายไฟจากขั้วแบตเตอรี่ และสายไฟที่สตาร์ทเตอร์ว่า แน่นหรือสกปรกหรือไม่
2. เปิดสวิทซ์ไฟเก๋ง บิดกุญแจสตาร์ท หากไฟดับหรือหรี่ลง แสดงว่าไฟไม่พอต้องใช้วิธีพ่วงแบตเตอรี่หรือเข็นติด

กรณีสตาร์ทหมุนปกติ แต่เครื่องไม่ติด

1. ดูที่มาตรวัดน้ำมันเชื้อเพลิงว่ามีน้ำมันเพียงพอหรือไม่
2. ตรวจขั้วต่อต่างๆ เช่น สายคอยล์ สายจานจ่าย และสายหัวเทียนว่าอยู่ในตำแหน่งและแน่นดี
3. ถ้าเครื่องยังอุ่นๆ อยู่ขณะสตาร์ท และได้กลิ่นน้ำมันเบนซิน น้ำมันอาจท่วม ปฏิบัติตามคำแนะนำวิธีการสตาร์ท ถ้าเครื่องยังคงไม่ติด ถอดหัวเทียนออกมาเช็ดให้แห้ง สตาร์ทเครื่องใหม่ประมาณ 20 วินาที แล้วจึงใส่หัวเทียนกลับที่เดิม ลองสตาร์ทอีกครั้งหนึ่ง


กรณีเครื่องยนต์ร้อนจัด (OVERHEATED)

หลบเข้าข้างทางปลอดเกียร์ว่างดึงเบรคมือเปิดฝากระโปรงหน้า รอให้เครื่องยนต์เย็น แล้วปฏิบัติดังนี้

1. เช็คสายพานว่าหลุด, หย่อนหรือขาด
2. เช็คระดับน้ำหล่อเย็นในหม้อพักน้ำ หากแห้งให้เติมน้ำประมาณครึ่งหม้อพักน้ำ ขณะเครื่องยนต์ติดอยู่

อย่าเปิดฝาหม้อน้ำขณะเครื่องร้อน อย่าเติมน้ำทันที ขณะที่หมอน้ำร้อนจัด

3. ตรวจเช็ครอยรั่วของน้ำหล่อเย็นบริเวณหม้อน้ำ, ท่อยาง และใต้ท้องรถ
4. หากสายพานใช้ได้ และไม่มีรอยรั่วของน้ำหล่อเย็นเลย ควรติดเครื่องแล้วเร่งเครื่อง (ประมาณ 1,500 รอบ/นาที)
5. หลังจากอุณหภูมิลดลงสู่ปกติแล้ว ต้องเช็คระดับน้ำในหม้อพักน้ำ ถ้าระดับลดลงครั้งละมากๆ ให้ตรวจเช็ครอยรั่วต่างๆ ทันที
โดย: เต่าฟ้า   วันที่: 19 Nov 2004 - 14:49


 ความคิดเห็นที่: 1 / 1 : 017617
โดย: ทวีรัฐ
เอ ... ทำไมวันนี้ คุณเต่าฟ้า post แต่ สาระล้วนๆเลยนะครับ ดีครับ หนักดี วันนี้ เอกสารสำหรับวางแผนงาน business plan ปีหน้าที่ต้องปั่นให้เสร็จภายในวันนี้ ตรึม จนมึน แล้ว พอจะพักสมองมา อ่าน ของคุณเต่าฟ้า บ้าไปเลย เอ๊ย ไม่ใช่ มึนหนักกว่าเก่า

แต่ก็อดอ่านไม่ได้อ่ะครับ (ฉมน้ำหน้า 555)

แต่....เอ....อย่าเคืองกันนะครับ... ไอ้ปุ่มโช๊ค ของรถในปัจจุบันนี้ มันไม่มีแล้วอ่ะครับ จะเหลือก็แต่ มอ'ไซด์ อ่ะครับ o_o"? และก็รถดีเซลเดี๋ยวนี้ไม่ต้องเผาหัวแล้วอ่ะคับ

ทำให้นึกถึงสมัยก่อนตอน หัดขับรถเพื่อน เป็น IZUSU KB2200 อ่ะครับ

ก่อนสตาร์ท ต้องบิดมาตรงข้ามกับ การสตร์ทประมาณ 5-10 วิ หลังจากนั้นถึงสตาร์ทติด ถ้าไม่ทำงั้น ...ยากส์ เวลาดับเครื่อง คึงกุญแจออก พี่แก ยังวิ่งได้เฉย!! ต้องยกลิ้น(วาล์ว น่ะครับ ไม่ใช่ลิ้นเรานะ) ถึงจะยอมดับ

มันส์ 555
วันที่: 19 Nov 04 - 15:39